พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งจำหน่ายคดีเพื่ออนุญาโตตุลาการชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์อ้างสัญญาเป็นโมฆะ คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้น ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 ซึ่งในวันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเกี่ยวกับคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท และโจทก์รับด้วยว่าฝ่ายจำเลยได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว และศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวในรายงานกระบวนพิจารณา อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก ดังนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะ และส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้จำหน่ายคดีตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก ดังนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะ และส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้จำหน่ายคดีตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและอำนาจวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ กรณีสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเกี่ยวกับคำร้องของจำเลยทั้งหกที่ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท และโจทก์รับด้วยว่าฝ่ายจำเลยได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 แล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในสัญญาพิพาทระบุว่า ถ้ามีข้อพิพาทไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวกับหรือสืบเนื่องจากสัญญาหรือทำงานตามสัญญา ไม่ว่าระหว่างการทำงานหรือภายหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จและไม่ว่าก่อนหรือหลังการบอกเลิกสัญญาหรือยุติสัญญาด้วยวิธีอื่นซึ่งรวมถึงข้อพกพาทอื่นๆ ข้อพิพาทนั้นจะต้องเสนอไปยังวิศวกรที่ปรึกษาโดยคำตัดสินดังกล่าวสามารถถูกทบทวนโดยการยุติปัญหาด้วยการประนีประนอมหรือโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและต้องการให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ไปจากโจทก์คืน จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาพิพาทดังกล่าวซึ่งต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก เมื่อโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะและส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย คู่สัญญาจึงต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในสัญญาพิพาทระบุว่า ถ้ามีข้อพิพาทไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวกับหรือสืบเนื่องจากสัญญาหรือทำงานตามสัญญา ไม่ว่าระหว่างการทำงานหรือภายหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จและไม่ว่าก่อนหรือหลังการบอกเลิกสัญญาหรือยุติสัญญาด้วยวิธีอื่นซึ่งรวมถึงข้อพกพาทอื่นๆ ข้อพิพาทนั้นจะต้องเสนอไปยังวิศวกรที่ปรึกษาโดยคำตัดสินดังกล่าวสามารถถูกทบทวนโดยการยุติปัญหาด้วยการประนีประนอมหรือโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและต้องการให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ไปจากโจทก์คืน จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาพิพาทดังกล่าวซึ่งต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก เมื่อโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะและส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย คู่สัญญาจึงต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12476/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานกรรมสิทธิ์ตามทะเบียนที่ดิน vs. การครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์การครอบครอง
ป.พ.พ. มาตรา 1373 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง" โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นจึงต้องฟังว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่ภาระการพิสูจน์ก็ตกแก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ต้องพิสูจน์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ แต่พยานหลักฐานที่นำมาสืบยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12435/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการปิดประกาศคำสั่งเจ้าพนักงาน
การปิดประกาศสำเนาคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 วรรคสอง เจ้าพนักงานสามารถกระทำได้โดยปิดประกาศสำเนาคำสั่งหรือหนังสือแจ้งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่ทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน และให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ทราบคำสั่งหรือหนังสือแจ้งนั้นเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว หาได้กำหนดให้เจ้าพนักงานตำรวจ ข้าราชการส่วนกลาง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่เป็นพยานด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11973/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารราชการเพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ มีเจตนาเดียวกัน
จำเลยปลอมเอกสารแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์และคู่มือจดทะเบียนรถยนต์แล้วนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เจ้าพนักงานหรือผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้จะเป็นการทำปลอมเอกสารราชการต่างประเภทกันและมีลักษณะการทำปลอมที่แตกต่างกัน แต่การที่จำเลยได้ติดแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมไว้ที่รถยนต์คันเดียวกันแล้วนำคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่ทำปลอมขึ้นไปใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานในเวลาเดียวกันนั้นแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันเพื่อให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจเอกสารเข้าใจว่าเป็นรถยนต์ที่ได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11735/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าครบถ้วน ไม่นับแยกแต่ละครั้ง
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า เงินค่าซื้อขายส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อจำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไว้ครบถ้วนแล้ว แสดงว่ามูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายนี้ถึงกำหนดชำระต่อเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้จำเลย 2 ครั้ง อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 จะนับอายุความแยกเป็นแต่ละครั้งที่มีการส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไม่ได้ จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 นับถึงวันฟ้องวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ค่าสินค้าที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยในครั้งแรกจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11605/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิด แม้ไม่ใช่เจ้าของรถ แต่มีสิทธิใช้และครอบครองรถคันดังกล่าว
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มอบบัตรจอดรถซึ่งด้านหน้าระบุว่าต้องเสียค่าจอดรถชั่วโมงละ 10 บาท และหากทำบัตรจอดรถหายจะต้องถูกปรับ 200 บาท โดยต้องนำหลักฐานการเป็นเจ้าของรถมาแสดงให้แก่โจทก์และยินยอมให้โจทก์นำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถของห้างฯ จำเลยที่ 2 เมื่อคนร้ายลักรถยนต์โดยขับรถฝ่าพนักงานรักษาความปลอดภัยออกไปด้วยความเร็วและไม่คืนบัตรจอดรถให้แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแจ้งเหตุหรือสกัดจับ กลับรอกระทั่งโจทก์กลับมาจึงแจ้งให้ทราบ การกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นละเมิด และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายในรถยนต์ดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11519/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกา: ไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11228/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องมี 2 นิติกรรม การฟ้องเพิกถอนสัญญาเพื่อบังคับให้โอนกลับเป็นของเดิมทำไม่ได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องคู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ ในเรื่องของนิติกรรมอำพรางจึงต้องมีสองนิติกรรม แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้โจทก์ตกลงทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเพียงนิติกรรมเดียว การให้ดังกล่าวมิได้เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับจำเลยเพื่อปกปิดนิติกรรมอีกนิติกรรมหนึ่งอย่างใด เพียงแต่โจทก์อ้างว่ามีข้อตกลงเพิ่มเติมในสัญญาไว้ว่าจำเลยต้องไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทแล้วโอนให้แก่พี่น้องทุกคนในภายหลังเท่านั้น สัญญาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามฟ้องจึงมิใช่นิติกรรมอำพรางที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ และหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง กรณีก็เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง กรณีนี้โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทุกคนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์ตามสัญญา มิใช่มาฟ้องเพิกถอนสัญญาให้แล้วบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ดังนี้ แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่ามีข้อตกลงให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนจริง กรณีก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่ามีข้อตกลงให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนหรือไม่ เพราะไม่มีผลทำให้คดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11039/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการนำสืบหลักฐานนอกเหนือจากคำฟ้อง การฟ้องผิดสัญญาต้องสอดคล้องกับเหตุที่บรรยาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกประเภทร้านค้าของโจทก์ โดยจำเลยยินยอมรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการจากสมาชิกผู้ถือบัตรที่โจทก์ออกให้ แต่จำเลยรับชำระค่าสินค้าโดยผิดเงื่อนไขเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินคืนจากสมาชิกผู้ถือบัตร เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาในขั้นตอนก่อนการชำระเงิน แต่โจทก์กลับนำสืบว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ชี้แจงข้อร้องทุกข์และข้อสอบถามของสมาชิก ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากจำเลยได้รับชำระค่าสินค้าแล้ว แม้โจทก์จะแนบสัญญาซึ่งมีเงื่อนไขการรับชำระเงินจากบัตรเครดิตมาท้ายฟ้องอันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าว กล่าวอ้างถึงการกระทำผิดสัญญาของจำเลยแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง จึงเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานอกเหนือไปจากคำฟ้อง