พบผลลัพธ์ทั้งหมด 530 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะคู่สัญญาและการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำเลยไม่ได้ผูกพันหนี้ส่วนตัว และหนี้จากการกระทำดังกล่าวไม่อาจกำหนดจำนวนได้
จำเลยเข้าทำสัญญาในฐานะรับมอบอำนาจจากผู้อื่น จึงไม่ใช่ คู่สัญญาเป็นส่วนตัวการกระทำที่ว่าจำเลยยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของลูกหนี้หลอกว่าจะชำระหนี้แทนลูกหนี้ ก็เป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนที่จะฟ้องล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีตามคำสั่งศาลทำให้ศาลมีอำนาจยกคำร้อง และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องใหม่
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว แต่จำเลยไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องดังกล่าวให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาล ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลย่อมสั่งยกคำร้องได้
เมื่อศาลสั่งยกคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งกลับยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกนั้นอีกอ้างว่าทนายของจำเลยทิ้งคดีไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่งและจำเลยอยู่ต่างจังหวัดดังนี้ไม่เป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ศาลยกไปแล้วอีกได้ เพราะเป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเองที่ไม่เอาใจใส่ในคดีของตนและจำเลยจะอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
เมื่อศาลสั่งยกคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งกลับยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกนั้นอีกอ้างว่าทนายของจำเลยทิ้งคดีไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่งและจำเลยอยู่ต่างจังหวัดดังนี้ไม่เป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ศาลยกไปแล้วอีกได้ เพราะเป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเองที่ไม่เอาใจใส่ในคดีของตนและจำเลยจะอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีตามคำสั่งศาล และการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ศาลยกคำร้องได้
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว แต่จำเลยไม่นำส่งหมายนัด และสำเนาคำร้องดังกล่าวให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาล ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลย่อมสั่งยกคำร้องได้
เมื่อศาลสั่งยกคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งกลับยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกนั้นอีก อ้างว่าทนายของจำเลยทิ้งคดีไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่ง และจำเลยอยู่ต่างจังหวัด ดังนี้ไม่เป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ศาลยกไปแล้วอีกได้ เพราะเป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเองที่ไม่เอาใจใส่ในคดีของตน และจำเลยจะอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
เมื่อศาลสั่งยกคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งกลับยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกนั้นอีก อ้างว่าทนายของจำเลยทิ้งคดีไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่ง และจำเลยอยู่ต่างจังหวัด ดังนี้ไม่เป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ศาลยกไปแล้วอีกได้ เพราะเป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเองที่ไม่เอาใจใส่ในคดีของตน และจำเลยจะอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้จากการค้ำประกันและการประเมินราคาที่ดินที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
โจทก์ซื้อเชื่อปุ๋ยจาก ก. มาขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ค้ำประกันโจทก์ต่อ ก. จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินแก่ธนาคารประกันหนี้ของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เองต่อธนาคาร โจทก์ไม่ใช้ราคาปุ๋ยแก่ ก. ธนาคารใช้เงินแก่ ก.ไป 800,000บาทตามวงเงินที่ค้ำประกัน ดังนี้ โจทก์ต้องใช้เงินนี้แก่ธนาคาร ที่ดินที่จำเลยที่ 1 จำนองราคาจริง 120,000 บาท แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารประเมินไว้ 2 ล้านบาท โจทก์สืบรู้เอง ไม่ใช่ธนาคารแจ้งแก่โจทก์โจทก์อ้างว่าเสียหายเพราะเข้าใจราคาที่ดินที่จำนองผิด จึงให้ธนาคารค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ แม้คนของธนาคารทุจริตโจทก์ ก็ไม่พ้นความรับผิดต่อธนาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกทรัพย์สินระหว่างคู่ไม่สมรส: ที่ดินยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว, ห้องแถวปลูกร่วมกันเป็นทรัพย์สินร่วม
หญิงชายอยู่ร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส มารดาหญิงยกที่ดินให้หญิง ไม่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายหญิง ส่วนห้องแถวปลูกในที่ดินโดยชายหญิงร่วมกันปลูกด้วยแรงหรือด้วยเงินของฝ่ายใด ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน ชายถูกยึดทรัพย์หญิงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีตราจองทำประโยชน์แล้ว ถือเป็นกรรมสิทธิ์ ครอบครองปรปักษ์ 10 ปี
ที่ดินมีตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว เป็นที่มีกรรมสิทธิ์ ตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 มาตรา11วรรคสอง ต้องครอบครองปรปักษ์ 10 ปี ตาม มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีฟ้องแย้งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ดังนั้น เมื่อคดีตามฟ้องแย้งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามฟ้องในข้อเท็จจริงเนื่องจากทุนทรัพย์ฟ้องแย้งไม่เกินห้าหมื่นบาท แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทดังนั้น เมื่อคดีตามฟ้องแย้งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายโค: กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน ความรับผิดเมื่อโคถูกลัก
ซื้อขายโคที่อายุยังไม่ถึงทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณ ซึ่งมีข้อสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอน เป็นสัญญาจะซื้อขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน แต่ได้มอบโคให้ผู้ซื้อไปแล้ว โคถูกลักไปไม่ปรากฏว่าโทษผู้ซื้อได้ ผู้ขายเรียกราคาโคไม่ได้