พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวม หากแตกต่างกันชัดเจนย่อมไม่ทำให้สับสน
การพิจารณาในเรื่องความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าพิพาท เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วม มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างกัน คือเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเฉพาะคำภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายของจำเลยร่วมมีทั้งคำภาษาอังกฤษและคำภาษาไทย แม้คำว่า 'EXTRA' ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเป็นคำเดียวกับคำว่า 'EXTRA' ซึ่งเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วม แต่คำดังกล่าวเป็นคำธรรมดาที่แปลว่า 'พิเศษ' จึงเป็นคำธรรมดา มิใช่คำประดิษฐ์ แต่เหตุที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายอมให้จำเลยร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'EXTRA' เนื่องจากจำเลยร่วมใช้คำดังกล่าวร่วมกับคำว่า 'NESCAFE' จนกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและได้ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า 'EXTRA' ร่วมกับคำว่า 'FREEZE' และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์สละสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้คำว่า 'EXTRA' คำดังกล่าวจึงมิใช่สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ที่คำว่า 'FREEZE' เมื่อพิจารณารูปลักษณะอื่น ๆ ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และจำเลยร่วมประกอบกันแล้ว เครื่องหมายทั้งสองจึงมีความแตกต่างกัน ไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่อาจละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้จะมีการระบุว่าไม่ผูกขาดสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
แม้ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีข้อความว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรไทยคำว่า "น้ำมันมวย"และอักษรโรมันคำว่า "BOXINGLINIMENT" ก็ตาม แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" รวมทั้งรูปภาพลวดลายและรูปรอยประดิษฐ์ที่ปรากฎบนกล่องสินค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2498และผลิตน้ำมันสำหรับใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยและเหน็บชา ออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านั้นมาตลอดโจทก์ได้โฆษณาสินค้าผ่านสื่อสารมวลชน ป้ายโฆษณา โดยการทำของชำร่วย และโฆษณาในรายการอุปถัมภ์กีฬา จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" กับสินค้าน้ำมันสำหรับทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยและเหน็บชาที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน จำเลยมีเจตนาใช้คำว่า "น้ำมันมวย"เป็นส่วนหนึ่งในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์ได้ผลิตแล้วนำออกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" มาก่อนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" ถึง30 ปีเศษ สินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่แพร่หลายจนทำให้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" เกิดลักษณะบ่งเฉพาะ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแล้ว แม้คำว่า "น้ำมันมวย"โจทก์จะไม่มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม การที่จำเลยเจตนาจะใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าน้ำมันนวดกล้ามอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ก็โดยอาศัยคำว่า "น้ำมันมวย" เป็นหลักอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยที่จะผลิตต่อไปเป็นของเจ้าของเดียวกัน หากจำเลยมีเจตนาสุจริตก็สามารถใช้คำอื่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแทนเพื่อไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้วว่า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวก 3 น้ำมันนวดกล้ามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'น้ำมันมวย' เลียนแบบ สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีข้อความว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรไทยคำว่า "น้ำมันมวย" และอักษรโรมันคำว่า "BOXINGLINIMENT" ก็ตาม แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"รวมทั้งรูปภาพลวดลายและรูปรอยประดิษฐ์ที่ปรากฏบนกล่องสินค้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2498และผลิตน้ำมันสำหรับใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชา ออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านั้นมาตลอด โจทก์ได้โฆษณาสินค้าผ่านสื่อสารมวลชน ป้ายโฆษณา โดยการทำของชำร่วย และโฆษณาในรายการอุปถัมภ์กีฬาจำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" กับสินค้าน้ำมันสำหรับทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชาที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมาเป็นวลานาน จำเลยมีเจตนาใช้คำว่า "น้ำมันมวย" เป็นส่วนหนึ่งในการ-ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์ได้ผลิตแล้วนำออกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"มาก่อนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" ถึง30 ปีเศษ สินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่แพร่หลายจนทำให้เครื่องหมายการค้าคำว่า"น้ำมันมวย" เกิดลักษณะบ่งเฉพาะ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแล้ว แม้คำว่า"น้ำมันมวย" โจทก์จะไม่มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม การที่จำเลยเจตนาจะใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าน้ำมันนวดกล้ามอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ก็โดยอาศัยคำว่า "น้ำมันมวย"เป็นหลักอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยที่จะผลิตต่อไปเป็นของเจ้าของเดียวกัน หากจำเลยมีเจตนาสุจริตก็สามารถใช้คำอี่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแทนเพื่อไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง"กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" เป็นเครื่องหมาย-การค้าในสินค้าจำพวก 3 น้ำมันนวดกล้ามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อการค้า 'MITA' บนผลิตภัณฑ์ผงหมึก ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 เนื่องจากไม่มีเจตนาทำให้เข้าใจผิด
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่าย ต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับ ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA รุ่น DC-313Z เป็นการเสนอราคา สินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการ ผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้า ของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER) ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA(FORUSEINMITA) รุ่น DC-211 RE313Z และ 313Z แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าว จะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ มิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มี เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสาม เป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลยทั้งสาม มิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลย ทั้ง สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FORUSEIN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่ กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฏป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่ อย่างใด ส่วนกลางสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฏว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้น เป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "TONER" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อ บริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า "FORUSEIN" กล่องสินค้า ผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้า ของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลย ทั้งสาม เสนอ จำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วม ก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่าย สินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนผงหมึก: ไม่เข้าข่ายละเมิด หากไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่ายต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITAรุ่น DC - 313 Z เป็นการเสนอราคาสินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER)ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA (FOR USE IN MITA) รุ่น DC - 211 RE313 Z และ 313 ZD แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าวจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่าย-เอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือมิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลย-ทั้งสามมิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลยที่สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FOR USE IN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฎป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนกล่องสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฎว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้นเป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "Toner" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อบริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า"FOR USE IN" กล่องสินค้าผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA"ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสามเสนอจำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วมก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจากส่วนประกอบหลักและการประเมินเจตนาทุจริต
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีบับลิกแห่งประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้
โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐฺ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า PUMA (พูม่า) โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์ มีลักษณะโค้งมน ส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่งแล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตราในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONG HORN ไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียวมาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMA บ้าง หรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ส้นรองเท้าบ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อยเพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยาก จึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐฺ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า PUMA (พูม่า) โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์ มีลักษณะโค้งมน ส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่งแล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตราในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONG HORN ไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียวมาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMA บ้าง หรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ส้นรองเท้าบ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อยเพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยาก จึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบหลักและส่วนประกอบรองเพื่อวินิจฉัยความเหมือน/ต่าง
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้ โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบอักษรโรมันคำว่าPUMA(พูม่า)โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์มีลักษณะโค้งมนส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่ง แล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บเส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามความในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONGHORNไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียว มาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMAบ้างหรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ลิ้นรองเท้าบ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อย เพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมันPUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่ จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นรูปแถบโค้งเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัดแม้ส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยากจึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่งแตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ, การใช้เครื่องหมายการค้าปลอม, และค่าเสียหายจากการละเมิด
นิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศมีอำนาจฟ้องคดีในศาลไทยหรือตั้งผู้แทนฟ้องคดีได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศ ซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่าย โดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียให้หรือเสียแทนกันได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศ ซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่าย โดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียให้หรือเสียแทนกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนิติบุคคลต่างประเทศในการฟ้องคดีและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย การละเมิดเครื่องหมายการค้าและค่าเสียหาย
นิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ มีอำนาจฟ้องคดีในศาลไทยหรือตั้งผู้แทนฟ้องคดีได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่ายโดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียหรือให้เสียแทนกันได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่ายโดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียหรือให้เสียแทนกันได้