คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 89 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำใบกำกับภาษีระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขามาใช้ผิดประเภท และการงดเบี้ยปรับเมื่อผู้เสียภาษีเข้าใจผิด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่,87 และ 86วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า เป็นรายสถานประกอบการ โดยต้องลงรายการในรายงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าเมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกัน ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่ เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์เป็นผู้นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่63,66,70,73,76,80,84,86 ประกอบบัญชีราคาสินค้าเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 64,67,71,74,77,81,83,87โดยใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพาสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มระบุที่อยู่ของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้นใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/10(1) ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 62,65,69,72,75,79,82 และ 85เนื่องจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งใหญ่ของโจทก์ ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 86/14 และมาตรา 77/1(18)(ก) บัญญัติไว้แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อขายการนำเข้า การส่งออกการให้บริการ ออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงต้องนำไปคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่ กับต้องนำไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม บัญญัติไว้ฉะนั้นโจทก์จึงนำใบเสร็จรับเงินตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่62,65,69,72,75,79,82 และ 85 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีไม่ถูกต้องมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อของสถานประกอบการสาขาในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89/1 การที่โจทก์นำใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาดดังกล่าว โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ การที่โจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 นั้น เนื่องจากโจทก์ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วน 7มาตรา 83 วรรคสอง จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับโดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีจนถึงวันชำระภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มนี้แม้จะเป็นภาษีอากรประเมินแต่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ดังเช่นที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้..LONG

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ที่ 1 ประกอบธุรกิจจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ (ReadyMixedConcrete) เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์ที่ 1 จะแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ส่งคอนกรีตผสมเสร็จให้แก่ลูกค้าโดยใช้รถยนต์บรรทุกที่มีเครื่องผสมคอนกรีตในตัว ทำการผสมคอนกรีตตามอัตราส่วนหรือสูตร ที่ลูกค้ากำหนด แล้วนำไปเทยังหน่วยงานที่ลูกค้ากำหนดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับลูกค้า ต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์หรือคอนกรีตผสมเสร็จ เพื่อตอบแทนการใช้ราคาอันเข้าลักษณะของสัญญาซื้อขายคู่สัญญามิได้หวังผลสำเร็จในการงานเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เป็นสัญญาจ้างทำของ โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทรับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การส่งหมายเรียก และการระบุประเภทรายได้ที่ต้องเสียภาษี
เจ้าพนักงานนำหมายเรียกไปส่งยังสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันซึ่งโจทก์เคยประกอบการค้าแต่ไม่มีผู้รับจึงทำการปิดหมายเรียกไว้ณ ที่นั้นเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งเลิกกิจการค้าหรือย้ายสำนักงานที่ประกอบการค้านั้นไปที่อื่นจะถือว่าการส่งหมายเรียกไม่ชอบไม่ได้และการที่โจทก์ไม่นำส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีมาให้เจ้าพนักงานตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)
รายได้จากการรับฝากรถต้องเสียภาษีการค้าประเภทคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสินค้าไทยศิลาดลประกอบเป็นโคมไฟฟ้า: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นโคมไฟฟ้า ไม่ใช่ศิลปวัตถุ
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าไทยศิลาดลชนิดต่างๆ เพื่อขาย ได้เอาปลั๊ก สายไฟ โป๊ะไฟซึ่งใช้ผ้าไหมไทยทำด้วยมืออย่างประณีตมีราคาแพง ติดเข้ากับสินค้าไทยศิลาดลทำเป็นตะเกียงแล้วขายไปด้วยกัน โป๊ะกับคนโทศิลาดลมีราคาใกล้เคียงกันและโป๊ะมีราคามากกว่าคนโท เมื่อเอาเครื่องประกอบทองเหลืองเพื่อติดหลอดไฟรวมเข้ากับโป๊ะด้วยจะยิ่งมีราคามากขึ้นไปอีกจึงจะถือว่าสินค้าไทยศิลาดลของโจทก์เป็นทรัพย์ประธานเสมอไปหาได้ไม่ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏว่าได้มีการเจาะก้นแจกันศิลาดลเพื่อยึดโคมไฟฟ้าไว้ให้มั่นคงแข็งแรงสินค้าไทยศิลาดลของโจทก์ซึ่งได้ประกอบเข้ากันกับเครื่องไฟฟ้าและโป๊ะไฟ จึงเป็นแต่ชิ้นส่วนของโคมไฟฟ้า ทั้งตามเอกสารที่โจทก์อ้างมีภาพสินค้าไทยศิลาดลกับโป๊ะไฟด้วยกันและภาษาอังกฤษบรรยายประกอบ เห็นว่าเป็นภาพโฆษณาสินค้าไทยศิลาดลที่ทำเป็นโคมไฟฟ้าแบบราชวงศ์หมิงแบบขวดน้ำเต้าแบบหม้อชาหรือกาแฟลายมังกร แบบเทพนม แบบเศียรนาคแบบอื่นๆและแบบช้างฉะนั้นสินค้าไทยศิลาดลกับโป๊ะและเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ซึ่งได้ประกอบเข้าด้วยกัน จึงไม่ได้เป็นศิลปวัตถุสำหรับดูเล่นเพื่อความสวยงามหรือเป็นเครื่องประดับแต่เป็นโคมไฟฟ้าตามความเป็นจริง โจทก์จึงต้องเสียภาษีประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 3(ก) ร้อยละ 10 ของรายรับ
of 2