คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธวัช สิทธิชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ระเบียบภายในของ รฟท. และสิทธิในการเบิกจ่ายเงินสืบสวนลับ
คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบในการวางแผนงานและหลักเกณฑ์ใช้จ่ายเงินงบประมาณในการสืบสวนลับใหม่ ถือได้ว่าเป็นระเบียบที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้วางไว้ตั้งแต่มีมติดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ถือว่าเป็นระเบียบอีก และตามมตินี้มิใช่เป็นเรื่องคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยวางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานที่จะให้ผู้ว่าการรถไฟทำอันเกี่ยวกับนิติกรรมแต่เป็นระเบียบที่วางไว้เป็นการภายในให้โจทก์ในฐานะผู้บังคับการตำรวจรถไฟ จะต้องหารือกับผู้ว่าการรถไฟก่อนถ้าจะทำตามแผนสืบสวนของกองตำรวจรถไฟ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา25(4) แห่ง พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ที่จะต้องให้รัฐมนตรีประกาศข้อบังคับนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจรถไฟได้ทราบระเบียบนี้แล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบใหม่เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าสืบสวนลับไปโดยผิดหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบใหม่ ย่อมเป็นการนอกเหนือหน้าที่อันโจทก์จะพึงปฏิบัติโจทก์จึงไม่มีสิทธิเบิกจ่ายเงินค่าสืบสวนลับดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาเช่าจากฉ้อฉล: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิ
ข้อต่อสู้ว่าลูกหนี้ทำสัญญาเช่าโดยถูกผู้ให้เช่าฉ้อฉลเป็นโมฆียะนั้น ผู้บอกล้างคือบุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 137 ซึ่งไม่รวมถึงผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันผู้เช่ายกขึ้นต่อสู้ผู้ให้เช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 ข้อ 7 ว่า 'การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ สองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนเดือนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท ' ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท นั้น จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยแต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงบริษัทประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน แม้ฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ข้อ 7 ว่า "การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท..............." ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายและค่าขึ้นศาลในคดีเลิกทรัสต์-มรดก: คำนวณตามงานที่ทำและทุนทรัพย์ที่ชนะ
ค่าจ้างทนายความเป็นที่ปรึกษาการเลิกทรัสต์และแบ่งมรดก กับร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมิได้ตกลงกำหนดไว้ ศาลกำหนดให้ได้ตามที่เห็นสมควรกับงานที่ทำ ไม่ใช่ตามส่วนของทุนทรัพย์หรือเบี้ยประชุมกรรมการของทางราชการ
โจทก์มีส่วนชนะคดี ศาลให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียม แต่ส่วนค่าขึ้นศาลนั้นศาลให้จำเลยใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่ชนะค่าทนายความที่ให้จำเลยใช้แทนคิดตามส่วนของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่ใช่ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต้องมีข้อตกลงที่แน่นอน การก่อสร้างก่อนสัญญาไม่ผูกพันคู่สัญญา
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะก่อสร้างดำเนินกิจการโรงแรมและสำนักงานทันสมัยและมีความประสงค์จะให้ธนาคารตั้งที่ทำการในอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จะสร้างขึ้นนั้นด้วย จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ จดทะเบียน มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย เมื่อโจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารได้เสนอให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทย ผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยได้ไปดูสถานที่ที่โจทก์เสนอให้เช่า แล้วมีการเจรจากัน ต่อมาผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยมีหนังสือยืนยันว่าธนาคารจำเลยประสงค์จะเช่าอาคารของโจทก์ตามที่เจรจากัน แต่ขอให้โจทก์แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่โจทก์ได้แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมไป ธนาคารจำเลยได้ขอร้องให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างอีกหลายอย่าง โจทก์ก็จัดการให้ ทั้งนี้ โดยโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า อำนาจในการเช่าอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารจำเลย หาใช่อยู่ในอำนาจของผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยไม่ดังนี้ แม้ผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยจะเป็นตัวแทนสำนักงานใหญ่ติดต่อเช่าอาคารพิพาทก็ตาม แต่โจทก์จำเลยยังมิได้ตกลงกันในเรื่องราคาค่าเช่าเป็นที่แน่นอนซึ่งจำเลยถือเป็นข้อสาระสำคัญอันจะต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน และผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยก็ยังมิได้รับอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ให้เช่าอาคารพิพาทด้วยจึงถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกัน แม้โจทก์จะได้ก่อสร้างอาคารไปตามที่ผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยกำหนดหรือแก้ไขแบบแปลนในระหว่างเจรจากันก็เป็นเรื่องที่โจทก์กระทำไปเพื่อจูงใจให้ธนาคารจำเลยเช่าอาคารพิพาทหรือเชื่อว่าสำนักงานใหญ่ธนาคารจำเลยจะอนุมัติให้เช่าอาคารพิพาท โจทก์จึงจะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากละเมิดทางรถยนต์: ผลโดยตรงของการชนและการคิดดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
โจทก์รับจ้างขนส่งยางรถยนต์ของบริษัท ย. โดยมอบหมายให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.รับขนส่งให้อีกทอดหนึ่ง ฉ.ลูกจ้างของจำเลยขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยโดยประมาท เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.ที่บรรทุกยางรถยนต์ดังกล่าวแล่นสวนทางมา ทำให้ยางรถยนต์ที่บรรทุกมาตกลงไปจากรถ แล้วถูกคนร้ายลักไป โจทก์ได้ชำระราคายางรถยนต์ที่สูญหายให้แก่บริษัท ย.ไปแล้ว ดังนี้ เห็นได้ว่า การที่ยางรถยนต์ถูกคนร้ายลักไป เกิดขึ้นเพราะความผิดของ ฉ.คนขับรถของจำเลยที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถบรรทุกยาง ซึ่งถ้าไม่ชน ก็คงไม่ถูกคนร้ายลักในที่เกิดเหตุการณ์สูญหายของยางรถยนต์ จึงเป็นผลโดยตรงจากการละเมิด จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในผลแห่งละเมิดของ ฉ.คนขับรถของจำเลยที่ชนรถบรรทุกยางรถยนต์
โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท ย.ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนสินไหมทดแทน นับแต่วันที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ย.ไป จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จ่ายไปตั้งแต่วันละเมิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุและการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
โจทก์รับจ้างขนส่งยางรถยนต์ของบริษัท ย. โดยมอบหมายให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.รับขนส่งให้อีกทอดหนึ่ง ฉ.ลูกจ้างของจำเลยขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยโดยประมาท เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.ที่บรรทุกยางรถยนต์ดังกล่าวแล่นสวนทางมา ทำให้ยางรถยนต์ที่บรรทุกมาตกลงไปจากรถ แล้วถูกคนร้ายลักไป โจทก์ได้ชำระราคายางรถยนต์ที่สูญหายให้แก่บริษัท ย.ไปแล้ว ดังนี้เห็นได้ว่า การที่ยางรถยนต์ถูกคนร้ายลักไป เกิดขึ้นเพราะความผิดของ ฉ.คนขับรถของจำเลยที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถบรรทุกยาง ซึ่งถ้าไม่ชน ก็คงไม่ถูกคนร้ายลักในที่เกิดเหตุการสูญหายของยางรถยนต์ จึงเป็นผลโดยตรงจากการละเมิด จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในผลแห่งละเมิดของ ฉ.คนขับรถของจำเลยที่ชนรถบรรทุกยางรถยนต์
โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท ย. ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนค่าสินไหมทดแทน นับแต่วันที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ย.ไป จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จ่ายไปตั้งแต่วันละเมิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786-1787/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าต้องลงมือจนสำเร็จ และกฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข
จำเลยเพียงแต่ชักปืนจากเอว ยังไม่ทันได้ยกจ้องยิงไปทางผู้เสียหาย ก็ถูกผู้เสียหายใช้สันมีดตีศีรษะจนปืนหลุดจากมือ การลงมือจึงยังไม่เริ่มต้นขึ้น จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด นำไปขอรับอนุญาตหรือนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้แล้วแต่กรณีภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างเวลา 90 วัน ก็ต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลานี้ กฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่จำเลยแล้ว ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ และไม่ริบของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเบิกความเท็จต่อศาล: การบรรยายฟ้องต้องระบุความขัดแย้งระหว่างคำเบิกความกับคำให้การในชั้นสอบสวน
บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นพยานโจทก์ในคดีปล้นทรัพย์เบิกความเท็จต่อศาลว่าจำคนร้ายไม่ได้ อันเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งความจริงจำเลยเคยให้การในฐานะพยานในชั้นสอบสวนว่าจำคนร้ายได้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวให้ปรากฏชัดว่าความจริงเป็นดังที่จำเลยเบิกความหรือเป็นดังที่จำเลยให้การ ก็ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ ส่วนความจริงเป็นดังที่จำเลยได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนนั่นเอง และในคดีอาญาเรื่องปล้นทรัพย์ คำเบิกความของพยานในข้อที่ว่าจำคนร้ายได้หรือไม่นั้น ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดี คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ที่สมบูรณ์แล้ว
of 17