คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม จาละ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 530 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ.2497
จำเลยจัดให้มีการเดินรถยนต์โดยสารที่เรียกว่ารถทัวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่ง วิ่งรับส่งผู้โดยสารโดยเก็บค่าโดยสารจากต้นทางถึงปลายทางเป็นรายบุคคล มีกำหนดเวลาออกรถแน่นอนทุกวันเป็นประจำ ผู้โดยสารที่มากับรถยนต์จำเลยต่างมาธุรกิจส่วนตัว มิใช่มาท่องเที่ยว และมิได้มีการนำเที่ยวแต่อย่างใด พฤติการณ์แสดงชัดว่าจำเลยดำเนินกิจการรับขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้างธรรมดา หาใช่เป็นการจัดให้มีการทัศนาจรโดยจ้างเหมาเป็นเที่ยวๆ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างอันเป็นกิจการที่จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 10 เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ต้องมีความผิดตามมาตรา 59 ไม่ว่ารถยนต์ที่จำเลยนำมาใช้เพื่อกิจการของจำเลยดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือของผู้อื่น
บทบัญญัติมาตรา 10 ว่าด้วยการประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตกับมาตรา 14 ว่าด้วยผู้ได้รับอนุญาตขนส่งสาธารณะทำการขนส่งแข่งขันในเส้นทางของผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น เป็นกรรมความผิดแยกต่างหากจากกันเมื่อจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องและมิได้หลงข้อต่อสู้ แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497มาตรา 10,14,59,60 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะข้อประกอบการขนส่งโดยมิได้รับอนุญาต และระบุเจาะจงขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10,59 แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์โต้แย้งในข้อหาความผิดตามมาตรา 14,60 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 14,60 ไม่ได้ เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและการขาดจากกันเนื่องจากความตาย ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิคู่สมรสเดิม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิม จ.จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก่อนโจทก์บวชเป็นพระภิกษุและยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต่อมา จ.ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก หลังจากนั้น จ.ได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน โจทก์จึงมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ จ.เป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่อ จ.ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างจำเลยกับ จ.ได้ขาดจากกันเพราะเหตุ จ.ถึงแก่ความตายมาตรา 1497 แล้ว เมื่อการสมรสซ้อนของจำเลยกับ จ.ขาดจากกันแล้วขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนนั้นจึงไม่มีกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะคู่สมรสเดิมแต่อย่างใด และตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของผู้ตาย หรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและอำนาจฟ้อง: เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงก่อนฟ้อง สิทธิของคู่สมรสเดิมย่อมไม่ได้รับผลกระทบ
เดิม จ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก่อนโจทก์บวชเป็นพระภิกษุและยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต่อมา จ. ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก หลังจากนั้น จ. ได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน โจทก์จึงมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. เป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่อ จ. ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. ได้ขาดจากกันเพราะเหตุ จ. ถึงแก่ความตายตามมาตรา 1497 แล้ว เมื่อการสมรสซ้อนของจำเลยกับ จ.ขาดจากกันแล้วขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะคู่สมรสเดิมแต่อย่างใด และตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนเฉพาะผู้ถูกใช้
ล.ยิงผู้ตาย 1 ยีดแล้ว จำเลยร้องบอกให้ ล.ยิงผู้ตายซ้ำ แต่ล.ไม่ได้ยิงซ้ำ หากแต่มีคนอื่นยิงผู้ตายอีก ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดว่า จำเลยใช้ให้ ล.ใช้ปืนยิงผู้ตายไม่ได้กล่าวเลยว่าจำเลยใช้บุคคลอื่นนอกจาก ล. ฉะนั้น การที่คนอื่นซึ่งมิใช่ ล.เป็นคนยิงซ้ำจะถือว่าจำเลยใช้ให้คนอื่นกระทำความผิดด้วยและผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดแล้วหาได้ไม่ จำเลยคงมีความผิดฐานใช้ให้ ล.กระทำความผิด แต่ ล.ไม่ได้กระทำลงตามที่จำเลยใช้ซึ่งมีโทษเพียงหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางอาญาของผู้ใช้ให้กระทำความผิด เมื่อผู้ถูกใช้ไม่ได้ลงมือตามที่สั่ง และมีการกระทำความผิดโดยผู้อื่น
ล. ยิงผู้ตาย 1 นัดแล้ว จำเลยร้องบอกให้ ล. ยิงผู้ตายซ้ำ แต่ ล. ไม่ได้ยิงซ้ำหากแต่มีคนอื่นยิงผู้ตายอีก ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดว่า จำเลยใช้ให้ ล. ใช้ปืนยิงผู้ตายไม่ได้กล่าวเลยว่าจำเลยใช้บุคคลอื่นนอกจาก ล. ฉะนั้น การที่คนอื่นซึ่งมิใช่ ล. เป็นคนยิงซ้ำจะถือว่าจำเลยใช้ให้คนอื่นกระทำความผิดด้วยและผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดแล้วหาได้ไม่ จำเลยคงมีความผิดฐานใช้ให้ ล. กระทำความผิด แต่ ล. ไม่ได้กระทำลงตามที่จำเลยใช้ซึ่งมีโทษเพียงหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกง จำเป็นต้องระบุจำนวนเงินที่เสียหายหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็น
บรรยายฟ้องว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตได้หลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกับโจทก์ ซึ่งมีข้อสัญญายอมให้โจทก์ไปเก็บเงินตามบัญชีที่ลูกค้าค้างชำระร้านน่ำกี่หรือปั้งน่ำกี่มาเป็นประโยชน์ของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์นำบัญชีที่ลูกค้าค้างชำระจากจำเลยไปเก็บเงินปรากฏว่าจำเลยไปเก็บเงินจากลูกค้าไปก่อนแล้ว โดยไม่บอกให้โจทก์ทราบขณะทำสัญญาการหลอกลวงโดยปกปิดความจริงดังกล่าว โจทก์หลงเชื่อจึงไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์สินอื่นที่จำเลยได้เอาไปจากโจทก์ ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินและสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ เช่นนี้เป็นฟ้องที่ได้บรรยายครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง พอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ไม่จำต้องบรรยายว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเงินเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดซึ่งจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องฉ้อโกงครบองค์ประกอบ แม้ไม่ระบุจำนวนเงินเสียหาย เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบ
บรรยายฟ้องว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตได้หลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกับโจทก์ ซึ่งมีข้อสัญญายอมให้โจทก์ไปเก็บเงินตามบัญชีที่ลูกค้าค้างชำระร้านน่ำกี่หรือปั้งน่ำกี่มาเป็นประโยชน์ของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์นำบัญชีที่ลูกค้าค้างชำระจากจำเลยไปเก็บเงินปรากฏว่าจำเลยไปเก็บเงินจากลูกค้าไปก่อนแล้ว โดยไม่บอกให้โจทก์ทราบขณะทำสัญญาการหลอกลวงโดยปกปิดความจริงดังกล่าว โจทก์หลงเชื่อจึงไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์สินอื่นที่จำเลยได้เอาไปจากโจทก์ ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ ของโจทก์ เช่นนี้เป็นฟ้องที่ได้บรรยายครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง พอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ไม่จำต้องบรรยายว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเงินเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดซึ่งจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่น – การขอพิจารณาใหม่
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารสิทธิและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ การกระทำผิดฐานยักยอกและการกระทำความผิดต่างกรรม
โฉนดและหนังสือมอบอำนาจซึ่งผู้เสียหายลงแต่ลายมือชื่อให้ไว้และอยู่ในความครอบครองของสามีจำเลยที่ 1 เมื่อสามีตายได้ตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาได้มีการกรอกข้อความปลอม กับปลอมลายมือชื่อนายอำเภอผู้รับรอง และปลอมรอยดวงตราอำเภอลงในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1ที่ 2 ร่วมกันนำไปแสดงเป็นหลักฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อหนังสือมอบอำนาจ ได้ทำการโอนและแก้ทะเบียนโฉนดฉบับหลวงด้วยแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268,252,267 แต่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นการกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 252 ซึ่งเป็นบทหนักแต่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันเอาโฉนดพิพาทซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหายไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และเป็นการกระทำต่างกรรมกับที่จำเลยกระทำมาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 188 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
of 53