คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ วังตาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนและการขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการหากพ้นกำหนด
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราวๆไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาข้อเท็จจริง: อายุความเช็ค - การอ้างข้อเท็จจริงใหม่นอกเหนือจากที่ศาลล่างวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันมาว่า เช็คพิพาทลงวันที่ 23 ธันวาคม 2519 โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 คดียังไม่ขาดอายุความ จำเลยฎีกาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ลงวันที่ มอบให้บิดาโจทก์ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 แล้ว ดังนี้ ปัญหาว่าเช็คถึงกำหนดเมื่อไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาในฎีกาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทตั้งแต่ พ.ศ.2508 เป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากศาลล่างวินิจฉัยไว้เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความอีกทีหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเพื่อฉ้อโกง ศาลลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว
จำเลยปลอมเอกสารแล้วนำเอกสารปลอมนั้นมาใช้โดยสุจริตเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินกู้จากผู้อื่นอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ด้วยนั้น เป็นความผิดในการกระทำกรรมเดียวต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตาม มาตรา 268 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงกระทงเดียวตาม มาตรา 90
จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งคำขอและสัญญากู้เงินจากกรมตำรวจอันประกอบด้วยความเห็นของผู้บังคับบัญชารับรองว่าผู้กู้มีความเดือดร้อนและจำเป็นจริงควรให้กู้ได้เป็นกรณีพิเศษพร้อมด้วยบันทึกของผู้บังคับบัญชาซึ่งยอมเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้รายนี้ หนังสือที่จำเลยทำปลอมขึ้นนี้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อให้เกิดสิทธิแก่ทางราชการกรมตำรวจที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้และผู้ค้ำประกันชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตาม มาตรา 266(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ: การข่มขู่หลอกลวงและการบอกเลิกสัญญา
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลามโจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงให้ร่วมลงชื่อในสัญญาดังกล่าว นี้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการ จำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ: การข่มขู่หลอกลวงและการบอกเลิกสัญญา
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลามโจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงให้ร่วมลงชื่อในสัญญาดังกล่าวนี้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการ จำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกตามศาสนาอิสลาม: การบอกเลิกสัญญาและการข่มขู่หลอกลวง
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบัญญัติของศาลนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยการที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลาม โจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อในสัญญานี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ และการแก้ไขสัญญาไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงใหม่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สินตามกฎหมาย
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางทางสาธารณะที่ใช้ประโยชน์มานาน แม้จะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลย จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
ทางพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลย แต่ใช้เป็นทางสัญจรมา50-60 ปี เป็นทางสาธารณะ จำเลยนำเสาไปปักขวาง นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายออกคำสั่งให้จำเลยถอนเสาไม้ออกไป จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบข้าวสาร: ความผิดฐานละเว้นรายงานการค้าข้าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความผิด
ตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 มาตรา 21 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489 มาตรา 12 บัญญัติว่า "ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดตลอดจนสิ่งที่ใช้บรรจุให้ริบเสีย" นั้น คำว่า "ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด" นี้จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรง จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว ความผิดของจำเลยอยู่ที่การละเว้นไม่ทำรายงานเท่านั้น ข้าวของกลางไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 491/2510)
of 33