พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์: การลงโทษจำเลยที่ใช้และไม่ได้ใช้อาวุธปืน
ในการปล้นทรัพย์จำเลยที่ 1 ที่ 4 ไม่ได้มีหรือใช้อาวุธปืน จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ แต่ลงโทษมาตรา 340 ตรี ไม่ได้ จำเลยที่ 2,3 ใช้ปืนจี้ลงโทษตามมาตรา340วรรคสี่ และ มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างอำพราง: การปกปิดราคาซื้อขายที่ดิน และเจตนาที่ไม่แท้จริงในการทำสัญญา
จำเลยซื้อที่ดินจากโจทก์ เป็นที่ดินของโจทก์กับพวก โจทก์ประสงค์จะปกปิดราคาที่ดินส่วนที่เกิดจากราคาไร่ละ 68,000 บาท ไม่ให้พวกของโจทก์ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมรู้ความจริง จึงทำสัญญาจ้างโจทก์เท่ากับจำนวนเงินราคาที่ดินส่วนที่เกินไร่ละ 68,000 บาท โดยโจทก์ประสงค์จะได้เงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของโจทก์แต่ผู้เดียว ดังนี้ โจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจ้างกัน โจทก์จะบังคับให้จำเลยชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างมิได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ เพราะหนี้ใหม่คือค่าจ้างมิได้เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม vs. ผู้ค้ำประกัน: ศาลบังคับชำระหนี้ได้แม้ฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกัน หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นลูกหนี้ร่วม
เอกสารมีข้อความว่า ถ. รับเป็นผู้จัดการในการผ่อนชำระเงินค่าข้าวสารซึ่ง บ. ซื้อไปจาก จ. เนื่องจาก บ. ไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้ดังนี้หมายความว่าจะใช้หนี้แทน เป็นลูกหนี้ร่วม ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้อง แม้จะกล่าวว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมก็บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมได้ ไม่เป็นการนอกเหนือความประสงค์ที่โจทก์ฟ้อง
การที่จำเลยส่งสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยจะนำสืบให้โจทก์ก่อนสืบพยานโจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นเอกสารปลอม อันทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิจะนำสืบว่าเป็นเอกสารปลอมนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านเมื่อตอนโจทก์นำสืบปฏิเสธเอกสารดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นคัดค้านภายหลังหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้อง แม้จะกล่าวว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมก็บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมได้ ไม่เป็นการนอกเหนือความประสงค์ที่โจทก์ฟ้อง
การที่จำเลยส่งสำเนาเอกสารซึ่งจำเลยจะนำสืบให้โจทก์ก่อนสืบพยานโจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นเอกสารปลอม อันทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิจะนำสืบว่าเป็นเอกสารปลอมนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านเมื่อตอนโจทก์นำสืบปฏิเสธเอกสารดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นคัดค้านภายหลังหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบียดบังทรัพย์สินที่ฝากไว้: ข้อพิพาทเรื่องการรับฝากเงินและการปฏิเสธความรับผิด
ฟ้องว่าฝากธนบัตรฉบับละ 100 บาท ไว้กับจำเลย 100 ฉบับเป็นเงิน 10,000 บาท ให้จำเลยเก็บรักษาไว้ จำเลยเบียดบังเอาเป็นของจำเลยโดยทุจริต ต่อมาอีก 4 ปี จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากเงินนั้น ฯลฯดังนี้ เป็นฟ้องที่ศาลต้องรับฟังพยานต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความหมาย 'ถูกขโมยทั้งคัน' ในสัญญาประกันภัย ครอบคลุมถึงการถูกปล้นด้วย
สัญญาประกันภัยรถยนต์ซึ่งบริษัทจำเลยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยมีข้อความรวมถึงกรณีรถถูกขโมยทั้งคันด้วยคำว่า 'ถูกขโมยทั้งคัน' ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวนอกจากมีความหมายถึงการที่รถถูกคนร้ายลักไปแล้ว ย่อมหมายความรวมถึงการที่รถถูกคนร้ายปล้นเอาไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: “ถูกขโมยทั้งคัน” ครอบคลุมการปล้นทรัพย์ด้วย
สัญญาประกันภัยรถยนต์ซึ่งบริษัทจำเลยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยมีข้อความ รวมถึงกรณีรถถูกขโมยทั้งคันด้วย คำว่า "ถูกขโมยทั้งคัน" ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวนอกจากมีความหมายถึงการที่รถถูกคนร้ายลักไปแล้ว ย่อมหมายความรวมถึงการที่รถถูกคนร้ายปล้นเอาไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยเป็นบิดามารดาของผู้เยาว์ เป็นผู้มีฐานะดีมีรถใช้ในกิจการ 4 คัน ได้ยินยอมให้ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 19 ปี 6 เดือน ขับรถไปใช้ได้ และได้ความว่าผู้เยาว์เป็นคนสายตาสั้น ดังนี้จำเลยย่อมรู้ดีว่าการขับรถของผู้เยาว์ย่อมเกิดอันตรายได้โดยง่าย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดามารดาที่จะพึงดูแลบุตร เมื่อผู้เยาว์ขับรถของจำเลยไปทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดในผลที่ผู้เยาว์กระทำละเมิดด้วย
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากรถเช่าซื้อ
จำเลยเป็นบิดามารดาของผู้เยาว์ เป็นผู้มีฐานะดีมีรถใช้ในกิจการ 4 คัน ได้ยินยอมให้ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 19 ปี 6 เดือน ขับรถไปใช้ได้ และได้ความว่าผู้เยาว์เป็นคนสายตาสั้น ดังนี้ จำเลยย่อมรู้ดีว่าการขับรถของผู้เยาว์ย่อมเกิดอันตรายได้โดยง่าย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดามารดา ที่จะพึงดูแลบุตร เมื่อผู้เยาว์ขับรถของจำเลยไปทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดในผลที่ผู้เยาว์กระทำละเมิดด้วย
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งและการพิจารณาคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยตามประเด็นที่อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. ให้รับผิดใช้เงินตามเช็คที่สั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินยืมแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การว่าโจทก์ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าก่อนฟ้องโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็คในทางแพ่งจึงน่าจะมีอายุความ 5 ปี ทั้งเป็นการออกเช็คเนื่องจากการกู้เงินจึงมีอายุความ 10 ปี ดังนี้ ในชั้นอุทธรณ์ไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเรื่องขยายอายุความตามมาตรา 186 และปัญหาว่าอายุความขยายตามมาตรานี้หรือไม่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อ ว. ถึงแก่ความตายอายุความที่เป็นโทษแก่ ว. ซึ่งจะขาดลงภายในเวลาต่ำกว่า 1 ปี นับแต่วัน ว. ตาย ย่อมขยายออกไปเป็น 1 ปี นับแต่วันตายตามมาตรา 186 คดีจึงไม่ขาดอายุความ จึงเป็นการนอกประเด็น
กรณีดังกล่าวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาและคำพิพากษาศษลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามประเด็น
กรณีดังกล่าวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาและคำพิพากษาศษลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้เช็ค: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องขยายอายุความตามมาตรา 186
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. ให้รับผิดใช้เงินตามเช็คที่ ว. สั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินยืมแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การว่าโจทก์ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขาดอายุความศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าก่อนฟ้องโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็คในทางแพ่งจึงน่าจะมีอายุความ 5 ปี ทั้งเป็นการออกเช็คเนื่องจากการกู้เงินจึงมีอายุความ 10 ปี ดังนี้ ในชั้นอุทธรณ์ไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเรื่องขยายอายุความตามมาตรา 186 และปัญหาว่าอายุความขยายตามมาตรานี้หรือไม่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อ ว.ถึงแก่ความตายอายุความที่เป็นโทษแก่ ว. ซึ่งจะขาดลงภายในเวลาต่ำกว่า 1 ปี นับแต่วัน ว. ตาย ย่อมขยายออกไปเป็น 1 ปี นับแต่วันตายตามมาตรา 186 คดีจึงไม่ขาดอายุความ จึงเป็นการนอกประเด็น
กรณีดังกล่าวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามประเด็น
กรณีดังกล่าวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามประเด็น