พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6357/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการปูพรมพร้อมยางรอง เป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
การพิจารณาว่ารายรับของโจทก์เป็นรายรับจากการขายแผ่นยางรองพื้นพรมหรือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องพิจารณาตามลักษณะของงานที่ทำและเจตนาของคู่สัญญา ลักษณะการทำงานของโจทก์เป็นการรับจ้างปูพรมให้แก่ลูกค้าแต่ถ้ารายใดต้องการใช้แผ่นยางรองพื้นพรมโจทก์เป็นผู้จัดการหาแผ่นยางรองพื้นพรมให้ โดยซื้อมาจากผู้อื่นแล้วจัดการปูแผ่นยางรองพื้นพรมและปูพรมให้แก่ลูกค้าจนเรียบร้อยโจทก์คิดค่าแรงงานส่วนหนึ่งและราคาแผ่นยางรองพื้นพรมอีกส่วนหนึ่งลักษณะการทำงานของโจทก์เห็นได้ว่า โจทก์ต้องทำงานปูพรมให้แก่ลูกค้าจนสำเร็จและเจตนาของคู่กรณีอยู่ที่ผลสำเร็จแห่งการงานที่ลูกค้าจ้างโจทก์ปูพรมให้แม้โจทก์จะจัดการซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมและขายให้ลูกค้า แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการปูพรมและต้องใช้แผ่นยางรองพื้นพรมเพื่อให้งานที่โจทก์รับจ้างปูพรมสำเร็จผล จึงเป็นเรื่องการรับจ้างทำของ ราคาแผ่นยางรองพื้นพรมจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของอันจะ ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5511-5512/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลซ้ำซ้อนเกิน 5 ปี และการประเมินภาษีการค้าเกิน 10 ปี หลังการยื่นแบบแสดงรายการ
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์ครั้งเดียวภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้ว โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์โจทก์ ถือว่าการเรียกตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกดังกล่าวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมาแจ้งประเมินครั้งที่สองโดยมิได้ออกหมายเรียกมาไต่สวนใหม่ภายในกำหนด 5 ปีนั้นจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเพิ่มไม่ถูกต้องเพราะโจทก์มิได้มีรายรับจากการค้าเพิ่มการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิตตามคำสั่งของกรมสรรพากร ที่ ป.4/2527จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง อันมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 โจทก์ลงลายรับเฉพาะจำนวนที่ได้รับจากลูกช่วงทำไม้หลังจากหักค่าจ้างออกแล้วเป็นการลงรายรับเฉพาะส่วนที่เป็นกำไรเท่านั้นเจ้าพนักงานคิดคำนวณปริมาตรไม้แล้วปรับปรุงบัญชีรายรับของโจทก์ตามราคาที่ขายตามหลักฐานที่ตรวจสอบได้ไม่เป็นการคำนวณรายรับที่ไม่ถูกต้อง ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับของโจทก์ที่เจ้าพนักงานตรวจสอบได้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเข้าข่ายเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ก. หลายครั้งหลายช่วงเวลาและการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกันหรือส่งเงินตราไปนอกราชอาณาจักร โจทก์มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบการค้าดังกล่าวตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ส่วนลดประกันภัยต่อเป็นรายได้, เงินสำรองเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้ในปีถัดไป, รายได้จากการค้าเป็นรายรับ
เมื่อได้รับเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์นำเบี้ยประกันภัยไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเสียหายในกรณีที่ต้องชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้รับส่วนลดหรือค่านายหน้าจากบริษัทที่รับประกันภัยต่อ และได้นำส่วนลดดังกล่าวมาบันทึกเป็นรายได้ในกิจการของโจทก์เงินส่วนลดในการประกันภัยต่อที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้หรือรายรับที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยแม้เงินจำนวนดังกล่าวผู้รับประกันภัยต่อจะนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเป็นคนละนิติบุคคล
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตและการเสียภาษีการค้า แม้ฝ่าฝืนกฎหมายก็ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร ก.หลายครั้งในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2528 โดยโจทก์กู้จากธนาคารก. สาขาฮ่องกง อันเป็นสาขาของธนาคารคู่สัญญาที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ทั้งปรากฏว่าไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกัน อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นได้ว่าคู่สัญญาใช้วิธีหักกลบกันทางบัญชีไม่มีการส่งเงินตราต่างประเทศการกู้ในลักษณะดังกล่าวเป็นการแสดงถึงว่าเพื่อให้ตนมีเงินตราต่างประเทศไว้เพื่อหักถอนบัญชีตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศกันเท่านั้น เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราเป็นปกติธุระ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ก็หาได้หมายความว่า โจทก์มิใช่ผู้ประกอบการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพราะการที่จะพิจารณาว่าโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากกิจการที่โจทก์กระทำเป็นสำคัญ และแม้กิจการที่โจทก์กระทำนั้นจะฝ่าฝืนกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์พ้นจากความรับผิดในการชำระภาษีไม่ แบบแจ้งการประเมินมีข้อความระบุว่า "บริษัทมีรายรับจากกำไรจากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ แต่มิได้นำรายรับดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงประเมินภาษีการค้าพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย" เป็นการระบุรายการที่ประกอบการค้าและเหตุผลที่ประเมินตามแบบที่กำหนดไว้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876-2877/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาที่ดินที่โอนคืนตามสัญญาเดิม แม้มีสัญญาซื้อขาย แต่ไม่มีรายรับจริง ถือว่าไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
บริษัท ส. จัดซื้อที่ดินตามโครงการจัดสรรที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. โดยให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ มีข้อสัญญาว่าหากโครงการระหว่างกันต้องเลิกล้มไป โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่บริษัท ส. เมื่อโครงการดังกล่าวเลิกล้มไปและโจทก์โอนที่ดินคืนให้บริษัท ส. แม้จะทำเป็นสัญญาซื้อขายกันก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินค่าขายที่ดิน โจทก์จึงมิได้มีรายรับจากราคาที่ดินและไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าจากราคาที่ดินดังกล่าว จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษี กรณีพนักงานทำงานให้หลายบริษัท และการเฉลี่ยรายจ่ายระหว่างบริษัท
เมื่อปรากฏว่าพนักงานที่ได้รับเงินเดือนของโจทก์ไม่ได้ทำงานให้บริษัทโจทก์แต่เพียงแห่งเดียว แต่ยังได้ทำงานให้บริษัทอื่นด้วยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ที่เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงานของโจทก์จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี ส่วนรายจ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าวิทยุ โทรพิมพ์และค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรพิมพ์ของโจทก์นั้น เมื่อไม่ได้เป็นรายจ่ายเฉพาะการใช้ในกิจการของโจทก์ หากแต่เป็นรายจ่ายที่รวมอยู่กับการใช้ในกิจการของบริษัทอื่นด้วยโดยไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นส่วนสัดมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามมาตรา 65 ตรี เช่นกัน
โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้า ส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็นรายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้น และถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้องคิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทที่ถูกต้องและเป็นธรรม ทางฝ่ายบริษัท ม. จะต้องคิดมาจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณ ทำให้ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้า ส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็นรายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้น และถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้องคิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทที่ถูกต้องและเป็นธรรม ทางฝ่ายบริษัท ม. จะต้องคิดมาจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณ ทำให้ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยรายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษี กรณีรายได้รวมของสองบริษัท และฐานคำนวณที่ถูกต้อง
เมื่อปรากฏว่าพนักงานที่ได้รับเงินเดือนของโจทก์ไม่ได้ทำงานให้บริษัทโจทก์แต่เพียงแห่งเดียว แต่ยังได้ทำงานให้บริษัทอื่นด้วยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ที่เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงาน ของโจทก์จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี ส่วนรายจ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าวิทยุ โทรพิมพ์ และค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรพิมพ์ของโจทก์นั้น เมื่อไม่ได้เป็นรายจ่ายเฉพาะการใช้ในกิจการของโจทก์ หากแต่เป็นรายจ่ายที่รวมอยู่กับการใช้ ในกิจการของบริษัทอื่นด้วยโดยไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นส่วนสัด มากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่ายที่ ต้องห้ามบางส่วนตามมาตรา 65 ตรี เช่นกัน โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้าส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็น รายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้นและถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้อง คิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัท ที่ถูกต้องและเป็นธรรมทางฝ่ายบริษัทม. จะต้องคิดจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับ ซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณทำให้ ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวนน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่าย ที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากส่วนต่างราคาตั๋วเครื่องบินผ่านตัวแทน ถือเป็นรายรับที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบกิจการบินขนส่งระหว่างประเทศ การที่โจทก์มอบให้ตัวแทนของโจทก์ขายตั๋วเครื่องบินและติดต่อรับขนของทางอากาศ โจทก์จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์แก่ตัวแทนเท่ากับผลต่างระหว่างราคาที่โจทก์เรียกเก็บจากตัวแทนกับราคาที่ตัวแทนเรียกเก็บจากผู้โดยสารและผู้ส่งของในราคาไม่เกินราคาที่ระบุในตั๋วเครื่องบินหรือใบขนของทางอากาศ ผลประโยชน์ดังกล่าวถือเป็นรายรับของโจทก์ส่วนหนึ่งตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 โจทก์จึงต้องคำนวณเอาเงินจำนวนนี้เข้าเป็นรายรับของโจทก์เพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67ด้วย ส่วนที่ตัวแทนต้องนำรายรับดังกล่าวไปเสียภาษีก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลซึ่งต่างต้องรับผิดชอบเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่เกี่ยวถึงความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายรับจากบัตรนำเที่ยว: การคำนวณภาษีถูกต้องตามหลักการทางภาษีอากร
การจัดบริการนำเที่ยวโดยวิธีขายบัตรนำเที่ยว ไม่ว่าโจทก์ขายบัตรนำเที่ยวให้แก่สำนักงานท่องเที่ยวหรือเป็นเรื่องสำนักงานท่องเที่ยวทำหน้าที่เพียงเป็นตัวแทนโจทก์ในการขายบัตรนำเที่ยว โจทก์ก็จะต้องจ่ายผลประโยชน์ให้แก่สำนักงานท่องเที่ยวผลประโยชน์ซึ่งได้แก่ผลต่างของราคาในบัตรนำเที่ยวกับราคาที่โจทก์คิดกับสำนักงานท่องเที่ยวก็คือค่าใช้จ่ายในการขายบัตรนำเที่ยวของโจทก์ ราคาตามบัตรนำเที่ยวจึงเป็นส่วนที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับต้องถือว่าเป็นรายรับของโจทก์ทั้งหมดตามความในมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องคำนวณรายรับของโจทก์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏราคาในบัตรนำเที่ยว จะคำนวณรายรับจากราคาที่คิดจากสำนักงานท่องเที่ยวไม่ได้.