พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9554-9555/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหนี้ต่อผู้ครอบครองทรัพย์มรดก: จำเลยต้องเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกเท่านั้น
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายชำระเงินตามเช็คที่ผู้ตายลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ค่าแชร์ให้แก่โจทก์ โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ทั้งทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของผู้ตาย ขณะที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่ไม่มีภรรยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย มีเพียงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นทายาทคนเดียว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นทายาทผู้รับมรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากผู้ตายนั้น ต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1734 บัญญัติว่า เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น และมาตรา 1737 บัญญัติว่า เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดก ให้เจ้าหนี้เรียกเข้ามาในคดีด้วย บทกฎหมายดังกล่าวให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คที่ผู้สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าแชร์ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8430-8432/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเลี้ยงไก่: การโอนความเสี่ยงและกรรมสิทธิ์ ทำให้ไม่มีความผิดฐานยักยอก
สัญญาการเลี้ยงไก่มีสาระสำคัญว่าจำเลยที่ 3 ต้องวางเงินประกันไว้ก่อนจำนวนหนึ่งเพื่อรับลูกไก่จากโจทก์ร่วมมาเลี้ยง และเมื่อส่งไก่ใหญ่ให้แก่โจทก์ร่วมจึงจะคิดราคาไก่ที่ส่งกับต้นทุนทุกอย่างที่รับไปจากโจทก์ร่วม เช่น ลูกไก่ อาหารไก่ วัคซีน และการขนส่ง ถ้าคิดราคาไก่ที่ส่งได้เงินสูงกว่าราคาต้นทุน จำเลยที่ 3 ก็ได้กำไร แต่หากคิดราคาไก่ได้น้อยก็ขาดทุนซึ่งโจทก์ร่วมจะหักเงินประกันชำระต้นทุนส่วนที่ขาด
หลังจากโจทก์ร่วมส่งลูกไก่ให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว ความรับผิดชอบในตัวไก่ทั้งหมดตกไปอยู่แก่จำเลยที่ 3 ผู้เลี้ยงโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยง การดูแลรักษา หรือการป้องกันภัยต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดแก่ตัวไก่หากเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นไม่ว่าจะเป็นไก่ตาย ไก่เป็นโรค หรือไก่พิการจำเลยที่ 3 ก็ต้องรับไปซึ่งความเสียหายนั้นเพียงผู้เดียว กล่าวคือ จำเลยที่ 3 ก็จะไม่มีไก่ไปส่งหรือไก่ที่ส่งไม่ได้น้ำหนักและราคา อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ขาดทุนเมื่อคิดหักกับต้นทุน เช่น ค่าลูกไก่ ค่าอาหารหรือค่าวัคซีนที่รับไปจากโจทก์ร่วม ซึ่งกรณีขาดทุนโจทก์ร่วมก็จะหักเอาจากเงินประกัน แสดงว่า ในส่วนของโจทก์ร่วมลูกไก่ที่มอบให้จำเลยที่ 3 ไปเลี้ยงจะได้คืนหรือไม่ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะแม้ไม่ได้คืนหรือได้คืนในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์ร่วมก็สามารถหักเอาเงินประกันได้ ดังนั้น โจทก์ร่วมจึงไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของลูกไก่หลังจากส่งมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแล้วได้แม้ในสัญญาการเลี้ยงไก่จะเขียนให้โจทก์ร่วมยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ก็ตาม นอกจากนั้น พิเคราะห์จากคำเบิกความของ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์ร่วมที่ตอบทนายจำเลยที่ 3 ถามค้านว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่สามารถชำระค่าไก่ตั้งแต่ตอนรับลูกไก่ได้โดยไม่จำต้องรอให้ไก่ใหญ่ก่อน ก็เห็นได้ชัดว่า โจทก์ร่วมมอบลูกไก่ให้จำเลยที่ 3 ไปเลี้ยงในลักษณะซื้อขาย ไม่ได้ฝากทรัพย์หรือจ้างเลี้ยงแต่อย่างใด เพียงแต่มีข้อตกลงพิเศษว่า เมื่อเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องนำมาขายให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำแหละขายเป็นไก่เนื้อเท่านั้น ฉะนั้นการนำไก่ไปขายของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดฐานยักยอก
หลังจากโจทก์ร่วมส่งลูกไก่ให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว ความรับผิดชอบในตัวไก่ทั้งหมดตกไปอยู่แก่จำเลยที่ 3 ผู้เลี้ยงโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยง การดูแลรักษา หรือการป้องกันภัยต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดแก่ตัวไก่หากเกิดความเสียหายอย่างใด ๆ ขึ้นไม่ว่าจะเป็นไก่ตาย ไก่เป็นโรค หรือไก่พิการจำเลยที่ 3 ก็ต้องรับไปซึ่งความเสียหายนั้นเพียงผู้เดียว กล่าวคือ จำเลยที่ 3 ก็จะไม่มีไก่ไปส่งหรือไก่ที่ส่งไม่ได้น้ำหนักและราคา อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ขาดทุนเมื่อคิดหักกับต้นทุน เช่น ค่าลูกไก่ ค่าอาหารหรือค่าวัคซีนที่รับไปจากโจทก์ร่วม ซึ่งกรณีขาดทุนโจทก์ร่วมก็จะหักเอาจากเงินประกัน แสดงว่า ในส่วนของโจทก์ร่วมลูกไก่ที่มอบให้จำเลยที่ 3 ไปเลี้ยงจะได้คืนหรือไม่ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะแม้ไม่ได้คืนหรือได้คืนในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์ร่วมก็สามารถหักเอาเงินประกันได้ ดังนั้น โจทก์ร่วมจึงไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของลูกไก่หลังจากส่งมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแล้วได้แม้ในสัญญาการเลี้ยงไก่จะเขียนให้โจทก์ร่วมยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ก็ตาม นอกจากนั้น พิเคราะห์จากคำเบิกความของ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์ร่วมที่ตอบทนายจำเลยที่ 3 ถามค้านว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่สามารถชำระค่าไก่ตั้งแต่ตอนรับลูกไก่ได้โดยไม่จำต้องรอให้ไก่ใหญ่ก่อน ก็เห็นได้ชัดว่า โจทก์ร่วมมอบลูกไก่ให้จำเลยที่ 3 ไปเลี้ยงในลักษณะซื้อขาย ไม่ได้ฝากทรัพย์หรือจ้างเลี้ยงแต่อย่างใด เพียงแต่มีข้อตกลงพิเศษว่า เมื่อเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องนำมาขายให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำแหละขายเป็นไก่เนื้อเท่านั้น ฉะนั้นการนำไก่ไปขายของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถูกกำจัดมิให้ได้มรดก, อายุความมรดก, การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, การแก้ไขคำพิพากษา
กำหนดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน แต่สำหรับกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อรวบรวมทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาทนั้น ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกยังไม่แล้วเสร็จ ถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ระหว่างการจัดการมรดกทายาทย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกเมื่อใดก็ได้ ไม่มีกำหนดอายุความ เมื่อที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกยังมิได้จัดสรรแบ่งปันแก่ทายาท จึงถือว่าอยู่ในระหว่างการจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก อายุความตามมาตรา 1754 จึงไม่นำมาใช้บังคับ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก
แม้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกในที่ดินพิพาท แต่การถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของจำเลย ผู้สืบสันดานของจำเลยสืบมรดกแทนจำเลยต่อไปได้ ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่า จำเลยมีบุตรทั้งหมด 4 คน จึงถือว่าจำเลยมีผู้สืบสันดานที่สามารถสืบมรดกแทนจำเลยเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตามมาตรา 1607 เมื่อทายาทของ ก. เจ้ามรดกมีทั้งหมด 10 คน แม้ ส. ทายาทคนหนึ่งได้ตายไปก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย แต่ ส. ก็มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. คนหนึ่งถูกกำจัดมิให้ได้มรดกที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็มีผู้สืบสันดานมรดกแทนที่จำเลยได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าจำนวนทายาทของ ก. โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสาม หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ย่อมเป็นการพิพากษาตามคำขอบังคับของโจทก์ทั้งสามที่ให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขในกรณีที่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติการตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ต่อไปอีก ทั้งการถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิในการรับมรดกของทายาท ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำพิพากษาเพื่อบังคับคดี
แม้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกในที่ดินพิพาท แต่การถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของจำเลย ผู้สืบสันดานของจำเลยสืบมรดกแทนจำเลยต่อไปได้ ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่า จำเลยมีบุตรทั้งหมด 4 คน จึงถือว่าจำเลยมีผู้สืบสันดานที่สามารถสืบมรดกแทนจำเลยเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตามมาตรา 1607 เมื่อทายาทของ ก. เจ้ามรดกมีทั้งหมด 10 คน แม้ ส. ทายาทคนหนึ่งได้ตายไปก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย แต่ ส. ก็มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. คนหนึ่งถูกกำจัดมิให้ได้มรดกที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็มีผู้สืบสันดานมรดกแทนที่จำเลยได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าจำนวนทายาทของ ก. โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสาม หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ย่อมเป็นการพิพากษาตามคำขอบังคับของโจทก์ทั้งสามที่ให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขในกรณีที่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติการตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ต่อไปอีก ทั้งการถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิในการรับมรดกของทายาท ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำพิพากษาเพื่อบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ถือเป็นการไม่ยอมรับรายงานได้ ศาลใช้คำแถลงของจำเลยประกอบพยานหลักฐานได้
การไม่ยอมลงลายมือชื่อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 50 (2) ไม่ได้มีข้อความว่าคู่ความฝ่ายใดที่จะต้องลงลายมือชื่อนั้น จะต้องอยู่รับรู้หรืออยู่ฟังการอ่านรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแล้วไม่ยอมลงลายมือชื่อ การที่จำเลยทั้งสามแถลงต่อศาลแล้วออกจากห้องพิจารณาไปโดยไม่อยู่รอฟังการอ่านรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและลงลายมือชื่อ ก็ถือว่าจำเลยทั้งสามไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 50 (2) เช่นกัน จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจอ้างได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณาในวันดังกล่าวไม่ชอบ เพราะจำเลยทั้งสามไม่อยู่ลงลายมือชื่อ เมื่อจำเลยทั้งสามแถลงให้ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ตามฟ้องโจทก์และยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลก็ย่อมรับฟังข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยทั้งสามประกอบพยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบในการพิจารณาและวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานตรวจสอบการขุดดินถมดินโดยไม่ต้องมีหมายค้น และความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 มาตรา 30 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าไปในสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินเพียงเพื่อตรวจสอบว่ามีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่เท่านั้น กรณีหาจำต้องมีหมายค้นของศาลไม่ เมื่อผู้เสียหายแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 และแจ้งว่ามีความประสงค์จะตรวจสอบที่ดินตามที่มีการแจ้งว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้าไปในที่ดินเพื่อตรวจสอบ การกระทำของจำเลยจึงมีเจตนาขัดขวางผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และการแบ่งมรดก
เมื่อขณะที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ท. กับจำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11852 เนื้อที่ 3 ไร่ ให้แก่ ท. นั้น ท. กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ ท. จะถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะถึงกำหนดจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความและปัจจุบันยังมิได้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความกับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิของ ท. ที่จะได้รับที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วต้องสูญสิ้นไป และสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่ ท. กับโจทก์ได้มาในระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ซึ่งย่อมมีผลทำให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11852 เนื้อที่ 3 ไร่ ที่ ท. จะได้รับตามสิทธินั้นตกเป็นสินสมรสระหว่าง ท. กับโจทก์ด้วยเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ท. ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฎีกาและการนับโทษคดีอาญา: ศาลฎีกามีคำสั่งถึงที่สุดเมื่ออ่านคำสั่งให้จำเลยฟัง
ศาลฎีกาไม่รับคดีของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาพิพากษา และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความศาลฎีกา สืบเนื่องจากศาลฎีกาเห็นว่าฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสอง กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยการไม่รับคดีซึ่งข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือฎีกาจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณาไว้พิจารณาพิพากษา พ.ศ.2551 ข้อ 3 จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีของจำเลยที่ 1 แล้ว แต่เห็นว่าฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสอง จึงออกคำพิพากษาในรูปของคำสั่งตามบทบัญญัติและระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้น เท่ากับศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีสำหรับจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยที่ 1 ฟังเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 คดีของจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยระบุว่าคดีถึงที่สุดวันที่ 21 ธันวาคม 2555 จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความปิดบังข้อสำคัญแห่งคดีอาญา มาตรา 177 วรรคแรก เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษของผู้ซื้อที่ดิน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยที่ให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับโจทก์เพียงว่าจำเลยรู้จักกับโจทก์เมื่อปี 2524 และเห็นว่าโจทก์เป็นคนดีน่าเชื่อถือ กับได้รับคำแนะนำจากนายจ้างของโจทก์ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้น่าเชื่อถือ อันแสดงว่าจำเลยได้พิจารณาเพียงคุณสมบัติของตัวโจทก์ดังกล่าวก่อนที่จะให้โจทก์เป็นผู้ซื้อและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลย โดยไม่เบิกความถึงความสัมพันธ์ที่จำเลยอยู่กินกับโจทก์เป็นภริยาของจำเลยอีกคนหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์อันเป็นกรณีพิเศษไปจากบุคคลอื่นๆ และย่อมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลในคดีก่อนจะได้นำไปพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยให้มีผลคดีที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงเป็นการเบิกความโดยปิดบังข้อสำคัญแห่งคดี เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประจำตำแหน่ง ส.ส. หลังถูกวินิจฉัยว่าได้รับเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้ว
จำเลยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีได้โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 เมื่อจำเลยออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 97 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เนื่องจากกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 44 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มีผลให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 145 (3) และ (4) มาตรา 147 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมาตรา 10 (6) และ (7) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มีมติโดยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ มีคำวินิจฉัยสั่งการและมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 ใหม่ มีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยในเขตเลือกตั้งดังกล่าวสิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีคำสั่งในวันที่ 20 กันยายน 2548 ตามมาตรา 96 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และตามนัยมาตรา 97 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น จำเลยย่อมตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 97 ตอนท้ายที่บัญญัติว่า กรณีที่การออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะถูกยกเลิกหรือเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 โดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ก็ตาม แต่มูลหนี้ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเกิดขึ้นในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลใช้บังคับ โดยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายยกเว้นไว้ และไม่ปรากฏมีบทบัญญัติกฎหมายให้ยกเลิกมูลหนี้ที่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจนเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะสิ้นสุดลง สิทธิของโจทก์ในการเรียกเงินคืนและหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามมาตรา 97 ตอนท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะสิ้นสุดลง จึงยังคงมีอยู่โดยหาได้ถูกยกเลิกไปด้วยไม่ เมื่อจำเลยไม่คืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมาย และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 ตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดฐานลักทรัพย์ – การใช้บทมาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง แทนมาตรา 334 เมื่อมีการใช้ยานพาหนะและอาวุธ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตโดยใช้อาวุธปืนและใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมซึ่งเกิดเหตุในเวลากลางคืน เป็นการบรรยายฟ้องซึ่งรวมถึงการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83, 336 ทวิ เข้าไว้ด้วย เมื่อคดีฟังได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันมีอาวุธปืนกับใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำความผิดเพื่อพาทรัพย์นั้นไปซึ่งชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ประกอบ มาตรา 83 อันเป็นการปรับบทความผิดไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงพิพากษาแก้ไขปรับบทความผิดให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย กรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องและไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต้องรับโทษสูงขึ้น