คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศล พิรุณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแม้ยังไม่มีคำพิพากษา และการพิสูจน์ความเสียหาย
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งของหุ้นส่วนผู้จัดการในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 พักอยู่ที่ที่ทำงานและจะให้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเป็นประจำในการทำงาน เหตุรถเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา หลังจากเวลาเลิกงานตามปกติแล้ว ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปเติมน้ำมันแม้จะอยู่นอกเวลาทำงานแต่ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีคำพิพากษาคดีขับไล่ก่อนหน้า และการสันนิษฐานเรื่องความเป็นบริวาร
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องขับไล่ให้ ช. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทนั้น จำเลยฟ้อง ช. คนเดียวมิได้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องเข้ามาต่อสู้คดีแต่อย่างใด คดีดังกล่าวมีประเด็นตามฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือ ช. ปรากฏว่า ช. ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยให้ขับไล่ ช. และบริวาร แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิมยื่นฟ้องจำเลยว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงมีว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีเดิม เมื่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการครอบครองของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ ไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาในคดีเดิมแต่อย่างใดเพราะแม้จะฟังตามคำพิพากษาในคดีเดิมว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ของ ช. แต่จำเลยก็อาจจะเสียสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้ทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. จะต้องเป็นบริวารของ ช. สถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารของ ช. เท่านั้น แต่หากโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. มีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แม้จะล่วงเลยเวลาแปดวันแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. เสียภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลจึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ต้องเป็นบริวารของ ช. หรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดังที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด: การแบ่งหน้าที่ชัดเจนแสดงเจตนา
การที่จำเลยที่ 2 กับพวกเป็นผู้เจรจาซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับดาบตำรวจ ช. โดยสอบถามจำนวนและกำหนดราคากันก่อน จากนั้นจำเลยที่ 2 พาดาบตำรวจ ช. กับสายลับไปพบ ว. และจำเลยที่ 1 เพื่อชำระเงินและรับเมทแอมเฟตามีน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกับจำเลยที่ 1 และ ว. แบ่งหน้าที่กันทำในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้เจรจาซื้อขาย และจำเลยที่ 1 กับ ว. เป็นผู้รับเงินและส่งมอบเมทแอมเฟตามีน อันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด มิใช่เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่สามารถส่งได้จริง แม้จะพบบ้านจำเลยภายหลัง
พนักงานเดินหมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย 2 ครั้ง โดยไม่สามารถ ส่งได้เนื่องจากไม่พบบ้านของจำเลย แต่เมื่อส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 กลับพบบ้านของจำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้อง เพียงแต่บ้านปิดใส่กุญแจ จึงส่งหมายนัดได้โดยวิธีปิดหมาย ถือไม่ได้ว่า การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 201 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาคดีโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อแก้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 200

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามฆ่า, อาวุธปืน, อาวุธมีด: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ และแก้ไขการลงโทษความผิดฐานพาอาวุธ
จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันมาในที่เกิดเหตุ โดยจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำจากใบเลื่อยยาวถึง 1 เมตร ฟันบริเวณแสกหน้าของผู้เสียหายที่ 1 แต่ผู้เสียหายที่ 1 ใช้มือรับไว้ จึงทำให้เอ็นนิ้วนางและนิ้วก้อยของผู้เสียหายที่ 1 ขาด ทั้งยังมีบาดแผลที่ศีรษะด้านขวาลึกเกือบถึงกระดูก หากมาพบแพทย์ไม่ทันต้องเสียเลือดมากและอาจถึงแก่ความตายได้ และจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนปากกายิงผู้เสียหายที่ 2 ถึง 2 นัด แต่กระสุนปืนด้าน จำเลยที่ 3 ใช้กระถางต้นไม้ทุ่มใส่ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับบาดเจ็บที่สะโพกขวา พฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันที่จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองโดยไม่ได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนจะแบ่งแยกกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนใดเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามมีเจตนายอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของแต่ละคน จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระงับเมื่อศาลมีคำสั่งคุมขังระหว่างพิจารณา
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ผู้ร้องถูกจับกุมก่อนที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทั้งมิใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือกรณีใดๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การคุมขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยตัวผู้ร้อง พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา ดังนั้น แม้การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การคุมขังนั้นก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับไป ผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง ด้วยการ้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองต่อไป ทั้งการจับกุมและคุมขังเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณา ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71, 88 แล้ว การคุมขังร้องในระหว่างพิจารณาจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9795/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน: บริเวณรอบบ้านที่ใช้สอยถือเป็นส่วนหนึ่งของเคหสถาน แม้ไม่มีรั้ว
แม้จะได้ความว่าบ้านของผู้เสียหายไม่มีรั้วล้อมและบริเวณหลังบ้านผู้เสียหายอยู่ติดกับถนนส่วนบุคคลก็ตาม กรณีจะถือเอาเพียงฝาหนังและประตูเหล็กด้านหลังเป็นแนวของเคหสถานย่อมไม่ได้ เพราะเคหสถานตามกฎหมายให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย เมื่อผู้เสียหายได้ใช้ประโยชน์บริเวณรอบบ้านเป็นที่วางสิ่งของ เครื่องใช้อยู่โดยรอบ ทางด้านหลังมีโอ่งน้ำและถ้วยชามวางอยู่ กับมีหลังคายื่นออกมาคลุม การที่จำเลยทั้งสองไปอยู่ตรงบริเวณดังกล่าวย่อมต้องถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองเข้าไปในขณะผู้เสียหายไม่อยู่บ้าน ทั้งได้ความว่าผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเรื่องจำเลยลักลอบต่อสายไฟจากมิเตอร์บ้านของผู้เสียหาย จึงยิ่งไม่มีเหตุสมควรที่จะเข้าไปอยู่ที่บริเวณประตูหลังบ้านของผู้เสียหายและการที่จำเลยทั้งสองนำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าไปในบริเวณประตูหลังบ้านของผู้เสียหาย จึงยิ่งเป็นพิรุธส่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยทั้งสอง พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9795/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเคหสถาน: การบุกรุกพื้นที่ใช้สอยรอบบ้าน แม้ไม่มีรั้วล้อม
บ้านของผู้เสียหายไม่มีรั้วล้อม บริเวณหลังบ้านอยู่ติดกับถนนส่วนบุคคล จะถือเอาเพียงฝาผนังและประตูเหล็กด้านหลังเป็นแนวของเคหสถานย่อมไม่ได้ เพราะเคหสถานหมายความรวมถึง บริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย เมื่อผู้เสียหายได้ใช้ประโยชน์บริเวณรอบบ้านเป็นที่วางสิ่งของเครื่องใช้อยู่โดยรอบ ทางด้านหลังมีโอ่งน้ำและถ้วยชามวางอยู่ กับมีหลังคายื่นออกมาคลุม การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปอยู่ข้างประตูหลังบ้านย่อมต้องถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองเข้าไปในขณะผู้เสียหายไม่อยู่บ้าน ทั้งมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน เรื่องจำเลยลักลอบต่อสายไฟจากมิเตอร์บ้านของผู้เสียหาย ยิ่งไม่มีเหตุสมควรที่จะเข้าไปอยู่ที่บริเวณดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9795/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน: ขอบเขตของ 'บริเวณ' ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย แม้ไม่มีรั้วล้อม
ป.อ. มาตรา 1 (4) "เคหสถาน" หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัยและให้หมายรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม บ้านของผู้เสียหายไม่มีรั้วล้อม กับบริเวณหลังบ้านผู้เสียหายอยู่ติดกับถนนส่วนบุคคล กรณีจะถือเอาเพียงฝาผนังและประตูเหล็กด้านหลังเป็นแนวของเคหสถานย่อมจะไม่ได้ เพราะเคหสถานตามกฎหมายให้หมายความรวมถึง บริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย ผู้เสียหายใช้ประโยชน์บริเวณรอบบ้านเป็นที่วางสิ่งของกับมีหลังคาบ้านยื่นออกมาคลุม การที่จำเลยทั้งสองไปอยู่บริเวณประตูหลังบ้านผู้เสียหาย ย่อมถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองเข้าไปในขณะที่ผู้เสียหายไม่อยู่บ้าน ทั้งผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน จึงยิ่งไม่มีเหตุสมควรที่จะเข้าไปอยู่บริเวณประตูหลังบ้านผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร
of 27