พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ: ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างการละเว้นหน้าที่กับความเสียหาย
การที่ข้าราชการละเว้นไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางวินัยก็จริงแต่จะถือเป็นหลักแน่นอนตายตัวว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยแล้วต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เสมอไปหาได้ไม่ การที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยกระทำผิดวินัยนั้นเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยรับราชการเป็นครู อาจารย์ใหญ่ได้ออกคำสั่งแต่ตั้งจำเลยเป็นครูเวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ควบคุมคนยามมิให้ละทิ้งหน้าที่แต่ต้องมาอยู่เวร ที่โรงเรียน และนอนในห้องที่โรงเรียนจัดไว้ คืนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้มาอยู่เวร คงมีแต่ภารโรงทำหน้าที่เป็นคนยาม ระหว่างอยู่ยามรักษาการณ์คนยามได้หลับยาม คนร้ายจึงได้งัดเข้าไปลักทรัพย์ในโรงงานที่ 4 และ ที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ห่างที่ครูเวรนอนออกไปถึง 50 เมตร และ 250 เมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้อยู่เวรจะล่วงรู้ได้ ถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นได้ เพราะไม่มีหน้าที่เป็นคนยามตรวจตราเฝ้าขโมย การที่โรงเรียนถูกลักทรัพย์ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่มาอยู่เวร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด
จำเลยรับราชการเป็นครู อาจารย์ใหญ่ได้ออกคำสั่งแต่ตั้งจำเลยเป็นครูเวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ควบคุมคนยามมิให้ละทิ้งหน้าที่แต่ต้องมาอยู่เวร ที่โรงเรียน และนอนในห้องที่โรงเรียนจัดไว้ คืนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้มาอยู่เวร คงมีแต่ภารโรงทำหน้าที่เป็นคนยาม ระหว่างอยู่ยามรักษาการณ์คนยามได้หลับยาม คนร้ายจึงได้งัดเข้าไปลักทรัพย์ในโรงงานที่ 4 และ ที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ห่างที่ครูเวรนอนออกไปถึง 50 เมตร และ 250 เมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้อยู่เวรจะล่วงรู้ได้ ถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นได้ เพราะไม่มีหน้าที่เป็นคนยามตรวจตราเฝ้าขโมย การที่โรงเรียนถูกลักทรัพย์ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่มาอยู่เวร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินร่วมกันโดยมิได้ครอบครองโดยปรปักษ์ และการแบ่งมรดก
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าเป็นญาติพี่น้องกัน มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของร่วมกันโดยได้รับมรดกมา แล้วต่างก็ครอบครองทำกินกันมาเกิน 10 ปี เมื่อมีการขายที่ดินบางส่วนให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อ ประโยชน์ของกรมชลประทานโจทก์จำเลยทุกคนก็ได้รับเงินค่าขายที่ดิน เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกัน ไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ แม้ครอบครองมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามส่วนที่ครอบครอง ต้องแบ่งที่ดินกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกมา
จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาท เมื่อต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกันมาเช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาท เมื่อต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกันมาเช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินร่วมกันและการแบ่งมรดก ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าเป็นญาติพี่น้องกัน มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของร่วมกันโดยได้รับมรดกมา แล้วต่างก็ครอบครองทำกินกันมาเกิน 10 ปี เมื่อมีการขายที่ดินบางส่วน ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์ของกรมชลประทาน โจทก์จำเลยทุกคนก็ได้รับเงินค่าขายที่ดิน เห็นได้ว่า โจทก์จำเลยต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกัน ไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ แม้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามส่วนที่ครอบครอง ต้องแบ่งที่ดินกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกมา
จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้ง สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาทเมื่อต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกันเช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้ง สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาทเมื่อต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกันเช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามมาตรา 1382 กรณีวัดได้รับที่ดินยกให้ก่อนจดทะเบียนเป็นวัด
วัดโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ยังเป็นเสนาสนะอันมีพระสงฆ์พำนักอยู่เป็นประจำและยังไม่มีประกาศของกระทรวงศึกษาธิการตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อนับเวลาดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาตั้งแต่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีวัดโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม มาตรา 1382
ถ้อยคำว่า 'วัดสุคันธารามหรือวัดหนองชะอม โดยพระอธิการเจริญจากวโรเจ้าอาวาสขอมอบให้จ่าสิบเอกนิติอิ่มจิตต์เป็นผู้มีอำนาจฟ้อง' นั้นถูกต้องชัดเจน แต่ข้อความว่าพระอธิการเจริญ เจ้าอาวาสวัดสุคันธารามมอบอำนาจให้จ่าสิบเอกนิติฟ้องจำเลยในคดีแพ่งเรื่องธรณีสงฆ์ก็เข้าใจได้ว่ามอบอำนาจในฐานะผู้แทนนิติบุคคล มิได้แสดงว่าพระอธิการเจริญมอบอำนาจในฐานะส่วนตัว
ถ้อยคำว่า 'วัดสุคันธารามหรือวัดหนองชะอม โดยพระอธิการเจริญจากวโรเจ้าอาวาสขอมอบให้จ่าสิบเอกนิติอิ่มจิตต์เป็นผู้มีอำนาจฟ้อง' นั้นถูกต้องชัดเจน แต่ข้อความว่าพระอธิการเจริญ เจ้าอาวาสวัดสุคันธารามมอบอำนาจให้จ่าสิบเอกนิติฟ้องจำเลยในคดีแพ่งเรื่องธรณีสงฆ์ก็เข้าใจได้ว่ามอบอำนาจในฐานะผู้แทนนิติบุคคล มิได้แสดงว่าพระอธิการเจริญมอบอำนาจในฐานะส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแบ่งที่ดินตามสัดส่วนการครอบครองสำคัญกว่าเนื้อที่ตามโฉนด สัญญาประนีประนอมยอมความต้องผูกพันตามเจตนาที่แท้จริง
โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่พิพาทมาจาก ช. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมกับจำเลยแล้วโจทก์ครอบครองที่พิพาทส่วนทางทิศเหนือตามที่ ช. เจ้าของเดิมครอบครองมา ส่วนจำเลยครอบครองทางทิศใต้โดยถือเอาคันสวนเป็นแนวเขต ต่อมาโจทก์จำเลยได้ ทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมีความว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ออกจากกันทางทิศใต้แบ่งเป็นของจำเลยให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่ง ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของโจทก์ บันทึก ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับกันได้
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่าโจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรังวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่าคู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่าโจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรังวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่าคู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแบ่งที่ดินตามส่วนการครอบครองเดิมสำคัญกว่าเนื้อที่จริง ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่พิพาทมาจาก ข. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยแล้ว โจทก์ครอบครองที่พิพาทส่วนทางทิศเหนือตามที่ ข. เจ้าของเดิมครอบครองมา ส่วนจำเลยครอบครองทางทิศใต้โดยถือเอาคันสวนเป็นแนวเขต ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมีความว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ออกจากกัน ทางทิศใต้แบ่งเป็นของจำเลยให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่ง ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของโจทก์ บันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับกันได้
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่า โจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรับวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่า โจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรับวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1832/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียวกัน: ขนย้ายข้าวสารเหนียมออกนอกเขตห้าม แม้ใช้รถหลายคัน
จำเลยต้องการขนย้ายข้าวสารเหนียมออกนอกเขตห้ามขนย้ายข้าว จึงว่าจ้างรถบรรทุก 2 คัน บรรทุกข้าวดังกล่าวคนละ 100 กระสอบ แล้วจำเลยขับรถของจำเลยนำหน้ารถบรรทุกทั้งสองคันไป การกระทำผิดของจำเลยเป็นการขนย้ายข้าวสารเหนียม 200 กระสอบ ออกนอกเขตห้ามขนย้ายข้าวในครั้งเดียวกัน แม้จะบรรทุกไปในรถบรรทุก 2 คัน ๆ ละ 100 กระสอบ และคนขับรถบรรทุกคันนั้น จะได้สมคบกันหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว มิใช่ว่าจะต้องแยกการกระทำของจำเลยไปตามจำนวนรถที่ขนย้ายข้าวหรือตามจำนวนคนขับรถซึ่งขับรถเหล่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1832/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดเดียวกัน: ขนย้ายข้าวสารเหนียวออกนอกเขตห้าม แม้ใช้รถหลายคัน
จำเลยต้องการขนย้ายข้าวสารเหนียวออกนอกเขตห้ามขนย้ายข้าวจึงว่าจ้างรถบรรทุก 2 คันบรรทุกข้าวดังกล่าวคันละ 100 กระสอบ แล้วจำเลยขับรถของจำเลยนำหน้ารถบรรทุกทั้งสองคันไป การกระทำผิดของจำเลยเป็นการขนย้ายข้าวสารเหนียว 200 กระสอบออกนอกเขตห้ามขนย้ายข้าวในครั้งเดียวกัน แม้จะบรรทุกไปในรถบรรทุก 2 คัน ๆ ละ 100 กระสอบ และคนขับรถบรรทุกสองคันนั้นจะได้สมคบกันหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว มิใช่ว่าจะต้องแยกการกระทำของจำเลยไปตามจำนวนรถที่ขนย้ายข้าวหรือตามจำนวนคนขับรถซึ่งขับรถเหล่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ต่อภารยทรัพย์ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของร่วม
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญาขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารยทรัพย์: เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย