พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและการดำเนินคดีกับคู่ความเดิมและคู่ความใหม่
จำเลยที่ 1 ในคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องคณะกรรมการวัด ส.รวม 11 คน เป็นจำเลยตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 387/2510 และโจทก์ในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงเป็นคู่ความเดียวกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 387/2510 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำ ส่วนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้อีกจากจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน: ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ทันที และสิทธิในการทำกินต่างดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อมีคำพิพากษา
กู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจึงฟ้องร้องได้ เช็คและหนังสือมอบอำนาจไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ที่ว่าการกู้เงินเกินกว่า 50 บาท ถ้าไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย จำเลยที่ 2 มีเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ หนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยที่ 2 ทำการขายฝากที่ดิน กับโฉนดที่ดินของโจทก์ไม่เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 และบิดาโจทก์เป็นผู้กู้เงินจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงอ้างว่ามีการกู้เงินไม่ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับบิดาโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าถ้าไม่ชำระเงินกู้ให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากได้ โจทก์เรียกโฉนดคืนจากจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อมีเหตุผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลง
บทบัญญัติในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นหมายความว่าเมื่อศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ต่อมาปรากฏว่าศาลสั่งไปโดยหลงผิดเข้าใจว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้จริงตามจำนวนเงินที่สั่งอนุญาต แต่ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้น้อยกว่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่ง อนุญาตไปแล้วได้
ศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) โดยถือว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นหนี้บุริมสิทธิ ต่อมาได้มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ทำนองเดียวกันนี้ถือว่าถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) ซึ่งมิใช่หนี้บุริมสิทธินั้น คำสั่งของศาลที่สั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) ไปแล้วนั้น ไม่ใช่สั่งไปโดยผิดหลงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108
ศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) โดยถือว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นหนี้บุริมสิทธิ ต่อมาได้มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ทำนองเดียวกันนี้ถือว่าถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) ซึ่งมิใช่หนี้บุริมสิทธินั้น คำสั่งของศาลที่สั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) ไปแล้วนั้น ไม่ใช่สั่งไปโดยผิดหลงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงตามคำพิพากษาฎีกา
บทบัญญัติในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นหมายความว่าเมื่อศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ต่อมาปรากฏว่าศาลสั่งไปโดยหลงผิดเข้าใจว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้จริงตามจำนวนเงินที่สั่งอนุญาต แต่ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้น้อยกว่านั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้
ศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) โดยถือว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นหนี้บุริมสิทธิต่อมาได้มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ทำนองเดียวกันนี้ถือว่าถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วและเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) ซึ่งมิใช่หนี้บุริมสิทธินั้น คำสั่งของศาลที่สั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) ไปแล้วนั้น ไม่ใช่สั่งไปโดยผิดหลงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108
ศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) โดยถือว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นหนี้บุริมสิทธิต่อมาได้มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ทำนองเดียวกันนี้ถือว่าถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วและเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) ซึ่งมิใช่หนี้บุริมสิทธินั้น คำสั่งของศาลที่สั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) ไปแล้วนั้น ไม่ใช่สั่งไปโดยผิดหลงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันการชำระเบี้ยประกัน และผลกระทบต่อความมีผลบังคับของกรมธรรม์ประกันชีวิต
ป.ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลย กำหนดชำระเบี้ยประกันปีละ 2 งวด หากไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด บริษัทจำเลยจะผ่อนเวลาให้อีก 30 วันโดยไม่คิดดอกเบี้ย ป.ชำระเบี้ยประกันแล้ว 3 งวด งวดที่ 4 ป.ไม่ได้ชำระภายในกำหนดหรือภายในเวลา 30 วันที่ผ่อนผันให้ตามกรมธรรม์ แต่ชำระให้หลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้ว 1 เดือนเศษ ทั้งยังชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าต่อไปอีก 1 เดือนเศษด้วย บริษัทจำเลยก็ยังตกลงรับเบี้ยประกันงวดนั้น ต่อมาในงวดที่ 5 ป.ก็ชำระหลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้วประมาณ 10 วัน และชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้า 1 เดือนเศษ โดยชำระแก่ผู้แทนของบริษัทจำเลยเมื่อบริษัทจำเลยทราบมิได้ทักท้วงประการใด แม้ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่ผ่อนให้ กรมธรรม์ย่อมขาดอายุและไม่มีผลบังคับ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวของบริษัทจำเลยนั้น เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ การที่บริษัทจำเลยไม่ทักท้วงในการที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยรับชำระเบี้ยประกันงวดที่ 5 ที่ ป.ชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเช่นนี้ เท่ากับบริษัทจำเลยยอมสละเงื่อนไขดังกล่าวโดยผ่อนผันให้ ป.ชำระเบี้ยประกันงวดนี้ไปจนถึงวันที่ลงในเช็ค กรมธรรม์ประกันชีวิตจึงไม่ขาดอายุและยังมีผลบังคับอยู่ แม้ ป.จะตายก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดชำระ ก็ไม่ทำให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือไม่มีผลบังคับ บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันชำระเบี้ยประกัน และผลของการยอมรับชำระล่าช้า ทำให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ
ป. ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลยกำหนดชำระเบี้ยประกันปีละ 2 งวด หากไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด บริษัทจำเลยจะผ่อนเวลาให้อีก 30 วันโดยไม่คิดดอกเบี้ย ป. ชำระเบี้ยประกันแล้ว 3 งวด งวดที่ 4 ป. ไม่ได้ชำระภายในกำหนดหรือภายในเวลา 30 วันที่ผ่อนผันให้ตามกรมธรรม์ แต่ชำระให้หลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้ว 1 เดือนเศษ ทั้งยังชำระด้วยเช็ค ซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าต่อไปอีก 1 เดือนเศษด้วย บริษัทจำเลยก็ยังตกลงรับเบี้ยประกันงวดนั้น ต่อมาในงวดที่ 5 ป. ก็ชำระหลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้วประมาณ 10 วัน และชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้า 1 เดือนเศษโดยชำระแก่ผู้แทนของบริษัทจำเลย เมื่อบริษัทจำเลยทราบก็มิได้ทักท้วงประการใด แม้ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่ผ่อนให้ กรมธรรม์ย่อมขาดอายุและไม่มีผลบังคับ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวของบริษัทจำเลยนั้น เห็นได้ว่าบริษัทจำเลย มิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์การที่บริษัทจำเลยไม่ทักท้วงในการที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยรับชำระเบี้ยประกันงวดที่5 ที่ ป. ชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเช่นนี้เท่ากับบริษัทจำเลยยอมสละเงื่อนไขดังกล่าวโดยผ่อนผันให้ ป. ชำระเบี้ยประกันงวดนี้ไปจนถึงวันที่ลงในเช็คกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงไม่ขาดอายุและยังมีผลบังคับอยู่ แม้ ป. จะตายก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดชำระก็ไม่ทำให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือไม่มีผลบังคับ บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการรับฝากรถยนต์ต่อความเสียหายจากการโจรกรรม และค่าเสียหายจากการไม่ได้ใช้รถ
จำเลยประกอบการค้าในการรับฝากรถยนต์ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ในการประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคท้าย การที่ลูกจ้างจำเลยไปทำธุระที่หลังปั๊มน้ำมันของจำเลย โดยไม่จัดผู้อื่นดูแลแทนและรถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้หายไประหว่างนั้น เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้
รถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ต้องจ้างรถยนต์คันอื่นบรรทุกผักแทน เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามปกติที่เคยใช้ จำเลยจึงต้องชดใช้ให้โจทก์
รถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ต้องจ้างรถยนต์คันอื่นบรรทุกผักแทน เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามปกติที่เคยใช้ จำเลยจึงต้องชดใช้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการรับฝากรถต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควร หากเกิดความเสียหายจากการไม่ดูแลทรัพย์สินที่รับฝาก ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยประกอบการค้าในการรับฝากรถยนต์ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ในการประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคท้าย การที่ลูกจ้างจำเลยไปทำธุระที่หลังปั๊มน้ำมันของจำเลย โดยไม่จัดผู้อื่นดูแลแทน และรถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้หายไประหว่างนั้น เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้
รถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ต้องจ้างรถยนต์คันอื่นบรรทุกผักแทน เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามปกติที่เคยใช้ จำเลยจึงต้องชดใช้ให้โจทก์
รถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ต้องจ้างรถยนต์คันอื่นบรรทุกผักแทน เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามปกติที่เคยใช้ จำเลยจึงต้องชดใช้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ - สิทธิของผู้เช่า - การละเมิดสิทธิ - สัญญาเช่า - กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
โจทก์ร่วมทำสัญญาให้บริษัท ว.ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ร่วม โดยตกลงให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม บริษัท ว.หรือบริษัทผู้รับช่วงจากบริษัท ว.ได้สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าจากผู้เช่าและนำผู้เช่ามาทำสัญญากับโจทก์ร่วม บริษัท ว.ให้บริษัท ส.รับช่วงก่อสร้างอาคารดังกล่าวไป บริษัท ส.ได้ก่อสร้างอาคารพิพาทหนี้แล้วบริษัท ว.และบริษัท ส.ได้ตกลงให้ ม.เช่า และนำ ม.ไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วม ต่อมา ม.โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยโจทก์ร่วมอนุญาตและทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ออกเงินค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่บริษัท ส.และบริษัท ส.ตกลงจะให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท ทั้งจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในอาคารพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมไม่ทราบถึงข้อตกลงระหว่างบริษัท ส.กับจำเลย และบริษัท ส.ไม่ได้นำจำเลยไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมข้อตกลงระหว่างจำเลยกับบริษัท ส.คงผูกพันเฉพาะจำเลยกับบริษัท ส.เท่านั้นไม่ผูกพันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมจึงไม่มีหน้าที่ให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่ จำเลยทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา 483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิ ทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 566
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่ จำเลยทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา 483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิ ทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 566