คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 91/2 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเว้นการชำระภาษีอากรหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดในหนี้ภาษี
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาท แต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง 124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าวนี้ บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75บาท การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้น จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาท ไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจากการเลิกกิจการและการขายทรัพย์สิน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1(8)(ฉ) "ขาย" หมายความว่าจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณวันเลิกประกอบกิจการ ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการการที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการไปเป็นเงิน 305,500 บาทนั้น ถือว่าเป็นการขายตามมาตราดังกล่าวแล้ว จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ทั้งนี้แม้ว่ากิจการของโจทก์ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามป.รัษฎากร มาตรา 81(1)(ข) ก็ตาม แต่เมื่อการขายทรัพย์สินดังกล่าวของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ: ผู้ขายที่ดินต้องรับผิดชอบ แม้สัญญาจะแบ่งจ่ายค่าภาษีกับผู้ซื้อ
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ข้อ 1 ตอนท้ายระบุว่า "...หากจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ภายใน15 วัน นับแต่วันที่ชำระเงินครบถ้วน ส่วนค่าฤชาธรรมเนียม ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมด และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์นั้น โจทก์กับจำเลยที่ 2ออกกันคนละครึ่ง"ก็ตาม แต่ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วย การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 บังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งภาษีประเภทนี้มิใช่เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/10 เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเป็นผู้รับผิดชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเกิดจากลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์เอง แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2กำหนดให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่ง ก็จะแปลให้จำเลยที่ 2ต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้ เพราะเท่ากับให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระภาษีในกิจการของโจทก์นอกเหนือไปจากภาษีที่ต้องจ่ายในขณะที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ขายมีหน้าที่ชำระเอง แม้สัญญาจะระบุให้แบ่งจ่าย
ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/2(6)ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)พ.ศ.2534ซึ่งบังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งภาษีประเภทนี้มิใช่เป็นภาษีหักณที่จ่ายแต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/10เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเกิดจากลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์เองแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2กำหนดให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่งก็จะแปลให้จำเลยที่2ต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้เพราะเท่ากับให้จำเลยที่2ต้องชำระภาษีในกิจการของโจทก์นอกเหนือไปจากภาษีที่ต้องจ่ายในขณะที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
of 7