พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของผู้ขายที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดินพร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปโจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาทดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441-443/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเกินส่วน-การจัดการมรดก: ผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 ทำพินัยกรรมเกินส่วนของตนในสินบริคณห์ พินัยกรรมนั้นมีผลเฉพาะส่วนของตนตามมาตรา1477
การเข้าเป็นผู้จัดการมรดกทำหลัง 1 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
การเข้าเป็นผู้จัดการมรดกทำหลัง 1 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเว้นจากการยินยอมแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ. พฤติการณ์ที่ บ. ได้อุปการะเลี้ยงดู กับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ถือได้ว่า บ. ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเสียจากการยินยอมแบ่งทรัพย์
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.พฤติการณ์ที่ บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูกับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ ถือได้ว่า บ.ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับสมาคมที่ใช้พื้นที่เป็นสำนักงานและไม่ได้ประกอบการค้า
สมาคมพาณิชย์อินเดียหรือหอการค้าอินเดีย โจทก์เป็นนิติบุคคล แม้การเข้าอยู่ในโรงเรือนของนิติบุคคลไม่อาจพึงเป็นได้เช่นบุคคลธรรมดา แต่การที่โจทก์มีคณะกรรมการบริหารดำเนินกิจการแทน และโจทก์ได้ใช้โรงเรือนเป็นสำนักงานและให้คนเฝ้ารักษา ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษาตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้ใช้โรงเรือนดังกล่าวขายอาหาร เครื่องดื่ม แก่สมาชิก และมีโต๊ะบิลเลียดให้สมาชิกเล่นนั้น ก็ปรากฏว่ามีระเบียบห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปเล่น และที่ว่าโจทก์ได้ให้เช่าสนามเล่นแบดมินตันด้วย ก็ยังฟังแน่นอนไม่ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวหาพอที่จะถือว่าโรงเรือนใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้โรงเรือนของนิติบุคคลเป็นสำนักงานและสถานที่ส่วนตัว ไม่ถือเป็นที่ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม จึงได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือน
สมาคมพาณิชย์อินเดียหรือหอการค้าอินเดีย โจทก์ เป็นนิติบุคคลแม้การเข้าอยู่ในโรงเรือนของนิติบุคคลไม่อาจพึงเป็นได้เช่นบุคคลธรรมดาแต่การที่โจทก์มีคณะกรรมการบริหารดำเนินกิจการแทน และโจทก์ได้ใช้โรงเรือนเป็นสำนักงานและให้คนเฝ้ารักษาย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษา ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้ใช้โรงเรือนดังกล่าวขายอาหาร เครื่องดื่ม แก่สมาชิก และมีโต๊ะบิลเลียดให้สมาชิกเล่นนั้น ก็ปรากฏว่ามีระเบียบห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปเล่น และที่ว่าโจทก์ได้ให้เช่าสนามเล่นแบดมินตันด้วย ก็ยังฟังแน่นอนไม่ได้พฤติการณ์ดังกล่าวหาพอที่จะถือว่าโรงเรือนใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมตามมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถว การบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งให้ชำระหนี้ก่อน
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวซึ่งแยกโฉนดเป็นแปลง ๆ แล้วจากจำเลยเพื่อขายเอากำไร โจทก์ขายที่ดินและตึกแถวตามสัญญาไป 12 ห้อง 12 โฉนด โดยโจทก์ติดต่อจำเลยให้ทำใบมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนขายแก่ผู้ซื้อเป็นคราว ๆ ไป และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยเป็นรายห้องตามที่ขายได้แล้วดังนี้เห็นได้ว่าแม้สัญญาจะได้กำหนดจำนวนห้องที่ซื้อ ขายและวันชำระเงินที่เหลือครั้งสุดท้ายระบุเป็นวันโอนโฉนดด้วยก็ดี แต่โจทก์จำเลยก็มิได้มีเจตนาถือจำนวนห้องกำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือและวันโอนโฉนดเป็นสารสำคัญ เพราะสัญญามิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระแก่ผู้ขายตามกำหนดและผู้ขายไม่มาโอน โฉนดในวันชำระเงินดังกล่าวแล้ว สัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีและเมื่อทำสัญญากันแล้วโจทก์ยังมีสิทธิที่จะเอาตึกแถวไปแบ่งขายและโอนโฉนดได้ก่อนเป็นห้อง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยยอมปฏิบัติไปตามสัญญาส่วนหนึ่งแล้วจำนวนเงินคงเหลือที่จะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงไม่แน่นอนชอบที่จะคิดเงินกันก่อน วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดหรือภายในระยะเวลาวันใดวันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 สัญญาจะซื้อขายรายนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 387 กล่าวคือ โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อนหากจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์จึงจะบอกเลิก สัญญาได้แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติเช่นนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม่ถือว่ามีสาระสำคัญ หากไม่ระบุเงื่อนไขการเลิกสัญญาชัดเจน และการบอกกล่าวเป็นหน้าที่ก่อนเลิกสัญญา
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวซึ่งแบ่งแยกโฉนดเป็นแปลง ๆ แล้วจากจำเลย เพื่อขายเอากำไร โจทก์ขายที่ดินและตึกแถวตามสัญญาไป 12 ห้อง 12 โฉนด โดยโจทก์ติดต่อจำเลยให้ทำใบมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนขายแก่ผู้ซื้อเป็นคราวๆ ไป และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยเป็นรายห้องตามที่ขายได้แล้วดังนี้ เห็นได้ว่าแม้สัญญาจะได้กำหนดจำนวนห้องที่ซื้อขายและวันชำระเงินที่เหลือครั้งสุดท้ายระบุเป็นวันโอนโฉนดด้วยก็ดี แต่โจทก์จำเลยก็มิได้มีเจตนาถือจำนวนห้อง กำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือและวันโอนโฉนดเป็นสารสำคัญ เพราะสัญญามิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระแก่ผู้ขายตามกำหนด และผู้ขายไม่มาโอนโฉนดในวันชำระเงินดังกล่าวแล้ว สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที และเมื่อทำสัญญากันแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิที่จะเอาตึกแถวไปแบ่งขายและโอนโฉนดได้ก่อนเป็นห้องๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยยอมปฏิบัติไปตามสัญญาส่วนหนึ่งแล้ว จำนวนเงินคงเหลือที่จะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงไม่แน่นอน ชอบที่จะคิดเงินกันก่อน วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนด หรือภายในระยะเวลาวันใดวันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 สัญญาจะซื้อขายรายนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 387 กล่าวคือ โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน หากจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติเช่นนั้น จึงไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เนื่องจากไม่มีหลักประกัน และการนำสืบหลักฐานการกู้จริง
จำเลยรับว่าได้เขียนจำนวนเงินในสัญญากู้ 9,000 บาทเพราะจำเลยไม่มีหลักประกัน ความจริงกู้ 2,000 บาทจำเลยนำสืบพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องตามเช็คยังคงมีอยู่
บันทึกของพนักงานสอบสวนมีความว่า "ต่อมาในวันนี้....... ได้เรียกนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง (คือจำเลยที่ 1) พร้อมกับนายไพบูลย์ แสงเจริญตระกูล (คือโจทก์) ทั้งสองฝ่ายมาสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 1 ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วทางฝ่ายนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง ได้รับว่าตนได้ขอยืมเงินสด จำนวน 50,000 บาท จากนายไพบูลย์ แสงเจริญตระกูล ไปจริงและได้ออกเช็คของธนาคารไทยพัฒนาทั้งสองฉบับ....... ไว้เป็นหลักค้ำประกันเงินที่ขอยืมไปจริง ในวันนี้ได้ทำการตกลงกันได้ความว่าทางฝ่ายนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง ยินยอมผ่อนชำระ ให้เป็นรายเดือน เดือนละ 2,000 บาท โดยจะนำเงินมาชำระให้ในวันที่ 15 ของทุก ๆ เดือนจนกว่าจะหมดจำนวน เงินที่ค้างอยู่ เห็นว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้จึงได้จัดทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน" ดังนี้ หาเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ เพราะมิได้กล่าวถึงการคืนเช็คหรือยกเลิกเพิกถอนเช็ค เป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น สิทธิและความรับผิดชอบระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามเช็คนั้นยังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามเช็คทั้งสองฉบับได้