พบผลลัพธ์ทั้งหมด 530 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากขาดทุน, ไม่ไว้วางใจกัน, และการจัดการที่ผิดปกติ
ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดขาดทุนและมีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของห้างที่ต้องใช้จ่ายเป็นประจำ การดำเนินการต่อไปมีแนวโน้มที่มีแต่จะขาดทุน พฤติการณ์ที่หุ้นส่วนไม่ปรองดองกัน แสดงให้เห็นว่าไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าขาดสิ่งอันเป็นสารสำคัญของการเข้าเป็นหุ้นส่วน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการ ก็ไม่มีทางจะทำได้เพราะห้างนี้มีเพียงจำเลยที่ 1 คนเดียวเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด นอกจากนั้นบัญชีของห้างบางรายการลงไว้ไม่ถูกต้อง รายจ่ายก็ปรากฏว่าจ่ายโดยหละหลวม ฟุ่มเฟือยเกินกว่าความจำเป็น การดำเนินการของห้างปราศจากการควบคุมที่ดี เหล่านี้เป็นเหตุให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็น
ในเรื่องอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น แม้ไม่เป็นประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยหาจำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 17, 18 ไม่
เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยหาจำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 17, 18 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142(5) แม้ไม่ได้ยกขึ้นเอง
ในเรื่องอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น แม้ไม่เป็นประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยหาจำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 17,18 ไม่
เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยหาจำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 17,18 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การละเมิดต่อเนื่องจากคดีเดิม ผู้จัดการมรดกไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมได้
เดิม ป. ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายสำหรับปี พ.ศ.2511 คดีถึงที่สุด ศาลฎีกาพิพากษาขับไล่จำเลยและให้ใช้ค่าเสียหาย อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาปี 2516 แล้ว ป. ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในการละเมิดดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ถึงปี พ.ศ. 2516ดังนี้ เมื่อการละเมิดตามฟ้องเกิดขึ้นและติดต่อกันมาตั้งแต่คดีเดิม ป. มีทางเรียกร้องให้คดีเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่เรียกร้อง จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดเดิมที่มิได้ฟ้องในคดีเดิม
เดิม ป. ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายสำหรับปี พ.ศ. 2511 คดีถึงที่สุด ศาลฎีกาพิพากษาขับไล่จำเลยและให้ใช้ค่าเสียหาย อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาปี 2516 แล้ว ป. ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในการละเมิดดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ถึงปี พ.ศ. 2516 ดังนี้ เมื่อการละเมิดตามฟ้องเกิดขึ้นและติดต่อกันมาตั้งแต่คดีเดิม ป. มีทางเรียกร้องในคดีเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่เรียกร้อง จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและการผูกพันตามสัญญาเดิม: สิทธิของบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 1(จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง3(โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนแล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3(จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และจ.กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว และการกำหนดอายุความในการเรียกคืนทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ 11,106 บาท24 สตางค์ แต่ในจำนวนเงินดังกล่าว 700 บาทจำเลยไม่ต้องชดใช้ เพราะคดีขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งเรื่องความรับผิดตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นหรือยกเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาในเรื่องความรับผิดจำนวนเงิน 11,106 บาท 24 สตางค์จึงยุติ ศาลอุทธรณ์เพียงวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดในรายการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีก 1 รายการ จำนวนเงิน 1,000 บาท และวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ ให้จำเลยชดใช้เงิน12,106 บาทเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามและฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแต่เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงนำอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแต่เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงนำอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว และการบังคับคืนทรัพย์สินไม่ใช่ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ 11,106 บาท 24 สตางค์ แต่ในจำนวนเงินดังกล่าว 700 บาท จำเลยไม่ต้องชดใช้ เพราะคดีขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งเรื่องความรับผิดตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นหรือยกเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาในเรื่องความรับผิดจำนวนเงิน 11,106 บาท 24 สตางค์จึงยุติ ศาลอุทธรณ์เพียงวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดในรายการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีก 1 รายการ จำนวนเงิน 1,000 บาท และวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ ให้จำเลยใช้เงิน 12,106 บาทเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามและฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิ์จะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงนำอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิ์จะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงนำอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการยิงปืน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการหยอกล้อเล่น ไม่ใช่เจตนาฆ่า
ผู้เสียหายเคยเลี้ยงดูจำเลยมาตั้งแต่จำเลยยังเป็นเด็กและเป็นผู้ที่จำเลยรักใคร่นับถือ ไม่ได้พบกันมานานและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน เมื่อจำเลยพบผู้เสียหาย จำเลยรู้สึกอยากจะหยอกเล่นและทำให้ผู้เสียหายตกใจประกอบกับความคึกคะนองและความมึนเมาสุราจำเลยจึงเข้าไปยืนใกล้และใช้อาวุธปืนสั้นของจำเลยยิงไปทางที่ผู้เสียหายนอนตะแคงอยู่บนเรือนหันหน้ามาทางจำเลย 1 นัด กระสุนปืนถูกฝาเรือนเหนือไหล่ซ้ายผู้เสียหาย 1 นิ้วฟุต ดังนี้ น่าเชื่อว่าจำเลยตั้งใจจะหยอกล้อผู้เสียหายเล่น หาใช่เพราะตั้งใจจะฆ่าแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิด: การยิงเพื่อหยอกล้อ ไม่ใช่เจตนาฆ่า
ผู้เสียหายเคยเลี้ยงดูจำเลยมาตั้งแต่จำเลยยังเป็นเด็กและเป็นผู้ที่จำเลยรักใคร่นับถือไม่ได้พบกันมานานและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน เมื่อจำเลยพบผู้เสียหาย จำเลยรู้สึกอยากจะหยอกเล่นและทำให้ผู้เสียหายตกใจประกอบกับความคึกคะนองและความมึนเมาสุราจำเลยจึงเข้าไปยืนใกล้และใช้อาวุธปืนสั้นของจำเลยยิงไปทางที่ผู้เสียหายนอนตะแคงอยู่บนเรือนหันหน้ามาทางจำเลย 1 นัด กระสุนปืนถูกฝาเรือนเหนือไหล่ซ้ายผู้เสียหาย 7 นิ้วฟุต ดังนี้น่าเชื่อว่าจำเลยตั้งใจจะหยอกล้อผู้เสียหายเล่น หาใช่เพราะตั้งใจจะฆ่าแต่อย่างใดไม่