พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวระหว่างฎีกา: ไม่อนุญาตตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 17
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า"ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันที ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว" คำว่าศาลตามมาตรานี้ต้องหมายความถึงศาลชั้นต้น โดยกฎหมายบัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนฟังว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่เสียก่อนที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว เพราะถ้าได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นไปจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือมีคำพิพากษาแล้วกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่อีก ฉะนั้น ที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์และพยายามฆ่าเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ ถือเป็นกรรมเดียว
จำเลยทั้งสองเข้าไปในตึกแถวของผู้เสียหาย ได้เข้าไปในห้องของ อ.บุตรผู้เสียหาย มัดอ.แล้วถามหาเซฟอันเป็นที่เก็บทรัพย์ ว่าที่ชั้นบนมีเซฟอยู่หรือเปล่าอยู่ตรงไหน แล้วจำเลยก็ออกจากห้องของ อ. ขึ้นไปบนชั้นที่ 2 พอพบผู้เสียหายก็ยิงผู้เสียหายทันทีโดยไม่มีสาเหตุที่จะมาทำร้ายผู้เสียหายมาก่อน แล้วจำเลยก็วิ่งขึ้นไปบนชั้นที่สาม แสดงว่าขึ้นไปเพื่อหาเซฟ การที่จำเลยมัด อ. กับการที่จำเลยยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายนี้ จำเลยกระทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเดียวกัน คือ เพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339,80 บทหนึ่ง กับมาตรา 289(6),80 อีกบทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามฆ่าและลักทรัพย์: การกระทำกรรมเดียวเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน
จำเลยทั้งสองเข้าไปในตึกแถวของผู้เสียหาย ได้เข้าไปในห้องของ อ. บุตรผู้เสียหาย มัด อ. แล้วถามหาเซฟอันเป็นที่เก็บทรัพย์ ว่าที่ชั้นบนมีเซฟอยู่หรือเปล่า อยู่ตรงไหน แล้วจำเลยก็ออกจากห้องของ อ. ขึ้นไปบนชั้นที่ 2 พอพบผู้เสียหายก็ยิงผู้เสียหายทันทีโดยไม่มีสาเหตุที่จะมาทำร้ายผู้เสียหายมาก่อน แล้วจำเลยก็วิ่งขึ้นไปบนชั้นที่สาม แสดงว่าขึ้นไปเพื่อหาเซฟ การที่จำเลยมัด อ. อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย กับการที่จำเลยยิง พยายามฆ่าผู้เสียหายนี้ จำเลยกระทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเดียวกัน คือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 80 บทหนึ่ง กับมาตรา 289(6), 80 อีกบทหนึ่ง หาใช่ความผิดสองกระทงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่ออ้างว่าคดีมีมูลโดยไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลล่าง และฎีกาข้อเท็จจริงได้เมื่อศาลล่างพิพากษาโดยข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมโดยอ้างว่าคดีขาดอายุความแล้ว โจทก์ฎีกาว่าการนำสืบของโจทก์สำหรับข้อหาทั้งสองข้อเท็จจริงพอฟังว่าคดีมีมูลดังนี้ ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อหานำสืบแสดงพยานหลักฐานเท็จ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยรู้แล้วว่าเอกสารที่จำเลยนำสืบเป็นเอกสารปลอมและในข้อหาเบิกความเท็จ วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จในตอนใด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาทั้งสองนี้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ว่าเอกสารนั้นปลอม จำเลยเบิกความว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงไปตามความเชื่อของตนดังนี้ เป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยข้อเท็จจริง โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 และด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้สืบพยานเพิ่มเติม
ข้อหานำสืบแสดงพยานหลักฐานเท็จ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยรู้แล้วว่าเอกสารที่จำเลยนำสืบเป็นเอกสารปลอมและในข้อหาเบิกความเท็จ วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จในตอนใด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาทั้งสองนี้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ว่าเอกสารนั้นปลอม จำเลยเบิกความว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงไปตามความเชื่อของตนดังนี้ เป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยข้อเท็จจริง โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 และด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้สืบพยานเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่ออุทธรณ์ข้อเท็จจริงแล้วฎีกาในข้อเท็จจริงอีก และการฎีกาข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้ว
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมโดยอ้างว่าคดีขาดอายุความแล้ว โจทก์ฎีกาว่า การนำสืบของโจทก์สำหรับข้อหาทั้งสอง ข้อเท็จจริงพอฟังว่าคดีมีมูล ดังนี้ ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อหานำสืบแสดงพยานหลักฐานเท็จ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยรู้แล้วว่าเอกสารที่จำเลยนำสืบเป็นเอกสารปลอมและในข้อหาเบิกความเท็จ วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จในตอนใด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาทั้งสองนี้ว่า ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเอกสารนั้นปลอม จำเลยเบิกความว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงไปตามความเชื่อของตน ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยข้อเท็จจริง. โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 และด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้สืบพยานเพิ่มเติม
ข้อหานำสืบแสดงพยานหลักฐานเท็จ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยรู้แล้วว่าเอกสารที่จำเลยนำสืบเป็นเอกสารปลอมและในข้อหาเบิกความเท็จ วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จในตอนใด ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาทั้งสองนี้ว่า ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเอกสารนั้นปลอม จำเลยเบิกความว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงไปตามความเชื่อของตน ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยข้อเท็จจริง. โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 และด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้สืบพยานเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม: การคืนเงินค่าประกันภัยที่จ่ายไปแล้วในการเช่าซื้อรถ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวขอซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยระบบเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินมัดจำโดยสั่งจ่ายเช็คฉบับละ 5,000 บาทหลายฉบับ ต่อมาได้สั่งจ่ายเช็คอีก 2 ฉบับ มอบให้โจทก์แทนเช็คฉบับก่อนเช็ค 2 ฉบับนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินตามเช็คจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าประกันรถที่เช่าซื้อจากโจทก์คันละ 5,000 บาทให้โจทก์เป็นผู้ไปประกันแล้วเอาสัญญาประกันภัยมามอบให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไป 6 ฉบับๆ ละ 5,000 บาทโจทก์นำเช็ค 4 ฉบับเบิกเงินจากธนาคารไปแล้ว แต่ไม่นำสัญญาประกันภัยมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่นำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 1 จึงถูกตำรวจเรียกตัวไป แต่ตกลงกันได้โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็ค 2 ฉบับอีก 6,000 บาท จะจ่ายภายใน 3 วัน โจทก์มิได้ประกันภัยและนำสัญญาประกันภัยรถยนต์มาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้ง ขอให้โจทก์คืนเงิน 24,000 บาท เงิน 24,000 บาทที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกคืนนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเนื่องจากจำเลยที่ 2 จ่ายเป็นเช็คให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยเป็นเงินที่จำเลยที่ 2 จ่ายเป็นค่าประกันภัยรถที่เช่าซื้อจากโจทก์ คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม: ค่าประกันภัยรถเช่าซื้อ จำเลยมีสิทธิเรียกคืนเงินจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว ขอซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยระบบเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินมัดจำโดยสั่งจ่ายเช็คฉบับละ 5,000 บาทหลายฉบับ ต่อมาได้สั่งจ่ายเช็คอีก 2 ฉบับ มอบให้โจทก์แทนเช็คฉบับก่อน เช็ค 2 ฉบับนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าประกันรถที่เช่าซื้อจากโจทก์คันละ 5,000 บาทให้โจทก์เป็นผู้ไปประกันแล้วเอาสัญญาประกันภัยมามอบให้จำเลยที่ 2. จำเลยที่ 2 จึงจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไป 6 ฉบับๆ ละ 5,000 บาท โจทก์นำเช็ค 4 ฉบับเบิกเงินจากธนาคารไปแล้ว แต่ไม่นำสัญญาประกันภัยมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่นำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 1 จึงถูกตำรวจเรียกตัวไป แต่ตกลงกันได้ โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็ค 2 ฉบับอีก 6,000 บาทจะจ่ายภายใน 3 วัน โจทก์มิได้ประกันภัยและนำสัญญาประกันภัยรถยนต์มาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ฟ้องแย้ง ขอให้โจทก์คืนเงิน 24,000 บาท เงิน 24,000 บาทที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกคืนนี้ เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเนื่องจากจำเลยที่ 2 จ่ายเป็นเช็คให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์ โดยเป็นเงินที่จำเลยที่ 2 จ่ายเป็นค่าประกันภัยรถที่เช่าซื้อจากโจทก์ คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง, ค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาล, และค่าเสียหายจากการสูญเสียความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุไปในธุรกิจของบริษัทจำเลยที่ 2 แล้วไปเกิดเหตุขึ้น โดยชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์เสียหาย และโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวเพื่อเดินทางกลับบริษัทจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1ยังอยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในกรณีเสียหายแก่ร่างกายนั้น การรักษาพยาบาลในเวลาอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อผลของการละเมิดทำให้โจทก์เสียหายถึงทุพพลภาพโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ตามมาตรา 446 ด้วย โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
การที่โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นคำฟ้องฎีกาของโจทก์ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในกรณีเสียหายแก่ร่างกายนั้น การรักษาพยาบาลในเวลาอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อผลของการละเมิดทำให้โจทก์เสียหายถึงทุพพลภาพโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ตามมาตรา 446 ด้วย โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
การที่โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นคำฟ้องฎีกาของโจทก์ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการประเมินค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุไปในธุรกิจของบริษัทจำเลยที่ 2แล้วไปเกิดเหตุขึ้น โดยชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวเพื่อเดินทางกลับบริษัทจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในกรณีเสียหายแก่ร่างกายนั้น การรักษาพยาบาลในเวลาอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อผลของการละเมิดทำให้โจทก์เสียหายถึงทุพพลภาพโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ตามมาตรา 446 ด้วย โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
การที่โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นคำฟ้องฎีกาของโจทก์ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในกรณีเสียหายแก่ร่างกายนั้น การรักษาพยาบาลในเวลาอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อผลของการละเมิดทำให้โจทก์เสียหายถึงทุพพลภาพโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ตามมาตรา 446 ด้วย โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
การที่โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นคำฟ้องฎีกาของโจทก์ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศเขตป่าคุ้มครองชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองก่อนประกาศไม่กระทบสิทธิของรัฐ
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าปากคลองบางพระฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2492 ซึ่งต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 36 ก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 5, 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ.2481 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้น กล่าวคือได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสำรวจสอบสวนเขตป่าที่จะจัดให้เป็นป่าคุ้มครองและปิดประกาศโฆษณาระบุท้องที่ซึ่งจะทำการสำรวจไว้ ณ ท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด ได้มีการประชุมชี้แจงต่อราษฎร มีราษฎรยื่นคำร้องคัดค้านหลายรายรวมทั้งบิดาโจทก์ด้วย ครั้นคณะกรรมการประกาศกำหนดวันที่จะดำเนินการสำรวจสอบสวนเขตป่า มีผู้ร้องมาให้การตามนัดบ้างไม่มาบ้าง ผู้ที่ไม่มานั้นปรากฏว่าหลายรายได้ตายไปแล้วและละเลยทอดทิ้ง ไม่ติดใจในสิทธิ แต่คณะกรรมการก็ได้แจ้งให้ผู้ร้องหรือทายาททราบอีก แต่บิดาโจทก์หรือตัวโจทก์ซึ่งอ้างว่าได้รับมรดกที่พิพาทมาครอบครองอยู่ขณะนั้น ไม่ไปให้คณะกรรมการทำการสอบสวน คณะกรรมการทำการสอบสวนเห็นสมควรให้คงอาศัยทำกินในเขตป่าคุ้มครองต่อไปตามเดิมก็มีและกันที่ดินของผู้ร้องออกจากป่าคุ้มครองก็มีส่วนรายใดที่ไม่ได้ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนนั้น คณะกรรมการได้จัดที่ดินของบุคคลเหล่านั้นเข้าเป็นป่าคุ้มครองแล้วรายงานเสนอเรื่องราวไปยังกระทรวงเกษตร จนรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคุ้มครองประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2492 แล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าคุ้มครองดังกล่าวเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งโจทก์ได้รับมรดกครอบครองมาเพื่อหักล้างกฎหมายหาได้ไม่ แม้โจทก์จะได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทไว้ก็เป็นเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงไม่ก่อให้สิทธิอย่างใดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่กระทรวงเกษตรหรือบุคคลซึ่งได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรให้เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาท