คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศล พิรุณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรวมในเงินกองทุนหมู่บ้านที่ถูกจำเลยยักยอก และการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์สิน
การที่องค์การนานาชาติแพนเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้มอบเงินให้เปล่าแก่ชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่ผ่านกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหาร โจทก์ที่ 8 เป็นชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่จึงมีส่วนเป็นเจ้าของเงินด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดสรรเงินกู้ยืมและติดตามเงินกู้ยืมคืนจากชาวบ้าน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่นำเงินที่ชาวบ้านชำระหนี้เงินกู้ยืมเข้าบัญชี โดยนำไปใช้จ่ายส่วนตัว โจทก์ที่ 8 ย่อมได้รับความเสียหายและถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้อง
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8 ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8 แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21908/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์กล่าวหาฐานรับของโจรโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในความผิดฐานรับของโจร เป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิและชื่อเสียงในทางการค้าของตนโดยสุจริตมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ส่วนขั้นตอนหลังจากจำเลยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วนั้น ตามกฎหมายก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานจากการสอบสวนและสรุปสำนวนเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ และพนักงานอัยการได้ตรวจสำนวนดังกล่าวเห็นว่า มีหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องได้ จึงฟ้องโจทก์ต่อศาล ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยในฐานะผู้เสียหายคดีอาญาได้อาศัยกระบวนการดังกล่าวจงใจกลั่นแกล้งโจทก์หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อ การที่จำเลยใช้สิทธิของตนในฐานะผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาโจทก์ในฐานะผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากพยานบุคคลที่อ้างว่าเห็นการกระทำของโจทก์ดังกล่าว เป็นการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริตไม่เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20375/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าจากการยิง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ศาลฎีกาวินิจฉัยเจตนาและองค์ประกอบความผิด
จำเลยที่ 1 ใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงยิงผู้เสียหาย ขณะที่ผู้เสียหายกอดรัดอยู่กับจำเลยที่ 2 แม้กระสุนปืนจะเฉี่ยวศีรษะของผู้เสียหายไปเป็นเหตุให้มีเพียงบาดแผลฉีกขาดที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บเท่านั้นก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการยิงโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายและจำเลยได้กระทำไปตลอดครบองค์ประกอบของความผิดฐานพยายามฆ่าแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า เมื่อผู้เสียหายหนีไปอยู่หลังกระต๊อบ จำเลยที่ 2 ไปลากผู้เสียหายออกมาแล้ว จำเลยที่ 1 จะยับยั้งไม่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายต่อไปจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับโทษสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่ได้กระทำไปแล้ว กรณีหาใช่การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทำให้ตลอดหรือจำเลยที่ 1 กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผลอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น ตาม ป.อ. มาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19673/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยในคดียาเสพติดจากการให้ข้อมูลผู้กระทำผิดอื่น และอำนาจศาลในการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่คู่ความยกขึ้น
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดนั้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้กระทำความผิดที่ถูกจับกุมให้ข้อมูลเครือข่ายผู้กระทำความผิดที่ตนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือติดต่ออยู่ เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดที่เหลืออยู่ในสังคมให้หมดสิ้น เพื่อความสงบสุขของสังคม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกา แต่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบไว้แล้วในศาลชั้นต้น
คำเบิกความของดาบตำรวจ อ. ผู้จับกุมและคำให้การชั้นสอบสวนของสิบตำรวจโท ค. กล่าวอ้างขึ้นลอย ๆ ว่าจำเลยให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจจนสามารถจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้อีก 2 ราย ไม่มีรายละเอียดของบุคคล วันเวลา สถานที่ที่จับกุมรวมทั้งยาเสพติดให้โทษหรือพยานหลักฐานในการจับกุมที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและผู้ถูกจับกุมให้ตรวจสอบได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลใด ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จำเลยเกี่ยวข้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและมีการจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีอีก ๒ รายจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18955/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขระเบียบสหกรณ์ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิสมาชิกผูกพันตามมติที่ประชุมใหญ่
ข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัด พ.ศ.2542 ข้อ 86 (1) กำหนดว่า กรณีเป็นระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้ หากเป็นระเบียบอื่น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการกำหนดใช้แล้ว ให้ส่งสำเนาให้นายทะเบียนสหกรณ์รับทราบ เมื่อพิจารณาระเบียบว่าด้วยเงินฝากสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกโครงการ 1 พ.ศ.2539 (ส.ค.ส.1) แล้วจะเห็นได้ว่าระเบียบดังกล่าวระบุวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ชัดเจนว่าเพื่อจัดสวัสดิการแก่สมาชิกหรือครอบครัวสมาชิกในกรณีที่ถึงแก่กรรมหรือมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เพื่อให้สมาชิกและครอบครัวมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงรวมทั้งเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่สมาชิก ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ไม่ใช่เป็นเรื่องรับฝากเงินซึ่งผู้ฝากเงินส่งมอบเงินให้แก่ผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาเงินไว้แล้วจะคืนให้ จึงไม่ใช่ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินตามข้อ 86 (1) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจึงจะมีผลบังคับได้ แต่เป็นระเบียบอื่นๆ ที่คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งก่อนมีการแก้ไขระเบียบว่าด้วยเงินฝากสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกโครงการ 1 ฯ จำเลยที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกแล้ว ในที่สุดที่ประชุมใหญ่มีมติให้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์โดยให้งดจ่ายเงินสงเคราะห์แก่สมาชิกเมื่ออายุครบ 60 ปี จำนวน 50,000 บาท แต่ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ทายาทของสมาชิกเมื่อสมาชิกเสียชีวิตเพียงครั้งเดียว 100,000 บาท และมีการแจ้งเรื่องดังกล่าวให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบแล้ว ดังนั้นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบว่าด้วยเงินฝากสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกโครงการ 1 ฯ จึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยชอบ มีผลผูกพันสมาชิกทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วย โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์เมื่ออายุครบ 60 ปี ภายหลังจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ให้งดจ่ายเงินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18034/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์เกินอำนาจตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแต่ละกระทงเพียงปรับสถานเดียวยังคลาดเคลื่อนนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยโดยชัดแจ้ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 4 เดือน โดยไม่ปรับนั้นย่อมถือว่าเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบและถือว่าไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17167/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถ vs ผู้ครอบครอง: หน้าที่ทำประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย - ผู้ใช้รถมีหน้าที่
ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถถือเป็นผู้หนึ่งที่เป็นเจ้าของรถตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 นอกจากนี้ผู้มีสิทธิครอบครองรถก็ถือว่าเป็นเจ้าของรถด้วยซึ่งหาได้จำกัดเฉพาะแต่ผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อเพียงอย่างดียวไม่ แต่ผู้เป็นเจ้าของรถที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยนั้นต้องเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ หากเป็นเจ้าของรถแต่ไม่ได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 ที่จะต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย คดีนี้จำเลยขายรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุให้ พ. ตามสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไขบังคับโดยมีข้อสัญญาว่ากรรมสิทธิ์ในรถจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วน และจำเลยมอบรถให้ พ. ไปครอบครองเป็นผู้ใช้แล้ว พ. ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หาใช่จำเลยผู้ขายซึ่งมิได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยมิใช่ผู้มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย จึงไม่ต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นแก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15847/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาช่วยเหลือสอบและคืนเงิน: สัญญาไม่ขัดต่อกฎหมายเมื่อไม่มีเจตนาให้สินบน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยคนละ 40,000 บาท เป็นค่าตอบแทนจากการที่จำเลยบอกว่าจะช่วยโจทก์ทั้งสองให้สอบแข่งขันผ่านเข้าทำงานได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมอบเงินเพื่อให้จำเลยนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือช่วยให้โจทก์ทั้งสองเข้าทำงานได้โดยไม่ต้องสอบ หรือสอบเข้าทำงานได้แม้คะแนนไม่ถึงอันเป็นวิธีการที่ไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งการกระทำดังกล่าวก็หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อจำเลยไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองสอบผ่านและเข้าทำงานได้ตามที่รับรองไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไปแก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15379/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเป็นเงื่อนไขสำคัญ และการนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติม
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อความว่า โจทก์ขายบ้านพร้อมที่ดินและกิจการน้ำดื่มแก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,000,000 บาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แม้หนังสือสัญญาซื้อขายจะระบุชื่อชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายอันอาจจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาความตกลงในสัญญาโดยเฉพาะสัญญาข้อ 5 ที่ระบุว่าผู้ซื้อต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ขายให้ครบจำนวนภายในเวลา 1 ปี หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามถือว่าสัญญาเป็นโมฆะ เป็นที่เห็นได้ว่าการซื้อขายที่ดินยังไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์แก่กันได้ จำต้องอาศัยผลของการชำระเงินเป็นเงื่อนไข จึงแสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่ามีเจตนาจะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันในภายหลังแม้โจทก์ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หาใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
หนังสือสัญญาซื้อขายไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยทั้งสองรวมที่ดินของ ว. และ ห. เนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ในรั้วที่ดินที่โจทก์นำชี้ด้วย และโจทก์ไม่สามารถโอนที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ให้แก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงตกลงกันให้หักราคาที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งเป็นของ ว. และ ห. เป็นเงิน 300,000 บาท ออกจากราคาที่ดิน 2,000,000 บาท ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขายดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายกันอย่างไร มิได้เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขาย จำเลยย่อมนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15123/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่าเป็นประโยชน์แก่บุตรผู้เยาว์ มีผลผูกพันแม้ไม่ได้จดทะเบียน และมีผลเหนือพินัยกรรม
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า มีข้อความระบุว่า ล. และ ก. ตกลงยกบ้านเลขที่ 2/12 ซึ่งเป็นทาวน์เฮาส์ชั้นเดียว 2 ห้องนอน ให้แก่บุตรทั้งสองคนคือ โจทก์และ ก. ซึ่งขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์ บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าดังกล่าว นอกจากมี ล. และ ก. เป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้ว ยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่าง ล. และ ก. คือ แทนที่ ล. และ ก. จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาด้วยกันเอง กลับยอมให้บ้านเลขที่ 2/12 ตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง หลังจาก ล. และ ก. จดทะเบียนหย่ากัน สัญญาจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ย่อมผูกพัน ล. ให้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง ล. ไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมของ ก.
of 27