คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศล พิรุณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับสินสมรส: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านมีสิทธิขอส่วนแบ่งตามสัดส่วน
แม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและมีการขายทอดตลาดจะเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านกับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เพราะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีจากสินสมรสได้เพียงในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เท่านั้น มิอาจกระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังนั้น ปัญหาว่าหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีต่อโจทก์เป็นหนี้ร่วมโดยผู้คัดค้านได้ให้สัตยาบันหรือมีหนังสือให้ความยินยอมดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏในคำฟ้อง คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำขอยึดทรัพย์ระบุว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลย กรณีจึงยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลว่าเป็นหนี้ร่วมตามที่โจทก์กล่าวอ้างเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดกึ่งหนึ่งจ่ายให้แก่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมไปได้ การที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสและหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ร่วม ไม่ทำให้การดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์กล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ที่มีสัญญาเช่าซื้อก่อน การโอนกรรมสิทธิ์ และสิทธิของบุคคลภายนอก
โจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกผู้มีเพียงบุคคลสิทธิเหนือห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนทะเบียนรถบัสพิพาทระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กับจำเลยที่ 2 หรือให้จำเลยที่ 2 กรรมการบริษัท ด. โอนทะเบียนรถพิพาทมาให้โจทก์ได้ เพราะหลังจากทำสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ไม่เคยได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทอันจะสามารถโอนทะเบียนให้แก่โจทก์ได้
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นเรื่องบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 และโจทก์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์ตามหลักกฎหมายดังกล่าวผู้เรียกต่างต้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เรียกด้วยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณาว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ในลำดับต่อไป แต่คดีนี้ได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิจะได้รับเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัท พ. ครบถ้วนแล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดๆ ได้ แม้ว่าโจทก์จะครอบครองรถบัสพิพาทก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณา
แม้การค้าเร่และการค้าแผงลอยจะไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 7 (1) แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าและแลกเปลี่ยน จำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 1 (1) (ค) ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องนำเอกสารและหลักฐานซึ่งมีสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมคำอนุญาตด้วย เอกสารและหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลที่จะให้นายทะเบียนใช้ประกอบในการพิจารณาเท่านั้น ซึ่งการไม่ยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ตามที่มาตรา 39 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงยังมิอาจถือได้ว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในความหมายตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะทำให้ฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอายัดเงินสหกรณ์: เงินปันผล vs. เงินเฉลี่ยคืน/ค่าหุ้น เมื่อสมาชิกลาออก
ข้อความในหนังสือแจ้งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีสาระสำคัญว่า ขออายัดเงินปันผลและเงินอื่นๆ ของจำเลยที่ 1 ทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีเสร็จสิ้น นั้น ได้แยกการอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ เงินปันผลส่วนหนึ่ง และเงินอื่นๆ นอกจากนั้นอีกส่วนหนึ่ง ในส่วนของเงินปันผล พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (1) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการขออายัดคดีนี้ บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นของสมาชิกแต่ละคนที่ชำระแล้ว เงินปันผลจึงเป็นเงินที่ผู้คัดค้านต้องจ่ายแก่สมาชิกทุกคนเป็นรายปีทุกๆ ปีขณะที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ ส่วนเงินอื่นๆ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (2) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีจ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้กระทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปีแต่ละปี เงินเฉลี่ยคืนจึงเป็นการจัดสรรจ่ายให้แก่เฉพาะสมาชิกบางคนที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ และจ่ายเฉพาะในปีที่ทำเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายให้เป็นการเฉพาะในแต่ละครั้ง ไม่อาจจ่ายเป็นประจำทุกปีเสมอไปได้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 เพราะ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นของสมาชิกนั้น เว้นแต่สมาชิกภาพนั้นจะสิ้นสุดลง ซึ่งไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และไม่ทราบล่วงหน้าด้วยว่าจะต้องจ่ายเมื่อใด จึงเป็นการจ่ายเฉพาะในแต่ละครั้งและไม่อาจจ่ายเป็นประจำปีรายได้เช่นกัน ดังนั้น คำขออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหนังสือแจ้งอายัดในข้างต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งอายัดรวมถึงเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าขึ้นศาลล่าช้าเกิน 5 ปี ศาลไม่ถือว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุตามมาตรา 323 ป.วิ.พ.
ป.วิ.พ. มาตรา 323 หมายถึงให้คู่ความหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินจากศาลดำเนินการขอรับเงินให้เสร็จสิ้นภายในห้าปี หากไม่ดำเนินการขอรับไปภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้รับไป เงินดังกล่าวยังคงค้างอยู่ก็ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดทำระบบบัญชีการเงินต่างๆ ของศาลและการนำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เรียกร้องเอาเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืนภายในห้าปีและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แม้โจทก์จะมาขอรับเมื่อเลยระยะเวลาห้าปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต บทบัญญัติดังกล่าวก็หามีผลบังคับถึงกรณีของโจทก์ไม่ หากนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้าง กล่าวคือ เมื่อขออนุญาตรับและศาลอนุญาตแล้วจะมารับเมื่อใดก็ได้ จะทำให้ระยะเวลาการรับเงินยืดเยื้อออกไปไม่สิ้นสุด ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด
ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำผิดแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ..." แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่ามุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคน เพราะผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนไปด้วย แม้จำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนจำเลยก็ต้องมีความรับผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง
จำเลยกับพวกเดินทางมาที่เกิดเหตุโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แม้หลังจากที่ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนยิงจำเลย จำเลยกับพวกจะแยกย้ายกันหลบหนีโดยทิ้งรถจักรยานยนต์ไว้ในที่เกิดเหตุก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ที่มีการใช้สกอตเทปสีดำติดเปลี่ยนเลขทะเบียนรถอำพรางเลขทะเบียนที่แท้จริงเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ แล้วเข้าไปพยายามปล้นทรัพย์ที่บ้านของผู้เสียหาย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมายังบ้านของผู้เสียหายเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ และหากปล้นทรัพย์สำเร็จจำเลยกับพวกย่อมใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวพาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดตามอำนาจศาลอุทธรณ์ และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะในส่วนดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลชั้นต้นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องนั้น จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่า: การประเมินความสามารถในการบรรลุผลของอาวุธปืนที่ขัดข้อง
ผู้ตรวจพิสูจน์อาวุธปืนให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า อาวุธปืนแก๊ปของกลางเป็นอาวุธที่สามารถทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ การที่กระสุนปืนไม่ลั่นเมื่อสับนกปืนนั้นสามารถเกิดขึ้นกับอาวุธปืนได้ หากดินปืนมีความชื้นหรือเปียกชื้น เพราะประกายไฟซึ่งเกิดจากนกปืนสับไปที่แก๊ปปืนไม่สามารถลุกลามไปติดเนื้อดินปืนในลำกล้องเพื่อส่งเม็ดตะกั่วที่บรรจุอยู่ออกไปทางปากกระบอกปืนได้ แสดงว่าในวันเกิดเหตุหากดินปืนที่บรรจุอยู่ในลำกล้องอาวุธปืนของกลางแห้ง ไม่เปียกชื้น กระสุนปืนก็ต้องลั่นส่งเม็ดตะกั่วที่บรรจุอยู่ในลำกล้องออกมาใส่ใบหน้าผู้เสียหายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลอันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 หาใช่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนของกลางอันเป็นปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำตามมาตรา 81 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ: มาตรา 226 และ 226/1 ป.วิ.อ. ศาลพิจารณาประโยชน์อำนวยความยุติธรรมเหนือกว่า
การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับอันตรายโดยตรงหรือเป็นตัวแทนโดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 291 และ 390 ผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะเหตุรถยนต์ที่เฉี่ยวชนกระเด็นมาชนรถยนต์ของผู้ร้องที่จอดอยู่ ผู้ร้องไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายหรือเป็นผู้ได้รับอันตรายแก่กาย ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 39, 40, 43, 151 และ 157 เป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวเช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
of 27