พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เพราะเป็นการอุทธรณ์ในดุลพินิจ ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก 1 ปี จำเลยฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยดังนี้ เป็นฎีกาข้อเท็จจริงในดุลพินิจ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: หน้าที่การพิสูจน์ของจำเลย, การปรับ, และการริบของ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27, 27 ทวิ เกี่ยวโยงไปถึงพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ที่บัญญัติว่า "ของใดๆ อันเนื่องด้วยความผิดตาม มาตรา 27 ฯลฯ ท่านให้ริบเสียสิ้น ฯลฯ" ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึด เพราะไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้ว่าของกลางเป็นของต่างประเทศซึ่งต้องเสียภาษีแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วมิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27 ดังกล่าว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วมิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: หน้าที่การพิสูจน์การเสียภาษีของจำเลย และการปรับโทษรวม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลการ พ.ศ. 2467มาตรา 27,27 ทวิ เกี่ยวโยงไปถึงพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482มาตรา 17 ที่บัญญัติว่า "ของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตาม มาตรา 27 ฯลฯท่านให้ริบเสียสิ้น ฯลฯ" ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึด เพราะไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้ว่าของกลางเป็นของต่างประเทศซึ่งต้องเสียภาษีแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
พระราชบัญญัติศุลากากรพ.ศ.2469มาตรา27ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญติให้ลงโทษปรับรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้วแต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27ดังกล่าว
พระราชบัญญัติศุลากากรพ.ศ.2469มาตรา27ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญติให้ลงโทษปรับรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้วแต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย และการเพิกถอนนิติกรรมเมื่อสิทธิยังไม่เปลี่ยนมือ
ผ.ยกที่พิพาทให้มัสยิดโจทก์ โจทก์ครอบครองเก็บค่าเช่าตลอดมา ผ.ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้จดทะเบียนยกให้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเรื่องครอบครองปรปักษ์ กรรมการโจทก์จึงประชุมให้จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ผ. เสียก่อน แล้วให้จำเลยทั้งสองโอนให้โจทก์ จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดก็เพื่อความสะดวกในการที่จะโอนให้โจทก์ต่อไป ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในที่พิพาท โจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนพฤติกรรมการรับโอนของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้ว กรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้ว กรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่ขัดแย้งกับพินัยกรรมและการได้มาซึ่งที่ดินของมัสยิดต้องได้รับอนุญาต
ผ. ยกที่พิพาทให้มัสยิดโจทก์ โจทก์ครอบครองเก็บค่าเช่าตลอดมาผ. ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้จดทะเบียนยกให้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเรื่องครอบครองปรปักษ์กรรมการโจทก์จึงประชุมให้จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ผ. เสียก่อน แล้วให้จำเลยทั้งสองโอนให้โจทก์ จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดก็เพื่อความสะดวกในการที่จะโอนให้โจทก์ต่อไป ไม่มีสิทธิใดๆ ในที่พิพาทโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการรับโอนของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้วกรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้วกรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางผ่านที่ดินที่ถูกล้อมเพื่อเข้าสู่ทางสาธารณะ โดยคำนึงถึงความเสียหายน้อยที่สุด
ที่ดินที่ถูกล้อมชอบที่จะให้เปิดทางผ่านที่ดินที่ล้อมไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยเลือกเอาทางที่จะเกิดความเสียหายน้อยที่สุดแก่ที่ดินที่ล้อม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2938/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองแทนเจ้าของเดิมไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง
ที่พิพาทติดกับที่นาที่โจทก์เช่าจากจำเลย และอยู่ในเขตที่ดินตามเอกสารการครอบครองที่ดินของจำเลยด้วย โจทก์ได้แผ้วถางที่พิพาทแสดงการยึดถือเอาเองเป็นปรปักษ์ต่อสิทธิ์ครอบครองของจำเลย จำเลยจึงไปร้องเรียนต่ออำเภอ นายอำเภอเปรียบเทียบให้ที่ดินเฉพาะที่ปรากฏตามแบบสำรวจเนื้อที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ของจำเลย ซึ่งมีที่พิพาทรวมอยู่ด้วยเป็นของจำเลย แต่โจทก์ก็ยังมิได้ส่งมอบเพราะครอบครองอยู่ตั้งแต่เช่า ดังนี้ถือได้ว่าที่โจทก์ครอบครองต่อมานั้น เป็นการครอบครองแทนจำเลยระหว่างรอการส่งมอบ หาใช่ครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ แม้จะครอบครองมาเกินหนึ่งปี ก็ไม่ได้สิทธิ์ครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้เรื่องการซื้อขายไม่มีผลบังคับทำให้เช็คขาดอายุความ ผู้ทรงเช็คต้องพิสูจน์มูลหนี้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยให้การว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ป. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับที่ดิน ป. เอาเช็คดังกล่าวไปชำระให้โจทก์เป็นค่าซื้อหิน 2 ก้อน ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเหล็กไหลโดยมีเงื่อนไขว่า ป. ขอนำหินดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ก่อนว่าใช่เหล็กไหลหรือไม่ ถ้าใช่จึงจะรับซื้อ ถ้าไม่ใช่จะเอามาคืนและรับเช็คคืน ผลการพิสูจน์ปรากฏว่าไม่ใช่เหล็กไหล สัญญาซื้อขายไม่เกิดขึ้น โจทก์ต้องคืนเช็คให้ป. จึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้ เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คพิพาทมาไว้ในความครอบครอง อันเนื่องมาจากการซื้อขายดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรง เพราะไม่มีมูลหนี้นั่นเอง อันเป็นการยกข้อต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน มิใช่ข้อต่อสู้ที่จำเลยมีต่อผู้ทรงคนก่อนๆ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 คดีย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับการซื้อขายเหล็กไหล ว่า วัตถุ 2 ก้อนที่โจทก์ขายนั้นเป็นเหล็กไหลหรือไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่ใช่เหล็กไหล สัญญาซื้อขายเหล็กไหลก็ไม่มีต่อกัน จึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามเช็คจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่และการคุ้มครองสิทธิจากการบุกรุก รวมถึงประเด็นอายุความฟ้องร้อง
เดิมบิดาโจทก์ได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ในที่พิพาทบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ได้รับมรดกสิทธิตามประทานบัตรโดยถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2499 ประทานบัตรนี้สิ้นอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2507 วันที่ 9 มกราคม 2507 โจทก์ขอต่ออายุ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ต่ออายุประทานบัตรให้โจทก์12 ปีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2507 เป็นต้นไปประทานบัตรของโจทก์จึงมิได้ขาดต่ออายุ จำเลยอ้างว่าพ. เข้าแผ้วถางปลูกพืชพันธ์ในที่พิพาทอยู่ 9 ปีแล้วขายให้จำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2513 ดังนี้สิทธิของโจทก์ตามประทานบัตรจึงมีอยู่ก่อน พ. เข้าไปยึดถือครอบครอง และขณะฟ้องโจทก์ก็ยังมีสิทธิตามประทานบัตรนั้นอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาท โจทก์เสียภาษีและค่าธรรมเนียมประทานบัตรตลอดมา จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นผลอาสินทำรั้วในที่พิพาท ขอให้ขับไล่ ฟ้องเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ด้วย
พ. ผู้ที่จำเลยอ้างว่าได้ขายหรือมอบที่พิพาทให้จำเลยก็ดี จำเลยก็ดีเข้าไปปลูกต้นผลอาสิน สร้างรั้ว หรืออาคารลงในที่พิพาท เป็นการยึดถือครอบครองในเขตพื้นที่ประทานบัตรของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีสิทธิที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของโจทก์ผู้ถือประทานบัตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
การได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินเขตประทานบัตร กรณีไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกคืนสิทธิครอบครองจากผู้แย่งการครอบครองจะนำเอาสิทธิฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ต้องปรับด้วยอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 และการพ้นอายุความก็ต้องนับแต่มีการบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่พิพาท เมื่อจำเลยเข้าไปครอบครองที่พิพาทยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาท โจทก์เสียภาษีและค่าธรรมเนียมประทานบัตรตลอดมา จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นผลอาสินทำรั้วในที่พิพาท ขอให้ขับไล่ ฟ้องเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ด้วย
พ. ผู้ที่จำเลยอ้างว่าได้ขายหรือมอบที่พิพาทให้จำเลยก็ดี จำเลยก็ดีเข้าไปปลูกต้นผลอาสิน สร้างรั้ว หรืออาคารลงในที่พิพาท เป็นการยึดถือครอบครองในเขตพื้นที่ประทานบัตรของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีสิทธิที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของโจทก์ผู้ถือประทานบัตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
การได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินเขตประทานบัตร กรณีไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกคืนสิทธิครอบครองจากผู้แย่งการครอบครองจะนำเอาสิทธิฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ต้องปรับด้วยอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 และการพ้นอายุความก็ต้องนับแต่มีการบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่พิพาท เมื่อจำเลยเข้าไปครอบครองที่พิพาทยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของจำเลยก่อนอ่านคำสั่งศาลฎีกาและสิทธิของทายาทในการรับมรดกความ
ทนายจำเลยแจ้งให้ศาลทราบว่าจำเลยตายก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาในกรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งไปเลยโดยถือว่าจำเลยไม่มาศาล ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 แต่ศาลก็ไม่จำต้องเลื่อนการอ่านไปเพื่อรอให้มีผู้รับมรดกความอีก เพราะทายาทจำเลยชอบที่จะขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยผู้มรณะได้เสมอแม้ในชั้นบังคับคดีภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย