พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงและประเด็นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวของโจทก์ 2 ห้องมีกำหนด 10 ปี ค่าเช่าห้องละ 100 บาทต่อเดือนบัดนี้ครบกำหนดสัญญาและโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออก ขอให้ขับไล่และชำระค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท กับค่าเสียหายเดือนละ 200 บาทนับแต่วันฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์ 68,000 บาท โจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่ามีกำหนด 30 ปี ทำสัญญาไว้ 10 ปี ก่อนแล้วจะต่อสัญญาเช่าอีกครั้งละ 10 ปี จนครบ ขอให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับให้โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจดทะเบียนการเช่าให้จำเลย ดังนี้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่ให้เช่าอันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเดือนละ 200 บาท และเรียกค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงไม่มีสัญญาต่างตอบแทนแก่กันจำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการต้องห้ามซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีกและจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ไปขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้อันเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียและให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีกและจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ไปขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้อันเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียและให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224, 226 และ 249 กรณีข้อพิพาทเกินกรอบประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวของโจทก์ 2 ห้อง มีกำหนด 10 ปี ค่าเช่าห้องละ 100 บาทต่อเดือน บัดนี้ครบกำหนดสัญญาและโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมออก ขอให้ขับไล่และชำระค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท กับค่าเสียหายเดือนละ 200 บาท นับแต่วันฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์ 68,000 บาท โจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่ามีกำหนด 30 ปี ทำสัญญาไว้ 10 ปีก่อน และจะต่อสัญญาเช่าอีกครั้งละ 10 ปี จนครบ ขอให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับให้โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจดทะเบียนการเช่าให้จำเลย ดังนี้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่ให้เช่าอันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเดือนละ 200 บาท และเรียกค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไมได้ชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงไม่มีสัญญาต่างตอบแทนแก่กัน
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการต้องห้าม ซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีก และจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง ครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้ อันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสีย และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการต้องห้าม ซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีก และจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง ครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้ อันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสีย และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่ได้รับการรับรองการทำประโยชน์ ย่อมโอนได้เฉพาะสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้จะได้แจ้งการครอบครองแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ย่อมไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการ ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่ได้รับการรับรองการทำประโยชน์ตามกฎหมายที่ดิน สิทธิที่โอนได้คือสิทธิครอบครองเท่านั้น
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้จะได้แจ้งการครอบครองแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ย่อมไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีคดีอาญาและการสันนิษฐานว่าหนี้สินล้นพ้นตัวตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยออกเช็คชำระแก่โจทก์หลายฉบับ แล้วต้องหาคดีอาญาว่าออกเช็คไม่มีเงินจ่าย จำเลยหลบหนีหมายจับ เป็นการหลบหนีไม่ให้โจทก์ได้รับใช้หนี้อยู่ด้วยในตัวสันนิษฐานว่าหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการยกฟ้องจำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์ หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงและพบว่าจำเลยมิได้ประมาท
คดีที่โจทก์ฟ้องว่ารถชนกันเกิดจากการกระทำโดยประมาทของทั้งฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยคนใดบ้างหรือว่า ทั้งสองคนเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทด้วย ศาลอุทธรรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการทำร้ายร่างกายและการร่วมกระทำผิด กรณีแทงทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า
คดีที่โจทก์ฟ้องว่ารถชนกันเกิดจากการกระทำโดยประมาทของทั้งฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยคนใดบ้างหรือว่าทั้งสองคนเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทด้วย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายเล็กน้อย ไม่ถึงขั้นทำให้เกิดอันตรายต่อจิตใจ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
จำเลยตบปากโจทก์ 2 ครั้ง ต่อหน้าคนประมาณ 60 คนไม่มีบาดแผล เป็นแต่ริมฝีปากบนบวมใช้เวลารักษา 3 วัน บาดแผลของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของโจทก์ เหตุที่ให้เกิดอันตรายแก่จิตใจต้องขึ้นอยู่กับการกระทำของจำเลย ประกอบบาดแผลของโจทก์ผู้ถูกทำร้าย มิได้ขึ้นกับความรู้สึกของโจทก์ว่าเป็นการหยามน้ำใจต่อหน้าคนทั้งปวง หรือเป็นการทำร้ายจิตใจให้เกิดความหวาดหวั่นระแวงอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายเล็กน้อย (ตบปาก) ไม่ถึงขั้นทำให้เกิดอันตรายต่อจิตใจ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
จำเลยตบปากโจทก์ 2 ครั้ง ต่อหน้าคนประมาณ 60 คน ไม่มีบาดแผล เป็นแต่ริมฝีปากบนบวมใช้เวลารักษา 3 วัน บาดแผลของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่จิตใจของโจทก์ เหตุที่ให้เกิดอันตรายแก่จิตใจต้องขึ้นอยู่กับการกระทำของจำเลย ประกอบบาดแผลของโจทก์ผู้ถูกทำร้าย มิได้ขึ้นกับความรู้สึกของโจทก์ว่าเป็นการหยามน้ำใจต่อหน้าคนทั้งปวง หรือเป็นการทำร้ายจิตใจให้เกิดความหวาดหวั่นระแวงอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน: ผู้ออกตั๋วมีกำหนด 3 ปี แตกต่างจากเช็คและตั๋วแลกเงิน
อายุความฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนด 3 ปีตามมาตรา 1001ส่วนมาตรา 1002 เป็นกำหนดอายุความฟ้องคดีเช็คและตั๋วเงินสด(ในกรณีที่เป็นผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย)