พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิครอบครอง แม้จะซื้อโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ครอบครองดูแลแทน จำเลยที่ 1 แอบไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแล้วโอนขายให้จำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ดังนี้ แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต แต่ถ้าได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงครอบครองดูแลแทน ได้ไปขอออก น.ส.3 ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยไม่ชอบจริงตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ก็ไม่กลายเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จะได้รับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จะอ้างความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 หาได้ไม่ คดีจึงจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดถืออยู่ในฐานะผู้แทนโจทก์จริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องหรือไม่ ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทและการโอนสิทธิโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิแม้จะเสียค่าตอบแทน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ครอบครองดูแลแทน จำเลยที่ 1 แอบไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแล้วโอนขายให้จำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นดังนี้ แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต แต่ถ้าได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงครอบครองดูแลแทน ได้ไปขอออกน.ส.3 ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยไม่ชอบจริงตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ก็ไม่กลายเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จะได้รับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจะอ้างความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 หาได้ไม่คดีจึงจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดถืออยู่ในฐานะผู้แทนโจทก์จริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องหรือไม่ ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางโดยมิสุจริต ผู้ขอไม่ใช่ผู้เสียหายจริงแต่เพื่อประโยชน์ผู้กระทำผิด ศาลไม่ควรสั่งคืน
ผู้ร้องให้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ อ. ระหว่าง อ. ส่งชำระค่าเช่าซื้อเหลืออีก 8 งวด จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปขนไม้เถื่อนด้วยความรู้เห็นของ อ. ผู้ร้องประสงค์เพียงค่าเช่าซื้อที่ค้าง ส่วนการขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีนี้แท้จริงเป็นความประสงค์ของ อ. ผู้ร้องยอมให้ อ. ใช้ชื่อผู้ร้องบังหน้าในการขอคืนของกลาง ดังนี้ ถือว่าเป็นการขอคืนของกลางเพื่อประโยชน์ของ อ. ผู้รู้เห็นในการกระทำความผิด กรณีไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งคืนให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางต้องสุจริต ผู้ขอคืนต้องเป็นผู้เสียหายจริง มิใช่ตัวแทนผู้กระทำผิด
ผู้ร้องให้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ อ.ระหว่างอ.ส่งชำระค่าเช่าซื้อเหลืออีก 8 งวด จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปขนไม้เถื่อนด้วยความรู้เห็นของอ.ผู้ร้องประสงค์เพียงค่าเช่าซื้อที่ค้างคืนส่วนการขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีนี้แท้จริงเป็นความประสงค์ของ อ. ผู้ร้องยอมให้ อ.ใช้ชื่อผู้ร้องบังหน้าในการขอคืนของกลาง ดังนี้ถือว่าเป็นการขอคืนของกลางเพื่อประโยชน์ของ อ.ผู้รู้เห็นในการกระทำความผิดกรณีไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งคืนให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรมก่อนกำหนด ไม่ลบล้างความรับผิด กองมรดกยังคงต้องรับผิดตามเช็ค
การสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้านั้นหมายความเพียงว่า ผู้ทรงมีสิทธิเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารได้ต่อเมื่อถึงวันที่กำหนดในเช็คเท่านั้น แม้ผู้สั่งจ่ายจะถึงแก่กรรมไปก่อนวันเช็คถึงกำหนด ก็หาทำให้ผุ้สั่งจ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็คนั้นหลุดพ้นความรับผิดไปได้ไม่ หน้าที่และความรับผิดตามเช็คนั้นย่อมยังคงตกอยู่แก่กองมรดกของผู้สั่งจ่ายนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ความรับผิดของกองมรดกผู้สั่งจ่าย แม้ผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรมก่อนเช็คถึงกำหนด
การสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้านั้นหมายความเพียงว่าผู้ทรงมีสิทธิเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารได้ต่อเมื่อถึงวันที่กำหนดในเช็คเท่านั้น แม้ผู้สั่งจ่ายจะถึงแก่กรรมไปก่อนวันเช็คถึงกำหนด ก็หาทำให้ผู้สั่งจ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็คนั้นหลุดพ้นความรับผิดไปได้ไม่ หน้าที่และความรับผิดตามเช็คนั้นย่อมยังคงตกอยู่แก่กองมรดกของผู้สั่งจ่ายนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูหลังหย่า มีผลผูกพัน แม้จะบอกล้างภายหลังไม่ได้
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันและจำเลยยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูให้โจทก์ 50,000 บาท ปรากฏในบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจภูธร อำเภอชุมแพ บันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นทั้งสัญญาหย่าและสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์เมื่อหย่ากันแล้ว และคู่กรณีอาจตกลงกันให้ชำระค่าเลี้ยงชีพครั้งเดียวเป็นจำนวนเงินตามที่ตกลงกันได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพ 50,000 บาทให้โจทก ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้นั้น
สัญญาที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 50,000 บาทนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 ซึ่งหมายถึงเงินเลี้ยงชีพหลังจากที่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว จึงไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภรรยากันตามมาตรา 1469 จำเลยไม่มีสิทธิอ้างมาตรานั้นมาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้
สัญญาที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 50,000 บาทนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 ซึ่งหมายถึงเงินเลี้ยงชีพหลังจากที่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว จึงไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภรรยากันตามมาตรา 1469 จำเลยไม่มีสิทธิอ้างมาตรานั้นมาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเลี้ยงดูหลังหย่า: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จะบอกล้างสัญญาอื่นไม่ได้
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันและจำเลยยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูให้โจทก์ 50,000 บาท ปรากฏในบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพ บันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นทั้งสัญญาหย่าและสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์เมื่อหย่ากันแล้ว และคู่กรณีอาจตกลงกันให้ชำระค่าเลี้ยงชีพครั้งเดียว เป็นจำนวนเงินตามที่ตกลงกันได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพ 50,000 บาทให้โจทก์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้นั้น
สัญญาที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 50,000 บาทนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 ซึ่งหมายถึงเงินเลี้ยงชีพหลังจากที่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว จึงไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภรรยากันตามมาตรา 1469 จำเลยไม่มีสิทธิอ้างมาตรานั้นมาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้
สัญญาที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 50,000 บาทนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 ซึ่งหมายถึงเงินเลี้ยงชีพหลังจากที่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว จึงไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภรรยากันตามมาตรา 1469 จำเลยไม่มีสิทธิอ้างมาตรานั้นมาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายและสิทธิยึดหน่วงการครอบครอง: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้
โจทก์ตกลงขายบ้านให้จำเลยโดยรับเงินค่าบ้านมาเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยขอผัดผ่อนจะจดทะเบียนโอนกันวันหลัง แต่ได้มอบการครอบครองบ้านให้จำเลยนั้น ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขายสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวนี้ย่อมผูกพันโจทก์อยู่ จำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านพิพาทของโจทก์ในฐานะผู้ซื้อ และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยบ้านซึ่งครอบครองนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงบ้านหลังนั้นไว้ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหาย: รู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด
อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขตั้งกรรมการสอบสวนกรณียักยอกเงินคณะกรรมการเปรียบเสมือนเครื่องมือของกรม ถือว่ากรมรู้ตัวผู้รับผิดในวันที่คณะกรรมการรายงานให้กรมทราบ ซึ่งเป็นวันที่ 10 มิถุนายน 2518 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2519 คดีขาดอายุความตาม มาตรา 448 การที่อธิบดียังไม่ได้พิจารณารายงานและให้กองนิติการพิจารณาให้ความเห็นอีก ก็ไม่เป็นเหตุที่จะกล่าวว่ากรมซึ่งผู้รักษาการแทนอธิบดีเป็นผู้แทนนิติบุคคลอยู่ยังไม่รู้ตัวผู้ต้องรับผิด