พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19431/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขาย, การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง, และการร่วมรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ต้องยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน และมาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พยานหลักฐานใดที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้ การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นโดยฝ่าฝืนมาตรา 90 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐาน ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบตามมาตรา 27 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวภายใน 8 วัน นับแต่วันแต่วันที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบถึงกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งได้อีก
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับ โจทก์เพิ่งนำสืบเอกสารหมาย จ.1 ในชั้นพิจารณา จึงเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยว่า เอกสารทั้งสองฉบับต่างระบุเงื่อนไขการประมูลขายแผ่นฟิล์ม และโจทก์นำเอกสารหมาย จ.1 ประกอบคำถามค้านของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ก็เบิกความรับว่า เงื่อนไขการประมูลตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ได้ส่งให้จำเลยที่ 1 ก่อนพิจารณาเสนอราคา จึงเป็นเอกสารที่สนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับเงื่อนไขการประมูลแผ่นฟิล์ม การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการนอกฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาแต่เพียงว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับและคนละความหมายกันใช้แทนกันไม่ได้เป็นการนำสืบนอกฟ้อง ไม่มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนข้อที่อ้างว่าเอกสารหมาย จ.1 ยื่นฝ่าฝืนมาตรา 90 นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับ โจทก์เพิ่งนำสืบเอกสารหมาย จ.1 ในชั้นพิจารณา จึงเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยว่า เอกสารทั้งสองฉบับต่างระบุเงื่อนไขการประมูลขายแผ่นฟิล์ม และโจทก์นำเอกสารหมาย จ.1 ประกอบคำถามค้านของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ก็เบิกความรับว่า เงื่อนไขการประมูลตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ได้ส่งให้จำเลยที่ 1 ก่อนพิจารณาเสนอราคา จึงเป็นเอกสารที่สนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับเงื่อนไขการประมูลแผ่นฟิล์ม การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการนอกฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาแต่เพียงว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และเอกสารหมาย จ.1 เป็นเอกสารคนละฉบับและคนละความหมายกันใช้แทนกันไม่ได้เป็นการนำสืบนอกฟ้อง ไม่มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนข้อที่อ้างว่าเอกสารหมาย จ.1 ยื่นฝ่าฝืนมาตรา 90 นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18032/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกฯ ตามมาตรา 17 ธรรมนูญ 2515 ชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นการลงโทษทางอาญาและถอดถอนข้าราชการ
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญการปกครองนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ ไม่ว่าการกระทำจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันประกาศธรรมนูญการปกครองนี้ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย" และมาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ" ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีออกคำสั่งลงวันที่ 4 ตุลาคม 2516 สั่งว่าโจทก์มีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและลงโทษจำคุกโจทก์ 7 ปี เป็นการกระทำไปตามที่ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุดในขณะนั้นให้อำนาจไว้ แม้จะเป็นคำสั่งที่ว่าโจทก์กระทำความผิดทางอาญาข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และลงโทษจำคุกโจทก์ 7 ปี ทั้งออกคำสั่งโดยไม่ได้มีการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาลก็ตาม คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งที่มีผลบังคับได้ตามบทบัญญัติในกฎหมาย ซึ่งเมื่อไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และด้วยผลของคำสั่งดังกล่าวกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 2 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 3 ในขณะนั้นได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ.2507 โดยออกคำสั่งกระทรวงกลาโหมให้โจทก์ออกจากประจำการ ถอดยศทหาร และย้ายประเภททหาร อันเป็นการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้กระทำเช่นนั้นได้ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติในกฎหมาย โดยไม่อาจถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16524/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: เหตุสุดวิสัยจากข้อพิพาทแนวเขต และบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญา ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายและทายาทของ ส. ต้องไปจดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นแปลงย่อยตามที่โจทก์ผู้จะซื้อเป็นผู้กำหนด นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งจำเลยและทายาท ส. จะต้องดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว แต่เมื่อภายหลังจากโจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกัน ปรากฏว่าจำเลยมีข้อโต้แย้งเรื่องแนวเขตที่ดินพิพาทกับ อ. จนต่อมาจำเลยต้องฟ้องขับไล่ อ. ให้ออกจากที่ดินพิพาท ดังนั้น ระหว่างที่เป็นความคดีดังกล่าวกันอยู่เกี่ยวกับแนวเขตที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่มีทางที่จะดำเนินการให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นแปลงย่อยตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ และโจทก์กับจำเลยยังได้ทำบันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์เลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าที่ดินบางส่วน ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ออกไปจนกว่าจะตกลงกันเรื่องที่ อ. รุกล้ำที่ดินพิพาทเสร็จเรียบร้อยก่อน การที่โจทก์ยังไม่ชำระราคา และไม่ไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท จึงเป็นไปตามข้อตกลงส่วนที่เพิ่มเติมในสัญญา ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญากับริบเงินมัดจำได้ การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ยังคงมีผลผูกพันโจทก์จำเลยคู่สัญญาอยู่ อีกทั้งเมื่อเหตุแห่งความขัดข้องที่ทำให้ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ยังคงมีอยู่ กับไม่ได้มีข้อตกลงเพิ่มเติมให้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอีก ดังนั้น การที่จำเลยยังไม่ไปขอแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ย่อมไม่เป็นการผิดสัญญาจะซื้อจะขายเช่นกัน โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญากับเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15933/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องได้แม้ผู้บุกรุกมีหนังสืออนุญาต
การที่จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุระหว่างที่โจทก์ร่วมครอบครองอยู่ แม้ขณะนั้นที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ออกหนังสืออนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์แล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้สิทธิครอบครองอย่างสมบูรณ์ เพราะมิได้เข้าครอบครองที่ดินที่ทางราชการจัดสรรให้ โดยโจทก์ร่วมกลับเป็นฝ่ายครอบครองอยู่ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขัดขวางรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุขของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กับทั้งความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้ออื่น จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15899/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีละเมิด: การกระทำผ่านผู้แทนของหน่วยงานของรัฐ
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย โดยบรรยายชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ใช้ให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ใส่กุญแจประตูทางเข้าบริเวณที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเข้าออก ใช้สอยและผลิตสินค้าในที่เช่าได้ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ และยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลหน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ให้พนักงานของจำเลยที่1 กระทำการดังกล่าว แม้จะบรรยายในลักษณะว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดก็ตาม จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนจำเลยที่ 1 การแสดงออกถึงวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมผ่านทางจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการผู้รับผิดชอบโดยตรง กรณีต้องด้วยมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในขอบเขตของตนจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14401/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อเช็คในฐานะผู้แทนและผู้ผูกพันตนเองตามกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทด้วย โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการค้ำประกันหรือข้อความอื่นใดในทำนองเดียวกัน เช่นนี้ ต้องรับฟังว่า จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันตนในอันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 หาใช่เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 990 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14246/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทโดยตรง มิใช่สิทธิอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้อง ประเด็นที่พิพาทกันจึงมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ มิได้พิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการขอใช้น้ำประปา การที่จำเลยยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้การประปาส่วนภูมิภาคนำมิเตอร์น้ำประปามาติดตั้งที่บ้านพิพาทเช่นเดิมและขอให้ห้ามโจทก์มิให้ขัดขวางการขอติดตั้งมิเตอร์น้ำประปา จึงหาใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14023/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางจราจร: การประเมินความประมาทของผู้เสียหายและจำเลยเพื่อกำหนดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ มาตรา 44/1 ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่คดีในส่วนอาญาได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปก่อนแล้วจึงมีการพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งในภายหลัง เช่นนี้ปัญหาว่าผู้ร้องมีส่วนประมาทด้วยมีผลทำให้ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาในคดีส่วนแพ่ง การที่ผู้ร้องมีส่วนประมาทซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 ศาลต้องพิเคราะห์พฤติการณ์ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้น มิได้ทำให้ความเป็นผู้เสียหายของผู้ร้องในอันที่เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่ยื่นไว้ในคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วสูญสิ้นไปแต่อย่างใด ผู้ร้องยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวทุกประการ เพียงแต่จะเรียกได้มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ว่าผู้ร้องกับจำเลยฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเท่านั้น ดังนั้น ที่จำเลยอ้างว่าผู้ร้องประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยและไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13349/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท แม้มีคำขอต่อเนื่องอื่น
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองในที่ดินพิพาทที่อ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกโดยมีคำขอบังคับท้ายฟ้องเน้นให้เพิกถอนและให้โอนคืนตามลำดับก็เพื่อเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาทของ ป. ผู้ตาย รวมทั้งประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามด้วย คดีของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาทจำนวน 233,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงสุพรรณบุรี แม้โจทก์จะมีคำขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้รับมรดกของ ป. ซึ่งเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์มาด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่องลำดับที่รองลงไป เมื่อศาลแขวงสุพรรณบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขออื่นที่รองลงไปนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13267/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อลูกหนี้เลิกกิจการ แต่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้
ตามสัญญาค้ำประกันหนี้สินที่จำเลยทั้งสี่ทำไว้กับบริษัทเงินทุน ย. นั้น เป็นการค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท ก. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เมื่อต่อมาบริษัท ก. ลูกหนี้จดทะเบียนเลิกบริษัท อันมีผลให้ลูกหนี้สิ้นสภาพนิติบุคคล สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทั้งสี่ทำไว้จึงไม่มีลูกหนี้ที่จำเลยทั้งสี่จะต้องค้ำประกันอีกต่อไป สัญญาค้ำประกันจึงสิ้นผลไปโดยปริยาย แม้เช็คทั้ง 17 ฉบับ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คของลูกหนี้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทเงินทุน ย. ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาวงเงินขายตั๋วลดเช็คที่เกิดขึ้นภายหลังจากลูกหนี้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้ รู้ดีว่าในวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้ง 17 ฉบับ พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น บริษัท ก. ลูกหนี้ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังถือโอกาสที่บริษัทเงินทุน ย. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงการบอกเลิกบริษัทของตนนำเช็คที่สั่งจ่ายในนามของบริษัท ก. ไปขายลดให้แก่บริษัทเงินทุน ย. อีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมได้เงินจากการขายลดเช็ค โดยทราบดีว่าเจ้าหนี้ไม่อาจจะบังคับเอาจากบริษัท ก. ลูกหนี้ได้เพราะลูกหนี้ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสี่ได้ยกขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ และจำเลยที่ 4 นำสืบในศาลชั้นต้นแล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาก่อน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจนำข้อกฎหมายมาปรับวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการสิ้นสภาพบุคคลแห่งบริษัท ก. เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้ รู้ดีว่าในวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้ง 17 ฉบับ พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น บริษัท ก. ลูกหนี้ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังถือโอกาสที่บริษัทเงินทุน ย. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงการบอกเลิกบริษัทของตนนำเช็คที่สั่งจ่ายในนามของบริษัท ก. ไปขายลดให้แก่บริษัทเงินทุน ย. อีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมได้เงินจากการขายลดเช็ค โดยทราบดีว่าเจ้าหนี้ไม่อาจจะบังคับเอาจากบริษัท ก. ลูกหนี้ได้เพราะลูกหนี้ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสี่ได้ยกขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ และจำเลยที่ 4 นำสืบในศาลชั้นต้นแล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาก่อน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจนำข้อกฎหมายมาปรับวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการสิ้นสภาพบุคคลแห่งบริษัท ก. เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต