คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 591

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้, สัญญาค้ำประกัน, และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าซ่อมแซมอาคารที่ชำรุด เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172เดิม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างเจาะน้ำบาดาลเมื่ออุปกรณ์ที่ผู้ว่าจ้างจัดหามามีความบกพร่อง
โจทก์จ้างจำเลยให้เจาะน้ำบาดาลให้โจทก์ 1 บ่อ ตามสัญญาสัมภาระที่ต้องใช้ก็คือท่อกรองน้ำ ท่อน้ำ เครื่องปั๊มน้ำฯลฯ จึงถือได้ว่าการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเป็นส่วนหนึ่งของการเจาะบ่อน้ำบาดาลปั๊มน้ำฝ่ายผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสิ่งของเหล่านี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้จัดหามาก็ตาม ต้องถือว่าเป็นสัมภาระใช้ในการเจาะบ่อน้ำบาดาลอยู่นั่นเองหากการงานที่ทำเกิดการบกพร่องสูบน้ำไม่ได้ปริมาณตามสัญญา เป็นเพราะ ความบกพร่องของปั๊มน้ำที่โจทก์จัดหามา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างเจาะน้ำบาดาลเมื่อบกพร่องจากอุปกรณ์ที่ผู้ว่าจ้างจัดหา
โจทก์จ้างจำเลยให้เจาะน้ำบาดาลให้โจทก์ 1 บ่อ ตามสัญญาสัมภาระที่ต้องใช้ก็คือท่อกรองน้ำ ท่อน้ำ เครื่องปั๊มน้ำ ฯลฯ จึงถือได้ว่าการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเป็นส่วนหนึ่งของการเจาะบ่อน้ำบาดาล ปั๊มน้ำฝ่ายผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหา สิ่งของเหล่านี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้จัดหามาก็ตามต้องถือว่าเป็นสัมภาระใช้ในการเจาะบ่อน้ำบาดาลอยู่นั่นเอง หากการงานที่ทำเกิดการบกพร่องสูบน้ำไม่ได้ปริมาณตามสัญญา เป็นเพราะความบกพร่องของปั๊มน้ำที่โจทก์จัดหามา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางต้องมีนิติกรรมที่ใช้บังคับได้ทั้งสองอัน การอ้างนิติกรรมต่างจากที่จดทะเบียนเป็นข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก หมายถึงบุคคลสองฝ่ายมิได้มีเจตนาที่จะผูกพิติสัมพันธ์กันอย่างไรเลย หากแต่แสร้งทำเป็นนิติกรรมขึ้นเพื่อลวงบุคคลภายนอก กฎหมายจึงยอมให้บุคคลทั้งสองฝ่ายน้นอ้างอิงความไม่สมบูรณืของนิติกรรมนั้น เพื่อแสดงว่าเป็นโมฆะได้ ส่วนวรรคสองหมายถึงบุคคลสองฝ่ายตกลงกันทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่ไม่แสดงเจตนาออกเช่นนั้น แสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่ง เพื่ออำพรางนิติกรรมที่เขาแสดงเจตนาอันแท้จริงผูกนิติสัมพันธ์กันขึ้นนั้น กฎหมายจึงให้บังคับตามเจตนาอันแท้จริงที่เขาผูกนิติสัมพันธ์กันนั้นได้
ในกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาตกลงกับโจทก์และจดทะเบียนแสดงเจตนานั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของจำเลยไปให้โจทก์เป็นการขายฝากแล้วนั้น จำเลยจะขอสืบพยานว่าพฤติการณ์เป็นจำนองโดยไม่มีสัญญาจำนองอันแท้จริงอีกอันหนึ่งเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)