พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามหรือไม่เมื่อประเด็นเปลี่ยนจากการเรียกร้องหนี้ยังไม่ถึงกำหนดเป็นการเรียกร้องหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ประจำงวดเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม2515 รวม 2 งวดเป็นเงิน 4,000 บาท ขณะนั้นเงินค่าแชร์ทั้งสองงวดยังไม่ถึงกำหนดชำระ ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มาฟ้องเรียกไม่ได้ คดีถึงที่สุด คดีหลัง โจทก์มาฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเงินค่าแชร์ประจำงวดเดือนดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์แล้ว ดังนี้ คดีก่อนมีประเด็นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินค่าแชร์ที่ยังไม่ถึงกำหนดหรือไม่ คดีหลังมีประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าแแชร์ดังกล่าว ที่ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจรเป็นยักยอก เนื่องจากผู้ดูแลรักษาคือเจ้าอาวาส และการกระทำเข้าข่ายยักยอกทรัพย์
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจร เป็นยักยอกทรัพย์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ดูแลศาสนสมบัติของวัด
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแล้วโอนที่ดิน ถือเป็นการให้สิ่งที่มีภารติดพัน ไม่อาจถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณ
ที่ดินมีจำนอง ผู้รับให้ออกเงินไถ่จำนองแล้วผู้ให้โอนที่ดินได้ในวันเดียวกัน เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน ถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ และการนับอายุความละเมิดจากวันที่ทราบผลสอบสวน
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็รับวินิจฉัยได้
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขององค์กร, อายุความละเมิด, และขอบเขตอำนาจของผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการมอบอำนาจดำเนินคดี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็รับวินิจฉัยได้
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าราชการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่าง ของที่ขาดหายไปยังไม่ทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าราชการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่าง ของที่ขาดหายไปยังไม่ทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถออกจากถนนต้องตรวจสอบความปลอดภัยก่อน หากชนกับรถที่ขับช้า ถือเป็นความประมาทเลินเล่อ
รถยนต์ที่ออกจากถนนที่มีป้ายจราจรให้หยุดปักอยู่ต้องดูว่าเป็นการปลอดภัย เมื่อชนกับรถที่ขับมาช้าๆ เหมาะสมกับเหตุการณ์ รถคันแรกประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียวค่าเสียหายที่ต้องรับผิดรวมถึงค่าขาดประโยชน์ในระหว่างที่ตำรวจยึดรถไว้ในการสอบสวนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ไม้ยาง' และ 'ไม้ยางนา' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และการกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม่สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชบกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางนากับไม้ยาง
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้ห่วงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการสืบพยาน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียนผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ 3 คน โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจัดการห้างหุ้นส่วนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1035 หุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คนลงชื่อในใบแต่งทนายก็ใช้ได้หาจำเป็นต้องให้หุ้นส่วนผู้จัดการทั้งสามร่วมทำการแทนไม่
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว