พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14526/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงใหม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14225/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองโฉนดที่ดินไม่ใช่การครอบครองทรัพย์มรดก สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกขาดอายุความ
โฉนดที่ดินเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มิใช่ตัวที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก ดังนั้นการที่ ก. ครอบครองโฉนดที่ดินจึงไม่ใช่เป็นการครอบครองทรัพย์มรดก ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่จะอ้างว่า ก. ครอบครองทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกแม้ว่าจะพ้นสิบปีนับแต่ ล. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ ล. กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่จัดการมรดกถูกต้องหรือไม่ เพราะแม้จำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
ที่โจทก์ทั้งสี่อ้างในฎีกาอีกว่าอายุความสิบปีสะดุดหยุดลงเพราะจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฆ. แล้ว โจทก์ทั้งสี่ก็มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างให้ชัดแจ้งว่าข้อฎีกาดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมายใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ทั้งสี่อ้างในฎีกาอีกว่าอายุความสิบปีสะดุดหยุดลงเพราะจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฆ. แล้ว โจทก์ทั้งสี่ก็มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างให้ชัดแจ้งว่าข้อฎีกาดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมายใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13622/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: เจตนาประจานให้เสียชื่อเสียง แม้ข้อความจะเป็นจริงก็ไม่อาจเป็นเหตุแก้ตัวได้
จำเลยแจกจ่ายแผ่นปลิวโฆษณามีข้อความว่า "เรียน ฯพณฯ รัฐมนตรี ผู้สื่อข่าว และท่านที่ใจเป็นธรรมทุกท่านทราบ เนื่องจาก อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม มีพื้นที่ต่ำบางส่วนเป็นทางรองรับน้ำ... ระบายออกทางแม่น้ำมูล... ต่อมาความเจริญเริ่มเข้ามา ที่ดินเริ่มมีราคาแพง ทำให้ผู้ที่มีที่ดินติดกับทางระบายน้ำโบราณบุกรุกโดยถมดินและก่อสร้าง... เป็นสาเหตุทำให้น้ำระบายได้ช้า เกิดน้ำท่วม... เรื่องนี้ทางราชการทราบดีแต่ไม่กล้าแก้ไข คงกลัวอิทธิพล... ส่วนอีกราย เป็น ส.ส. เจ้าของโรงสีใหญ่ อยากได้ที่ดินมาก ล้อมรั้วคอนกรีตฮุบหนองน้ำสาธารณะผนวกเข้ากับที่ตัวเองอย่างหน้าด้านที่สุด แปลกจริงหนอเศรษฐีอยากได้ที่ดินใช้วิธีที่น่าละอายที่สุด เข้าข่ายผู้มีอิทธิพลทางด้านใช้อำนาจบุกรุกที่สาธารณะ..." ให้แก่ผู้ที่อยู่ในงาน เป็นการใส่ความว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ใช้อิทธิพลฮุบเอาสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปเป็นของตนโดยมิชอบอย่างไม่มีความละอายแก่ใจ ที่วิญญูชนอ่านแล้วย่อมรู้สึกดูหมิ่นและเกลียดชังผู้เสียหายได้ในทันที อันเป็นการหมิ่นประมาทผู้เสียหายอย่างชัดเจน แม้หากจำเลยไปพบเห็นข้อความในแผ่นปลิวโฆษณา ไม่ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นความจริงดังจำเลยอ้างหรือไม่ แต่ก็มีวิธีการที่จำเลยจะดำเนินการหรือร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบได้อีกหลากหลายวิธีโดยไม่มีเหตุที่ต้องไปละเมิดต่อสิทธิของบุคคลใด จึงไม่มีความจำเป็นใดเลยที่จำเลยจะต้องแจกจ่ายเผยแพร่แผ่นปลิวโฆษณาข้อความหมิ่นประมาทผู้เสียหายในสภาพการซึ่งผู้เสียหายนั่งอยู่ในงานที่มีทั้งนักการเมืองระดับสูงและข้าราชการผู้ใหญ่และประชาชนจำนวนมาก การกระทำของจำเลยดังกล่าวเห็นได้ชัดว่ามีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าโดยมีเจตนาที่ต้องการประจานผู้เสียหายให้ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างมาก ทั้งต่อ ส., ช. ข้าราชการผู้ใหญ่ และประชาชนในพื้นที่ซึ่งไปร่วมงานจำนวนมากนั่นเอง จึงเป็นการใส่ความผู้เสียหายในประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแล้ว หาใช่มีเจตนาเพียงต้องการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม หรือเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ อันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) (3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12616/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & การระงับสิทธิ: สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมคงอยู่ แม้คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายหลัง
การตกลงกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 นอกจากเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังมีลักษณะเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 4 ให้สั่งจ่ายเช็คค่างวดงานก่อสร้างแก่โจทก์โดยตรง อันเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อสิทธิของโจทก์ได้เกิดมีขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 คู่สัญญาย่อมไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์นั้นในภายหลังได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งระงับการโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างโดยให้จำเลยที่ 4 ส่งเงินค่าก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยตรง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 375 ไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11731/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับใช้หนี้ที่ไม่เป็นธรรมในฐานะทายาท: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้บังคับใช้เฉพาะส่วนที่เป็นธรรม
จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย และจำเลยกับผู้ตายเป็นลูกหนี้สินเชื่อของโจทก์เช่นเดียวกัน การที่จำเลยทำสัญญารับใช้หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่ง โดยจำเลยยอมรับผิดร่วมกับกองมรดกของผู้ตาย โดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขสำคัญว่า เมื่อโจทก์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เพียงใด จำเลยจะชำระหนี้ในส่วนต่างระหว่างหนี้ตามคำพิพากษาและดอกเบี้ยจนถึงวันชำระเสร็จและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองคดีกับเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาด และหากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เป็นงวดจนกว่าจะครบนั้นก็เนื่องจากในขณะนั้นสินเชื่อในส่วนของจำเลยเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ หากจำเลยไม่เข้ารับใช้หนี้ของผู้ตายแล้วโจทก์ก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่จำเลยอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มเติมความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายที่ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ดังนั้น สัญญารับใช้หนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11482/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การสละสิทธิโดยปริยาย และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
แม้ข้อตกลงที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินกู้ค้างชำระทั้งหมดหากจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานจะมีผลบังคับได้ แต่หลังจากจำเลยลาออกแล้วโจทก์ก็ยังรับผ่อนชำระเงินกู้จากจำเลยมาตลอดโดยจำเลยไม่เคยผิดนัด แสดงว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกเงินกู้ค้างชำระทั้งหมดด้วยเหตุจำเลยพ้นสภาพการเป็นพนักงานของโจทก์โดยปริยาย นอกจากนั้นการกู้เงินของจำเลยเป็นการกู้เงินสวัสดิการของพนักงานเพื่อที่อยู่อาศัยโดยมีที่ดินพร้อมบ้านจำนองเป็นประกัน ซึ่งหากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้โดยไม่เสียหายอยู่แล้ว การลาออกของจำเลยก็มิได้เกิดจากการกระทำผิดหรือกระทำโดยมิชอบของจำเลย แต่เป็นเรื่องสุขภาพที่ฝ่ายโจทก์ขอให้จำเลยลาออกเอง ทั้งหลังจากลาออกแล้วจำเลยยังมีรายได้เพียงพอแก่การผ่อนชำระเงินกู้อีก ดังนั้น ที่โจทก์ใช้ทั้งสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดในขณะเดียวกันก็รับการผ่อนชำระของจำเลยไปเรื่อยๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตน บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต" เมื่อการใช้สิทธิของโจทก์ไม่สุจริตอันไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10387/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: ศาลแพ่งไม่มีอำนาจ ผู้มีอำนาจคือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
แม้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา" ก็ตาม แต่ฐานะของผู้เสียหายตามที่บัญญัติในมาตรา 73 ดังกล่าวเป็นสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อจำเลยผู้กระทำความผิดเท่านั้น อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารหรือส่วนต่อเติมที่ผิดกฎหมายถือเป็นมาตรการที่จะบังคับกันในทางแพ่ง ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตลอดจนวิธีการที่เจ้าพนักงานจะปฏิบัติเป็นขั้นตอนไปดังปรากฏตามมาตรา 40 และ 42 ในหมวด 4 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนระเบียงที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9727/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 วรรคหนึ่ง จำเลยคัดลอกคำพิพากษาเดิมโดยไม่โต้แย้งเหตุผลศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์จำเลยตั้งแต่ต้นจนจบชนิดคำต่อคำ แล้วสรุปว่า แม้ ส. พ. และ บ. จะเบิกความแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนของตนเองก็ตาม แต่บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่า โดยลำพังไม่มีน้ำหนักลงโทษจำเลยได้ โดยจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร มีข้อเท็จจริงและเหตุผลใดที่หักล้างข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้รับฟังใหม่ได้ว่า คำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์เป็นความจริงยิ่งกว่าคำให้การในชั้นสอบสวน ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วยบทกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8155/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถพยาบาลฉุกเฉินผ่านสัญญาณไฟแดงได้หากลดความเร็ว การฟ้องต้องระบุเหตุประมาทชัดเจน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทรัพย์สินเสียหายตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 โดยบรรยายถึงการกระทำโดยประมาทของจำเลยว่า ก่อนจำเลยขับรถเข้าทางร่วมทางแยกที่เกิดเหตุ สัญญาณจราจรในทางเดินรถของจำเลยเป็นสัญญาณจราจรไฟสีแดง จำเลยต้องหยุดรถเพื่อให้รถอื่นที่ได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวขับผ่านทางร่วมแยกไปก่อน และเมื่อทางเดินรถของจำเลยได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวแล้ว จึงค่อยขับรถเข้าทางร่วมทางแยก แต่จำเลยขาดความระมัดระวังขับเลี้ยวขวาโดยฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับมาในทางร่วมทางแยกซึ่งผู้ตายได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียว เป็นการบรรยายฟ้องโดยอ้างเหตุประมาทว่า จำเลยขับรถเข้าทางร่วมทางแยกโดยฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงเท่านั้น แต่ทางพิจารณาได้ความว่า รถคันที่จำเลยขับเป็นรถพยาบาลของทางราชการซึ่งจำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ขับรถนำผู้ป่วยไปส่งยังโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง โดยขณะเกิดเหตุจำเลยเปิดไฟหน้ารถและเปิดสัญญาณไฟขอทางบนหลังคารถอันเป็นรถฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (19) ซึ่งจำเลยผู้ขับย่อมมีสิทธิขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใดๆ ที่ให้รถหยุดได้ เพียงแต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 75 (4) วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยซึ่งขับรถฉุกเฉินจึงมีสิทธิขับรถผ่านสัญญาณจราจรไฟสีแดงได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงเท่านั้น ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าวให้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการขับรถโดยประมาทของจำเลยไว้ด้วย แม้จะฟ้งว่าจำเลยขับรถผ่านสัญญาณจราจรไฟสีแดงโดยมิได้ลดความเร็วให้ช้าลงและมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้เพราะไม่ใช่การกระทำโดยประมาทตามที่โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8035/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในเอกสารทางการเงินโดยมิชอบ เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้อง ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยเองในช่องผู้ถือบัตรในใบบันทึกรายการขาย เพื่อให้ ท. กับพวกและผู้อื่นหลงเชื่อว่าใบบันทึกการขายเป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องแท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องฟังตามฟ้อง เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยเอง มิได้ลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเครดิตก็ตาม แต่การลงลายมือชื่อของจำเลยดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าบันทึกการขายนั้น ทำโดยเจ้าของบัตรเครดิต ถือว่าจำเลยลงลายมือชื่อจำเลยโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเจ้าของบัตรเครดิตเป็นผู้ลงลายมือชื่อที่แท้จริง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใบบันทึกการขายแล้ว