พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปเป็นบานประตูหน้าต่างสำเร็จรูป ไม่ถือเป็นไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
บ้านประตูหน้าต่างของกลางมีตะปูขันเกลียว มีสลักยึดและไสกบประกอบขึ้นอย่างมั่นคง มีลักษณะอย่างเดียวกับบานประตูหน้าต่างที่มีขายทั่วไป แสดงให้เห็นเจตนาเพื่อจะใช้เป็นบานประตูหน้าต่างโดยเฉพาะ แม้ยังไม่ได้เซาะร่อง ติดกลอน และติดบานพับก็เป็นบานประตูหน้าต่างสำเร็จรูปแล้ว จึงเป็นเครื่องใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4(4) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 4
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากบุคคลภายนอกที่ทำให้ลูกจ้างบาดเจ็บ แม้ต้องจ่ายค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 19
เจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เพื่อมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 เป็นเครื่องมือยุยงส่งเสริมให้เกิดการร้าวฉานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำลายความเห็นใจและการประนีประนอมระหว่างกัน จึงกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนที่ลูกจ้างได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แม้มีผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างของโจทก์และโจทก์ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ผู้ทำละเมิดนั้นก็มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง และไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องผู้ละเมิดให้ชดใช้เงินค่าทดแทนที่โจทก์จ่ายไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินประเภทนี้เอาจากผู้ทำละเมิดนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19
เจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เพื่อมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 เป็นเครื่องมือยุยงส่งเสริมให้เกิดการร้าวฉานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำลายความเห็นใจและการประนีประนอมระหว่างกัน จึงกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนที่ลูกจ้างได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แม้มีผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างของโจทก์และโจทก์ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ผู้ทำละเมิดนั้นก็มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง และไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องผู้ละเมิดให้ชดใช้เงินค่าทดแทนที่โจทก์จ่ายไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินประเภทนี้เอาจากผู้ทำละเมิดนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้สินของกิจการสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ใช้เงินงบประมาณ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค.ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของ ร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้น แม้จะมิได้มีวัตถุประสงค์ในการค้า
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้น เพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้เข้าชมร้านกาแฟกับการสันนิษฐานการเล่นพนัน: การพิพากษาต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจน
เมื่อปรากฏว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็นร้านขายกาแฟ ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ จึงเป็นสาธารณสถาน ต้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 มาตรา 6 ตอนท้ายมิให้สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้เข้าเล่นพนันด้วย
คำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งของโจทก์ ชั้นพิจารณาจำเลยปฏิเสธ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่พอฟังว่าจำเลยจะกระทำความผิด จะฟังแต่คำรับของจำเลยชั้นสอบสวนมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งของโจทก์ ชั้นพิจารณาจำเลยปฏิเสธ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่พอฟังว่าจำเลยจะกระทำความผิด จะฟังแต่คำรับของจำเลยชั้นสอบสวนมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นพนันในที่สาธารณะ: การสันนิษฐานว่ามิได้เข้าเล่นพนัน และพยานหลักฐานที่ไม่พอฟัง
เมื่อปรากฏว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็นร้านขายกาแฟ ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ จึงเป็นสาธารณสถาน ต้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 มาตรา 6 ตอนท้ายมิให้สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้เข้าเล่นพนันด้วย
คำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งของโจทก์ ชั้นพิจารณาจำเลยปฏิเสธ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่พอฟังว่าจำเลยจะกระทำความผิด จะฟังแต่คำรับของจำเลยชั้นสอบสวนมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งของโจทก์ ชั้นพิจารณาจำเลยปฏิเสธ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่พอฟังว่าจำเลยจะกระทำความผิด จะฟังแต่คำรับของจำเลยชั้นสอบสวนมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาในคดีข่มขืนโทรมหญิง: กฎหมายใหม่ใช้บังคับกับเหตุการณ์ก่อนประกาศใช้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 เดิม ไม่มีข้อความซึ่งบัญญัติให้การกระทำโดยใช้อาวุธปืนและมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงมีโทษหนักขึ้นเหมือนอย่างที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมแล้วโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 7 จำเลยกับพวก ร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะโทรมหญิงก่อนใช้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ระหว่างพิจารณามีประกาศนั้นออกใช้ประกาศดังกล่าวข้อ 7ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงนำมาปรับบทแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาตามบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างบทเดิม ศาลใช้บทที่บังคับใช้ขณะกระทำผิดได้
จำเลยมีบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในต่างประเทศไว้ในครอบครองโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ อันเป็นความผิดตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 เมื่อโจทก์อ้างบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดมาท้ายฟ้องแล้ว แม้อ้างบทมาตราที่เป็นบทลงโทษไม่ถูกต้อง คืออ้างแต่มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2510 ซึ่งถูกยกเลิกแก้ไขใหม่แล้ว เมื่อปรากฏว่าขณะจำเลยกระทำผิดได้มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2512 มาตรา 17 ยกเลิกแก้ไขบทลงโทษมาตรา 49 ใหม่ ดังนี้ ศาลก็ลงโทษจำเลยด้วยระวางโทษที่กำหนดในบทมาตราที่แก้ไขใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาตามบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างบทเดิม ศาลใช้บทที่แก้ไขแล้วได้
จำเลยมีบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในต่างประเทศไว้ในครอบครองโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ อันเป็นความผิดตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 เมื่อโจทก์อ้างบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดมาท้ายฟ้องแล้ว แม้อ้างบทมาตราที่เป็นบทลงโทษไม่ถูกต้อง คืออ้างแต่มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบพ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2510ซึ่งถูกยกเลิกแก้ไขใหม่แล้ว เมื่อปรากฏว่าขณะจำเลยกระทำผิดได้มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2512 มาตรา 17ยกเลิกแก้ไขบทลงโทษมาตรา 49 ใหม่ ดังนี้ ศาลก็ลงโทษจำเลยด้วยระวางโทษที่กำหนดในบทมาตราที่แก้ไขใหม่ได้