คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบัติ วังตาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้: สิทธิจำนองเกิดขึ้นเมื่อจดทะเบียนเท่านั้น แม้มีการตกลงกันก่อนหน้า
โจทก์จำเลยตกลงกันจะให้มีการจำนองที่ดินตามโฉนดของโจทก์เป็นประกันหนี้ เมื่อยังไม่มีการจำนอง จำเลยก็ยังไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของโจทก์ และไม่มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดหน่วงโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้: สิทธิของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อมีการจำนองที่จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
โจทก์จำเลยตกลงกันจะให้มีการจำนองที่ดินตามโฉนดของโจทก์เป็นประกันหนี้เมื่อยังไม่มีการจำนอง จำเลยก็ยังไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของโจทก์ และไม่มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172-1173/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจัดการโอนทรัพย์ซ้ำไม่ได้
เดิมจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยโจทก์ตกลงจะไปโอนที่ดิน 3 แปลง ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการใช้หนี้ให้ภายในกำหนด 5 วัน ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์จึงถูกผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ต่อมาโจทก์จัดการโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 2 โอนต่อไปให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 จัดการโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 กลับคืนให้โจทก์อีกย่อมมีผลเท่ากับว่าโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาโดยฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา138 และมาตรา 145 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การคดีแพ่ง & บัญชีระบุพยานรวมสำนวนอาญา-แพ่ง ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดภายในเวลา (15 วัน) ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 นั้น มาตรานี้เพียงแต่ให้ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งจำหน่าย โจทก์ยื่นคำขอเรื่องขาดนัดได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งมาในสำนวนเดียวกันกับได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว โดยมิได้เจาะจงว่าจะให้เป็นบัญชีพยานในคดีส่วนอาญาหรือส่วนแพ่ง จึงต้องถือว่าเป็นบัญชีระบุพยานของคดีนี้ตลอดเรื่อง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานส่วนอาญาฉบับหนึ่ง และส่วนแพ่งอีกฉบับหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานในคดีแพ่งที่ฟ้องรวมกับคดีอาญา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่าง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดภายในเวลา (15วัน) ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 นั้นมาตรานี้เพียงแต่ให้ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งจำหน่าย โจทก์ยื่นคำขอเรื่องขาดนัดได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งมาในสำนวนเดียวกันกับได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว โดยมิได้เจาะจงว่าจะให้เป็นบัญชีพยานในคดีส่วนอาญาหรือส่วนแพ่ง จึงต้องถือว่าเป็นบัญชีระบุพยานของคดีนี้ตลอดเรื่อง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานส่วนอาญาฉบับหนึ่งและส่วนแพ่งอีกฉบับหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงแรกได้
จำเลยได้นำโฉนดเลขที่ 5167 และ 5168 มาทำสัญญาจำนองประกันความเสียหาย จากการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานของจำเลยไว้กับโจทก์ในวงเงิน 100,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัว 390,000 บาท จำเลยจึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้โดยได้นำโฉนดเลขที่ 5165 กับ 5166 มาจำนองไว้ แล้วจำเลยไม่ชำระเงิน เช่นนี้ การทำหนังสือรับสภาพหนี้ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมระงับไป หนังสือรับสภาพหนี้คงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการสงวนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ในมูลหนี้เดิมนั่นเอง เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5167 และ 5168 ที่จำเลยนำมาจำนอง เพื่อประกันการชำระหนี้ก่อนเกิดเหตุได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำหนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงแรกได้
จำเลยได้นำโฉนดเลขที่ 5167 และ 5168 มาทำสัญญาจำนองประกันความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานของจำเลยไว้กับโจทก์ในวงเงิน 100,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัว 390,000 บาท จำเลยจึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้โดยได้นำโฉนดเลขที่ 5165 กับ 5166มาจำนองไว้ แล้วจำเลยไม่ชำระเงิน เช่นนี้ การทำหนังสือรับสภาพหนี้ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมระงับไปหนังสือรับสภาพหนี้คงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการสงวนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ในมูลหนี้เดิมนั่นเอง เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาแก่ที่ดิน โฉนดเลขที่ 5167 และ 5168 ที่จำเลยนำมาจำนองเพื่อประกันการชำระหนี้ก่อนเกิดเหตุได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขา, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, อายุความ, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การผ่อนเวลาลูกหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ก็ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายและเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง(อ้างฎีกา658-659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีที่เท่าใดยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วยดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้นเป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันและมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันสัญญาตัวแทน, อายุความ, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การผ่อนปรนหนี้, และความรับผิดของผู้จำนอง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกัน จำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 วรรคสอง ในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง (อ้างฎีกา 658 - 659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีเท่าใด ยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกัน และมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอนุญาตฎีกา: อำนาจเด็ดขาดของผู้พิพากษา vs. การพิจารณาของศาลฎีกา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด นั้นกฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
of 33