พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยาน-อุทธรณ์-ฎีกา: การที่ศาลอุทธรณ์ให้สืบพยานต่อหลังศาลชั้นต้นงดสืบพยานและคู่ความไม่โต้แย้งคำสั่ง เป็นการไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและคู่ความมีโอกาสโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาแต่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปนั้นจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาจำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างพยานแทนเอกสารที่ถูกทำลายในคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 3
สืบพยานโจทก์เสร็จแล้วจำเลยจึงทราบว่าเอกสารที่จำเลยอ้างถูกทำลาย จำเลยร้องขออ้างพยานบุคคลแทนเอกสารนั้นได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหากรรมสิทธิ์ส่วนควบที่ไม่เคยยกขึ้นสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องและพี่น้องอันจะตกเป็กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 941/2512) ดังนั้นหากไม่เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้เสียโดยไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่ว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องและพี่น้องอันจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 941/2512)ดังนั้น หากไม่เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้เสียโดยไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ การชำระเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนไม่ได้ และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับผู้ว่าจ้างแทนการที่จำเลยที่ 1 จะต้องวางเงินมัดจำในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างเหมาทำการก่อสร้างอาคารให้ผู้ว่าจ้าง หนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาที่โจทก์ผูกพันต่อผู้ว่าจ้างเพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและไม่ชำระหนี้เท่านั้น โจทก์มิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อผู้ว่าจ้างขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหนังสือค้ำประกันจึงมิใช่มัดจำ และเมื่อตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่มีข้อความให้ผู้ว่าจ้างริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ว่าจ้างจึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1722/2513)
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดหลังจำหน่ายคดีแล้ว ไม่อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ไม่มีประโยชน์วินิจฉัยเรื่องวางประกัน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์นำเงินมาวางศาลภายใน 15 วันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ หากไม่นำมาวางภายในกำหนด ให้จำหน่ายคดีก่อนสิ้นกำหนดวางเงิน ผู้ร้องขัดทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งนั้นว่าผู้ร้องไม่ต้องวางเงินประกันความเสียหาย และขอให้มีคำสั่งงดการจำหน่ายคดี ครั้นสิ้นกำหนดแล้วศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี ผู้ร้องขัดทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำสั่งนี้ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแล้วคู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งเช่นนี้คดีจึงถึงที่สุดแล้ว ไม่มีทางจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้และไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องเรื่องคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้วาง เงินประกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดหลังจำหน่ายคดีแล้ว ไม่อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ศาลฎีกายกคำร้อง
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์นำเงินมาวางศาลภายใน15 วัน เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์หากไม่นำมาวางภายในกำหนด ให้จำหน่ายคดีก่อนสิ้นกำหนดวางเงิน ผู้ร้องขัดทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งนั้นว่าผู้ร้องไม่ต้องวางเงินประกันความเสียหาย และขอให้มีคำสั่งงดการจำหน่ายคดี ครั้นสิ้นกำหนดแล้วศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดีผู้ร้องขัดทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำสั่งนี้ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแล้ว คู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งเช่นนี้ คดีจึงถึงที่สุดแล้ว ไม่มีทางจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้และไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องเรื่องคำสั่งของศาลชั้นต้น ที่ให้วางเงินประกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์หลังศาลมีคำพิพากษาขับไล่ และการรบกวนการครอบครองโดยไม่ชอบ
โจทก์เช่าบ้านของ ส. ภรรยาจำเลยที่1 แล้วต่อมาถูก ส. ฟ้องขับไล่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านนั้น โจทก์ฎีกา และศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ไปต่างจังหวัดและใส่กุญแจบ้านพิพาทไว้โดยฝากให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลให้ จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านออก และให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าหลังจากอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ขับไล่โจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับให้โจทก์ออกจากบ้านพิพาทภายใน 1 เดือน แต่ในวันอ่านคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ไม่ได้มาศาลและไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำบังคับไว้ ทั้งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ได้นำส่งคำบังคับไปยังโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 272 โจทก์จึงยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาท และย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกได้
โจทก์ถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่ ได้ออกจากบ้านพิพาทและขนย้ายสิ่งของออกไปหมดสิ้นแล้วแต่เมื่อยังไม่ส่งมอบบ้านพิพาทคืน โดยได้ใส่กุญแจไว้และฝากให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลให้ ทั้งโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาท ดังนี้ ถือว่าโจทก์ครอบครองบ้านพิพาทอยู่โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านและให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ให้จำเลยที่ 2 เข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,84
โจทก์ถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่ ได้ออกจากบ้านพิพาทและขนย้ายสิ่งของออกไปหมดสิ้นแล้วแต่เมื่อยังไม่ส่งมอบบ้านพิพาทคืน โดยได้ใส่กุญแจไว้และฝากให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลให้ ทั้งโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาท ดังนี้ ถือว่าโจทก์ครอบครองบ้านพิพาทอยู่โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านและให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ให้จำเลยที่ 2 เข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการครอบครองยังคงอยู่แม้มีคำพิพากษาขับไล่ หากยังไม่มีการบังคับคดี
โจทก์เช่าบ้านของ ส.ภรรยาจำเลยที่ 1 แล้วต่อมาถูก ส.ฟ้องขับไล่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านนั้น โจทก์ฎีกาและศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ไปต่างจังหวัดและใส่กุญแจบ้านพิพาทไว้โดยฝากให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลให้จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านออก และให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าหลังจากอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ขับไล่โจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับให้โจทก์ออกจากบ้านพิพาทภายใน 1 เดือน แต่ในวันอ่านคำพิพากษาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาศาลและไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำบังคับไว้ ทั้งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ได้นำส่งคำบังคับไปยังโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 272 โจทก์จึงยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทและย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกได้
โจทก์ถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่ ได้ออกจากบ้านพิพาทและขนย้ายสิ่งของออกไปหมดสิ้นแล้ว แต่เมื่อยังไม่ส่งมอบบ้านพิพาทคืน โดยได้ใส่กุญแจไว้และฝากให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลให้ทั้งโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทดังนี้ถือว่าโจทก์ครอบครอง บ้านพิพาทอยู่โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านและให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ให้จำเลยที่ 2 เข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 362, 84
โจทก์ถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่ ได้ออกจากบ้านพิพาทและขนย้ายสิ่งของออกไปหมดสิ้นแล้ว แต่เมื่อยังไม่ส่งมอบบ้านพิพาทคืน โดยได้ใส่กุญแจไว้และฝากให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลให้ทั้งโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทดังนี้ถือว่าโจทก์ครอบครอง บ้านพิพาทอยู่โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 ตัดหูร้อยกุญแจบ้านและให้จำเลยที่ 2 เข้าไปอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ให้จำเลยที่ 2 เข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 362, 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการยอมให้ตัวแทนออกหน้า: ความรับผิดในฐานะตัวการ
บ. เป็นตัวแทนของจำเลยเกี่ยวกับกิจการรับเหมาก่อสร้างแม้ บ. จะสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์และออกเช็คในนามของตนเองให้โจทก์ยึดถือไว้โดยโจทก์คิดว่าเป็นกิจการของ บ. เองก็ตาม จำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นตัวการที่ยอมให้ตัวแทนของตนทำการออกหน้าเป็นตัวการ