พบผลลัพธ์ทั้งหมด 530 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ การกระทำผิดฐานยักยอกและการกระทำความผิดต่างกรรม
โฉนดและหนังสือมอบอำนาจซึ่งผู้เสียหายลงแต่ลายมือชื่อให้ไว้และอยู่ในความครอบครองของสามีจำเลยที่ 1 เมื่อสามีตายได้ตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาได้มีการกรอกข้อความปลอม กับปลอมลายมือชื่อนายอำเภอผู้รับรอง และปลอมรอยดวงตราอำเภอลงในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1ที่ 2 ร่วมกันนำไปแสดงเป็นหลักฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อหนังสือมอบอำนาจ ได้ทำการโอนและแก้ทะเบียนโฉนดฉบับหลวงด้วยแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268,252,267 แต่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นการกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 252 ซึ่งเป็นบทหนักแต่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันเอาโฉนดพิพาทซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหายไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และเป็นการกระทำต่างกรรมกับที่จำเลยกระทำมาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 188 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลมีสิทธิคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
แม้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 จะบัญญัติไว้ทำนองเดียวกันว่าบรรดาอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิดฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษฯ หรือไม่ก็ตามก็มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าว มีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ได้กรณีต้องตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 คือผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องไม่เป็นสาระสำคัญ หากพยานหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง ศาลลงโทษได้
ฟ้องระบุวันเกิดเหตุ 11 ตุลาคม ได้ความว่าเกิดเหตุวันที่ 11 เมษายน วันเวลาเกิดเหตุไม่ใช่สารสำคัญ เป็นแต่รายละเอียด จำเลยไม่หลงต่อสู้ ลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาเอาทรัพย์ไปเข้าข่ายเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกคนโดยสารขนาดเล็กไปจอดท้ายรถจี๊ปของผู้เสียหายเห็นมีถังน้ำมันอยู่ท้ายรถ จำเลยกับพวกจึงร่วมกันลักถังน้ำมันจากท้ายรถจี๊ปดังกล่าวนำมาไว้ที่รถจำเลย ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาเอาทรัพย์ไป ต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาเอาทรัพย์ไป ถือเป็นเหตุฉกรรจ์ตามกฎหมาย
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกคนโดยสารขนาดเล็กไปจอดท้ายรถจี๊ปของผู้เสียหาย เห็นมีถังน้ำมันอยู่ท้ายรถ จำเลยกับพวกจึงร่วมกันลักถังน้ำมันจากท้ายรถจี๊ปดังกล่าวนำมาไว้ที่รถจำเลย ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาเอาทรัพย์ไป ต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามข่มขืนเด็กหญิง: การกระทำแม้ไม่สำเร็จความใคร่ก็ถือเป็นความผิด
จำเลยอายุ 67 ปี เอาของลับทิ่มแทงเข้าไปในของลับของเด็กหญิงอายุ 4 ขวบเศษ ช้ำแดง เยื่อพรหมจารีด้านล่างฉีกขาด ไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปในช่องคลอดได้ เป็นพยายามข่มขืนชำเรา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลฟ้องหย่าและการกล่าวถึงบุคคลอื่นในคำฟ้อง ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
จำเลยฟ้องขอหย่าขาดกับสามีโดยอ้างเหตุว่าสามีไปติดพันหญิงอื่นคือโจทก์และสามีได้ไปอยู่กินกับโจทก์อย่างเปิดเผย ดังนี้ เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งจำเลยมีความจำเป็นจะต้องกล่าวในฟ้องให้สามีจำเลยเข้าใจข้อหาโดยชัดเจน ถือได้ว่าเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลของคู่ความเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จึงไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยไม่สุจริต จึงถือไม่ได้ด้วยว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และการซื้อโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาเป็นบันทึกข้อตกลงในเรื่องบุตรและทรัพย์สินมีใจความว่า บุตรอยู่ในความอุปการะทั้งสองฝ่าย โจทก์ที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ 3 แปลงยอมยกให้แก่บุตรทั้ง 7 คน จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ 2 แปลง ที่ดินแปลงที่ 1 เป็นสวนยกให้แก่บุตรที่ชื่อ ร. ที่ดินที่เป็นที่นาพร้อมบ้าน 1 หลัง ยกให้แก่บุตรทั้ง 7 คน ห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอน ทั้งสองฝ่ายจะไปโอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรในวันที่ 22มกราคม 2517 ดังนี้ เห็นได้ว่าบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 นั้น ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะเกิดมีขึ้นภายหน้าให้เสร็จสิ้นไป ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา และได้โอนขายที่ดิน (ที่นา) ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ทราบข้อตกลง ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ในการแบ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการยกที่พิพาทให้บุตรตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังรับซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบและเป็นการรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา และได้โอนขายที่ดิน (ที่นา) ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ทราบข้อตกลง ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ในการแบ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการยกที่พิพาทให้บุตรตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังรับซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบและเป็นการรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้วด้วยเหตุฟ้องซ้ำ ย่อมเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
ปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 149/2517 โดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยร้องเท็จขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีหมายเลขแดงที่ 433/2516 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทของจำเลยในคดีนั้นเสีย และให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147, 148 คดีถึงที่สุดโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุผลอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน และขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 149/2517 นั้นถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุผลว่า เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 433/2516 แล้ว โจทก์จะนำคดีซึ่งเคยถูกยกฟ้องด้วยเหตุฟ้องซ้ำมารื้อร้องฟ้องอีกหาได้ไม่ เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีถึงที่สุดแล้วห้ามฟ้องร้องประเด็นเดียวกันซ้ำอีก
ปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 149/2517 โดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยร้องเท็จขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีหมายเลขแดงที่ 433/2516 ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทของจำเลยในคดีนั้นเสีย และให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147, 148 คดีถึงที่สุดโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุผลอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน และขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ดังนี้ เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 149/2517 นั้นถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุผลว่าเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 433/2516 แล้วโจทก์จะนำคดีซึ่งเคยถูกยกฟ้องด้วยเหตุฟ้องซ้ำมารื้อร้องฟ้องอีกหาได้ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 148