พบผลลัพธ์ทั้งหมด 530 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์: การปล่อยปละละเลยทำให้ขาดสิทธิฟ้องเรียกคืน
เดิมที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมี น.ส.3 ของโจทก์ ต่อมา พ.ศ. 2511 ย. ได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนดผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ย. โฉนดออกให้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2513 และต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2514 ย. ได้ขายที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานว่า ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ย. และจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องกัน จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานดังกล่าว ส่วนที่ดินโจทก์เป็นที่ น.ส.3 ผู้ยึดถือมีเพียงสิทธิครอบครองตลอดเวลาที่ยังคงยึดถืออยู่ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกแย่งการครอบครองจะต้องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องหรือเรียกคืนการครอบครองเสียภายใน 1 ปี ตามมาตรา 1374, 1375 เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองไม่เคยเข้าไปครอบครองที่พิพาทจริงจัง เพิ่งรู้ว่ามีการบุกรุกออกโฉนดทับที่เมื่อโจทก์ไปขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของตนเมื่อต้นปี พ.ศ. 2513 และโจทก์จะขอเจรจากับ ย. เจ้าของที่ดินในขณะนั้นก็ถูกปฏิเสธ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่พิพาท แสดงว่าโจทก์รู้ว่าถูกแย่งการครอบครองตั้งแต่ขณะนั้น โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร คงปล่อยปละละเลยเพิ่งมาฟ้องคดีขอให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2517 เกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งสิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องและการฟ้องเพิกถอนโฉนดเกินกำหนด 1 ปี สิทธิครอบครองเดิมไม่ได้รับการปกป้อง
เดิมที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมี น.ส.3 ของโจทก์ ต่อมา พ.ศ.2511 ย. ได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนดผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ย. โฉนดออกให้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2512 และต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2514 ย. ได้ขายที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ย. และจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องกันจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานดังกล่าว ส่วนที่ดินโจทก์เป็นที่ น.ส.3. ผู้ยึดถือมีเพียงสิทธิครอบครองตลอดเวลาที่ยังคงยึดถืออยู่ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกแย่งการครอบครองจะต้องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องหรือเรียกคืนการครอบครองเสียภายใน 1 ปี ตามมาตรา 1374,1375 เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองไม่เคยเข้าไปครอบครองที่พิพาทจริงจัง เพิ่งรู้ว่ามีการบุกรุกออกโฉนดทับที่ เมื่อโจทก์ไปขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของตนเมื่อต้นปี พ.ศ.2513 และโจทก์จะขอเจรจากับ ย. เจ้าของที่ในขณะนั้นก็ถูกปฏิเสธ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่พิพาทแสดงว่าโจทก์รู้ว่าถูกแย่งการครอบครองตั้งแต่ขณะนั้น โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร คงปล่อยปละละเลยเพิ่งมาฟ้องคดีขอให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2517 เกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งสิทธิครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินเจตนาพยายามฆ่าจากวัตถุระเบิด: ขนาดและแรงระเบิดมีผลต่อการบรรลุผล
จำเลยขว้างวัตถุระเบิดขนาดเล็กมาตกระเบิดห่างผู้เสียหาย 2 เมตรขณะผู้เสียหายบังเสาไฟฟ้าหลบอยู่ ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายจากการระเบิดนั้น ปรากฏว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยใช้เป็นวัตถุจำพวกคลอเรตหุ้มด้วยพลาสติก จำนวนวัตถุระเบิดและชิ้นส่วนที่ใส่ผสมมีแรงระเบิดเพียงสามารถทำอันตรายต่อร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายได้เท่านั้นดังนี้ การขว้างระเบิดของจำเลยย่อมไม่สามารถบรรลุผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้กรณีจึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่าด้วยวัตถุระเบิดขนาดเล็ก ศาลพิจารณาถึงความร้ายแรงของวัตถุระเบิดและผลกระทบต่อผู้ถูกทำร้าย
จำเลยขว้างวัตถุระเบิดขนาดเล็กมาตกระเบิดห่างผู้เสียหาย 2 เมตร ขณะผู้เสียหายบังเสาไฟหลบอยู่ ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายจากการระเบิดนั้น ปรากฏว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยใช้เป็นวัตถุจำพวกคลอเรตหุ้มด้วยพลาสติก จำนวนวัตถุระเบิดและชิ้นส่วนที่ใส่ผสมมีแรงระเบิดเพียงสามารถทำอันตรายต่อร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายได้เท่านั้น ดังนี้ การขว้างระเบิดของจำเลยย่อมไม่สามารถบรรลุผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ กรณีจึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทั้งสองฝ่าย ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ในกรณีรถชนกันเมื่อทั้งสองฝ่ายต่างขับรถมาด้วยความประมาทเลินเล่อ และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามฆ่า: แรงระเบิดไม่ถึงแก่ชีวิต
จำเลยขว้างวัตถุระเบิดขนาดเล็กมาตกระเบิดห่างผู้เสียหาย2 เมตร ขณะผู้เสียหายบังเสาไฟฟ้าหลบอยู่ ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายจากการระเบิดนั้น ปรากฏว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยใช้เป็นวัตถุจำพวกคลอเรตหุ้มด้วยพลาสติก จำนวนวัตถุระเบิดและชิ้นส่วนที่ใส่ผสมมีแรงระเบิดเพียงสามารถทำอันตรายต่อร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายได้เท่านั้น ดังนี้ การขว้างระเบิดของจำเลยย่อมไม่สามารถบรรลุผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ กรณีจึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการมอบเอกสารประกันหนี้ ทำให้ผูกพันตามสัญญาจำนอง แม้จำเลยที่ 2 จะไม่รู้ข้อตกลงเดิม
โจทก์มอบ น.ส.3 และหนังสือมอบอำนาจที่ลงแต่ลายมือชื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ค่าปุ๋ยที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงระหว่างกันว่า เมื่อโจทก์ชำระค่าปุ๋ยเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องคืน น.ส.3 และใบมอบอำนาจให้โจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่ากระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ซึ่งโจทก์ต้องเสี่ยงภัยกับการกระทำของตนเอง เมื่อจำเลยที่ 1 นำใบมอบอำนาจไปกรอกข้อความโดยปราศจากอำนาจ ทำนิติกรรมจำนองที่ดิน น.ส.3 ของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ค่าปุ๋ยที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากจำเลยที่ 2 และกรณีไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโดยไม่สุจริตประการใด โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาจำนองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการผูกพันตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็น
โจทก์มอบ น.ส.3 และหนังสือมอบอำนาจที่ลงแต่ลายมือชื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าปุ๋ยโดยตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องคืนเมื่อโจทก์ชำระค่าปุ๋ยแล้ว แต่จำเลยที่ 1 กลับนำไปทำสัญญาจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้ถึงข้อตกลงพฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าได้กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโจทก์จึงต้องเสี่ยงภัยกับการกระทำของตนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นในที่รโหฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ครอบครองมีข้อจำกัดทางร่างกาย
การค้นในที่รโหฐานนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 บัญญัติให้ทำการค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น เท่าที่สามารถจะทำได้ หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอย่างอื่น 2 คน ซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าสามารถทำการค้นได้ต่อหน้าคนอื่น ฉะนั้น การที่จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานทำการค้นบ้านโจทก์ต่อหน้ามารดาโจทก์และบุคคลอื่นอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งจำเลยขอร้องมาเป็นพยาน จึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำเท่าที่สามารถจะทำได้ และไม่อาจหาบุคคลอื่นใดมาเป็นพยานในการค้นของจำเลยมากไปกว่านั้น ถือได้ว่าเป็นการค้นที่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นที่รโหฐาน: การค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่เจ้าพนักงานขอร้องเป็นพยาน ถือเป็นการชอบ
การค้นในที่รโหฐานนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 102 บัญญัติให้ทำการค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น เท่าที่สามารถจะทำได้ หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อย 2 คน ซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าสามารถทำการค้นได้ต่อหน้าคนอื่น ฉะนั้น การที่จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานทำการค้นบ้านโจทก์ต่อหน้ามารดาโจทก์และบุคคลอื่นอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งจำเลยขอร้องมาเป็นพยาน จึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำเท่าที่สามารถจะทำได้ และไม่อาจจะหาบุคคลอื่นใดมาเป็นพยานในการค้นของจำเลยมากไปกว่านั้น ถือได้ว่าเป็นการค้นที่ชอบ