คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1269

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (บริษัท) แทนการหมายเรียกเข้าศาล และการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้นเพื่อชำระหนี้ภาษี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของ ลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มี โอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์ไม่ทั้งไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดี โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก็เนื่องจาก ศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กรณีดังกล่าวหาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ดังนี้การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณา ตั้งแต่ให้จำเลยทั้งหมดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้แทนการขอหมายเรียก และอายุความการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วยก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)จึงถือได้ว่า มีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการหมายเรียก และอายุความการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน
ป.พ.พ.มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์และไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้ว จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ให้จำเลยทั้งแปดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเว้นการชำระภาษีอากรหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดในหนี้ภาษี
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาท แต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง 124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าวนี้ บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75บาท การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้น จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาท ไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ล้มละลาย ไม่ล่วงล้ำจัดการทรัพย์สินนิติบุคคลแยกต่างหาก
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา24และมาตรา22ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่3ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นหาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่3มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้แม้จำเลยที่3จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นจำกัดพ. ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1269เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่3ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่สามารถล่วงล้ำไปยังทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือนิติบุคคลอื่นได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา 24 และมาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 3 มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ แม้จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1269 เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีแบ่งคืนทรัพย์สินให้ผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ข้อพิพาทภาษีโดยตรง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการคำนวณเงินเพิ่มเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินหลังชำระบัญชี ห้างมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ออกเงินไถ่ถอนจำนองได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ. แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไปโจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่ ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ. จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรมข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อ บทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองเมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วแม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินพร้อมไถ่ถอนจำนองหลังชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนไม่ตกเป็นโมฆะ แม้มีปัญหาการชำระหนี้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ.แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
of 5