คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ วังตาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเหนือกว่า พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา แม้จะเข้าข่ายการเช่า
โจทก์ไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีอาญากับจำเลยฐานบุกรุกแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์ยอมให้จำเลยทำประโยชน์ในที่พิพาทต่อไปอีกหนึ่งปี โดยจำเลยยอมจ่ายค่าเช่าให้โจทก์ 4,000 บาท ดังนี้ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จะอ้างพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 5 มาเพื่อขยายเวลาเช่าออกไปเป็น 6 ปีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทผู้ค้ำประกันต่อหนี้ทุนและเบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้ องค์ประกอบการใช้สิทธิของเจ้าหนี้
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ.ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญา ต. ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ต.ได้ แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม้ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ.ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อและสัญญาค้ำประกันที่ ต.ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1 ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขต โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ.ลูกหนี้ของโจกท์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขดลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่มมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทผู้ค้ำประกันต่อเจ้าหนี้ แม้ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งมรดก และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ. ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญาด.ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ได้. แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ. ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่พ.ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกันที่ ด. ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขตโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ. ลูกหนี้ของโจทก์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขอลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่งมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการดำเนินการตามกฎหมาย แม้ไม่ไต่สวนคำร้องก็ไม่ขัดต่อกระบวนการ
จำเลยยังคงมีสำนักงานทำการค้าขายอยู่ที่ตึกแถวพิพาท การส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องก็ส่งให้จำเลย ณ ตึกแถวพิพาททั้งก็เป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว จึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยอีก ไม่ขัดกับกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการดำเนินการตามกฎหมาย โดยศาลไม่ต้องไต่สวนคำร้องเพิ่มเติมหากจงใจขาดนัด
จำเลยยังคงมีสำนักงานทำการค้าขายอยู่ที่ตึกแถวพิพาทการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องก็ส่งให้จำเลย ณ ตึกแถวพิพาททั้งก็เป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองมิได้บังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนเมื่อจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว จึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยอีก ไม่ขัดกับกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบเด็กได้ แม้ยังไม่มีคำพิพากษา
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองประโยชน์โจทก์ระหว่างพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลมีอำนาจสั่งให้ส่งมอบเด็กได้ แม้ไม่ต้องรอรายงานเจ้าพนักงานคุมประพฤติ
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คดีแพ่ง ให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้น อยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบร่วมจากก่อสร้างก่อนขออนุญาต และความเสียหายจากแบบแปลนที่ไม่ตรงกัน
โจทก์จ้างจำเลยก่อสร้างอาคารโดยให้จำเลยลงมือก่อสร้างไปก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากเทศบาล ต่อมาแบบแปลนที่เทศบาลอนุญาตนั้น มีรายการผิดไปจากที่ได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว โจทก์จำเลยต้องร่วมกันเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการก่อสร้างผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซ้ำเกี่ยวกับกัญชาหลัง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มีผลเพิ่มโทษจำเลยได้
จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซ้ำกันถึง 2 ครั้ง ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อนแม้ว่าโทษครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาแต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชาทั้งฉบับแล้วนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษโดยให้ถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้ที่มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดฉะนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในคดีก่อนและคดีหลังจึงต้องถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วยกันจึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ: ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างการละเว้นหน้าที่กับความเสียหาย
การที่ข้าราชการละเว้นไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางวินัยก็จริงแต่จะถือเป็นหลักแน่นอนตายตัวว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยแล้วต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เสมอไปหาได้ไม่ การที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยกระทำผิดวินัยนั้นเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยรับราชการเป็นครู อาจารย์ใหญ่ได้ออกคำสั่งแต่ตั้งจำเลยเป็นครูเวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ควบคุมคนยามมิให้ละทิ้งหน้าที่แต่ต้องมาอยู่เวร ที่โรงเรียน และนอนในห้องที่โรงเรียนจัดไว้ คืนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้มาอยู่เวร คงมีแต่ภารโรงทำหน้าที่เป็นคนยาม ระหว่างอยู่ยามรักษาการณ์คนยามได้หลับยาม คนร้ายจึงได้งัดเข้าไปลักทรัพย์ในโรงงานที่ 4 และ ที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ห่างที่ครูเวรนอนออกไปถึง 50 เมตร และ 250 เมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้อยู่เวรจะล่วงรู้ได้ ถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นได้ เพราะไม่มีหน้าที่เป็นคนยามตรวจตราเฝ้าขโมย การที่โรงเรียนถูกลักทรัพย์ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่มาอยู่เวร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด
of 33