คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ล้วน นิลกำแหง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเนื้อที่พิพาทและคำให้การที่ไม่ขัดแย้งกัน ศาลสามารถตีราคาและรับฟังพยานได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ1 งาน 50 ตารางวา ราคา 2,000 บาท แต่เมื่อไปทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่ดินตรงที่โจทก์ชี้ว่าจำเลยบุกรุกนั้น คิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่3 งาน 64 ตารางวา โจทก์จึงขอตีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทดังนี้ เมื่อที่ดินที่โจทก์นำชี้ในแผนที่พิพาทว่าจำเลยบุกรุกนั้นตรงกับที่ที่โจทก์บรรยายฟ้อง ซึ่งจำเลยก็นำชี้ด้วย แต่อ้างว่าเป็นของจำเลย ที่พิพาทจึงมิได้นอกเหนือหรือเกินไปจากฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด เป็นแต่จำนวนเนื้อที่ซึ่งประมาณไว้คลาดเคลื่อนเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอเพิ่มเติมฟ้องในส่วนนี้ และศาลย่อมตีราคาเนื้อที่ที่แท้จริงและเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริงได้ ไม่เป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง
เดิมจำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีที่งอก แม้จะมีที่งอกก็เป็นของจำเลย จำเลยไม่ได้บุกรุกเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย ติดต่อมา 50-60 ปี แล้ว มี ส.ค.1 เป็นหลักฐานจำเลยมิได้ขุดบ่อบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บ่อที่มีอยู่เป็นบ่อดั้งเดิมของจำเลย ต่อมาจำเลยให้การเพิ่มเติมว่า แม้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามคำให้การเดิมจะอยู่ในโฉนดของโจทก์หรืออยู่ในที่งอก จำเลยก็ได้ครอบครองมาในฐานะเป็น เจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์และเจ้าของร่วมก็ทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดกัน จำเลยจึงนำสืบตามประเด็นในคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2517 ในประเด็นข้อคำให้การขัดกันหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายฟ้องเนื้อที่บุกรุกและการไม่ขัดกันของคำให้การเพิ่มเติม-เดิม จำเลยนำสืบได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 50 ตารางวา ราคา 2,000 บาท แต่เมื่อไปทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่ดินตรงที่โจทก์ชี้ว่าจำเลยบุกรุกนั้น คิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา โจทก์จึงขอตีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทดังนี้ เมื่อที่ดินที่โจทก์นำชี้ในแผนที่พิพาทว่าจำเลยบุกรุกนั้นตรงกับที่ที่โจทก์บรรยายฟ้อง ซึ่งจำเลยก็นำชี้ด้วยแต่อ้างว่าเป็นของจำเลย ที่พิพาทจึงมิได้นอกเหนือหรือเกินไปจากฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด เป็นแต่จำนวนเนื้อที่ซึ่งประมาณไว้คลาดเคลื่อนเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอเพิ่มเติมฟ้องในส่วนนี้ และศาลย่อมตีราคาเนื้อที่ที่แท้จริงและเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริงได้ไม่เป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง
เดิมจำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีที่งอก แม้จะมีที่งอกก็เป็นของจำเลย จำเลยไม่ได้บุกรุกเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย ติดต่อมา 50-60 ปี แล้ว มี ส.ค.1 เป็นหลักฐานจำเลยมิได้ขุดบ่อบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บ่อที่มีอยู่เป็นบ่อดั้งเดิมของจำเลย ต่อมาจำเลยให้การเพิ่มเติมว่า แม้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามคำให้การเดิมจะอยู่ในโฉนดของโจทก์หรืออยู่ในที่งอก จำเลยก็ได้ครอบครองมาในฐานะเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์และเจ้าของร่วมก็ทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดกัน จำเลยจึงนำสืบตามประเด็นในคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2517 ในประเด็นข้อคำให้การขัดกันหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนในการสู่ขอ, การโอนกรรมสิทธิ์เรือน, เหตุหย่าจากการหมิ่นประมาทและการทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 3 ได้สู่ขอโจทก์ให้เป็นภรรยาจำเลยที่ 3 ในการสู่ขอนั้นจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ได้ตกลงจะยกที่นา 10 ไร่ให้โจทก์ เป็นการตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลยที่ 3 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งใช้บังคับกันได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2491)
หลังจากโจทก์กับจำเลยที่ 3 สมรสกันแล้ว จำเลยที่1 กับที่ 2 ได้ปลูกเรือนพิพาทโดยเจตนาจะยกให้โจทก์กับจำเลยที่ 3 แต่มิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ยกให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เรือนพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่
จำเลยที่ 3 ด่าโจทก์และมารดาโจทก์ด้วยถ้อยคำหยาบคายเตะและตบทำร้ายร่างกายโจทก์ หมิ่นประมาทโจทก์ว่ามีชู้บุตรที่เกิดก็ว่าเกิดกับชู้ หมิ่นประมาทมารดาโจทก์ว่าเป็นหญิงสำส่อนให้ชาวบ้านร่วมประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน, การยกทรัพย์สิน, เหตุหย่าจากการทำร้ายร่างกายและหมิ่นประมาท, กรรมสิทธิ์ในเรือน
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 3 ได้สู่ขอโจทก์ให้เป็นภรรยาจำเลยที่ 3 ในการสู่ขอนั้นจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ได้ตกลงจะยกที่นา 10 ไร่ให้โจทก์ เป็นการตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลยที่ 3 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งใช้บังคับกันได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2491)
หลังจากโจทก์กับจำเลยที่ 3 สมรสกันแล้ว จำเลยที่1 กับที่ 2 ได้ปลูกเรือนพิพาทโดยเจตนาจะยกให้โจทก์กับจำเลยที่ 3 แต่มิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ยกให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เรือนพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่
จำเลยที่ 3 ด่าโจทก์และมารดาโจทก์ด้วยถ้อยคำหยาบคายเตะและตบทำร้ายร่างกายโจทก์ หมิ่นประมาทโจทก์ว่ามีชู้บุตรที่เกิดก็ว่าเกิดกับชู้ หมิ่นประมาทมารดาโจทก์ว่าเป็นหญิงสำส่อนให้ชาวบ้านร่วมประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดิน การซื้อขายเฉพาะส่วนสมบูรณ์ได้
โจทก์จำเลยเจตนาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนจำนวนเนื้อที่35 ตารางวา ครึ่ง ต่อกัน แต่โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายที่ดินให้จำเลยไป 88 ตารางวา ครึ่ง โดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ปฏิบัติไปถูกต้องแล้ว ถือว่าเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งนิติกรรมนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งกรณีเห็นได้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินจำนวนเนื้อที่ 35 ตารางวา ครึ่ง การซื้อขายที่ดินในส่วนนี้จึงสมบูรณ์ แยกออกหากจากที่ดินจำนวนเนื้อที่ 53 ตารางวาของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: โมฆะเฉพาะส่วน, ส่วนที่สมบูรณ์แยกได้
โจทก์จำเลยเจตนาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนจำนวนเนื้อที่ 35 เศษหนึ่งส่วนสามตารางวาต่อกัน แต่โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายที่ดินให้จำเลยไป 88 เศษหนึ่งส่วนสามตารางวา โดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ปฏิบัติไปถูกต้องแล้ว ถือว่าเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งนิติกรรมนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งกรณีเห็นได้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินจำนวนเนื้อที่ 35 เศษหนึ่งส่วนสามตารางวา การซื้อขายที่ดินในส่วนนี้จึงสมบูรณ์ แยกออกหากจากที่ดินจำนวนเนื้อที่ 53 ตารางวาของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงของสัญญา, การแก้ไขแบบแปลน, สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่เงินมัดจำ, และการโต้แย้งคำสั่งศาล
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลภายหลังเวลาที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'กระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม' ตามกฎกระทรวงฯ กรณีปืนและกระสุนคนละแบบ
บรรยายฟ้องความว่า มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือกระสุนปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 ขนาด 7.62 ม.ม. เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ.2501) ฯลฯ ได้กำหนดเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในข้อ(16) คือ "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับสิ่งซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ (1) ถึง (9) เว้นแต่เครื่องกระสุนปืน ชนิดและขนาดที่ใช้ได้แก่อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาต" กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) ค.กำหนดว่า "ปืนเล็กสั้นแบบ 83 ขนาด 6.5 ม.ม. และ 7.62 ม.ม."กระสุนปืนของกลางเป็นแบบ 87 ปืนในกฎกระทรวงข้อ (3) ค.เป็นแบบ 83ต่างแบบกัน. จะฟังว่ากระสุนปืนเล็กสั้นแบบ 87ขนาด7.62 ม.ม. ในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. ย่อมไม่ได้กระสุนปืนของกลางจึงไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการเข้าใจผิดลงโทษจำเลย ฐานมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความกฎกระทรวงกำหนดกระสุนปืนใช้เฉพาะสงคราม: ความแตกต่างของแบบปืนและกระสุน
บรรยายฟ้องความว่า มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือกระสุนปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 ขนาด 7.62 ม.ม. เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ.2501) ฯลฯ ได้กำหนดเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในข้อ(16) คือ "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับสิ่งซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ (1) ถึง (9) เว้นแต่เครื่องกระสุนปืน ชนิดและขนาดที่ใช้ได้แก่อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาต" กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) ค. กำหนดว่า "ปืนเล็กสั้นแบบ 83 ขนาด 6.5 ม.ม. และ 7.62 ม.ม." กระสุนปืนของกลางเป็นแบบ 87 ปืนในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. เป็นแบบ 83ต่างแบบกัน. จะฟังว่ากระสุนปืนเล็กสั้นแบบ 87 ขนาด7.62 ม.ม. ในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. ย่อมไม่ได้กระสุนปืนของกลางจึงไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการเข้าใจผิด ลงโทษจำเลยฐานมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวระหว่างฎีกา: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาเฉพาะก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า" ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันทีถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว..." คำว่าศาลตามมาตรานี้ต้องหมายความถึงศาลชั้นต้น โดยกฎหมายบัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนฟังว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่เสียก่อนที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว เพราะถ้าได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นไปจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือมีคำพิพากษาแล้วกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่อีก ฉะนั้นที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างฎีกาได้
of 28