คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ผสม จิตรชุ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 619 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง การสวมสิทธิจำเลยต้องระบุข้อกฎหมายรองรับ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาลอย ๆ ว่า โจทก์มีสิทธิจะสวมสิทธิจำเลยต่อผู้ร้องได้ตามกฎหมายเท่านั้น มิได้ยกข้อกฎหมายขึ้นกล่าวอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิจะสวมสิทธิจำเลยต่อผู้ร้องได้ตามกฎหมายข้อใดประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: สิทธิการสวมสิทธิจำเลยต้องระบุข้อกฎหมายชัดเจน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาลอย ๆ ว่า โจทก์มีสิทธิจะสวมสิทธิจำเลยต่อผู้ร้องได้ตามกฎหมายเท่านั้น มิได้ยกข้อกฎหมายขึ้นกล่าวอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิจะสวมสิทธิจำเลยต่อผู้ร้องได้ ตามกฎหมายข้อใดประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้องตามความเป็นจริงซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วิ (7)และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าวกฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปเจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1)บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี(นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ)จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าตาม ปร. 87 ทวิ (7) และ 88 ทวิ (1)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าว กฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1) บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี (นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ) จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายไม่ซ้ำ แม้เคยฟ้องแล้ว แต่หนี้ต่างกัน: หนี้ยังไม่ตั้งหลักฐาน vs. หนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย โดยอาศัยหนี้ที่ยังมิได้ตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาล ต่อมาหนี้ดังกล่าวได้ตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลแล้ว โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายไม่ซ้ำ หากหนี้เดิมยังไม่ตั้งหลักฐาน แต่คดีใหม่มีคำพิพากษาแล้ว
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย โดยอาศัยหนี้ที่ยังมิได้ตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาล ต่อมาหนี้ดังกล่าวได้ตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลแล้ว โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้และอยู่ในฐานะที่จะรู้
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มา โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษ โดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นกัน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้สิทธิและพยานหลักฐาน
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษโดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นนั้น
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของคนต่างด้าว: ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขประมวลกฎหมายที่ดิน
โจทก์ซึ่งชนะคดีได้นำยึดที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์อ้างว่าเป็นที่ดินของผู้ร้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นคนต่างด้าวสัญชาติจีน และการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 8(พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 2 และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามความในมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินด้วย ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะอ้างว่ามีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่ได้ เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของคนต่างด้าว: ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ดินอย่างเคร่งครัด
โจทก์ซึ่งชนะคดีได้นำยึดที่ดินมือเปล่าแปลงหนึ่งเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์อ้างว่าเป็นที่ดินของผู้ร้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นคนต่างด้าวสัญชาติจีน และการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการ ซึ่งกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามความในมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินด้วย ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะอ้างว่ามีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่ได้ เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่พิพาทในคดีนี้ได้
of 62