คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 79

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนจากใบลดหนี้ประเภทต่างๆ และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคาขายยางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้ายังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับเพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติ กล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้นถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้าเจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้ หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้น ที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การหักลดหย่อนใบลดหนี้จากรายรับและการหลีกเลี่ยงภาษี
ยางรถยนต์ที่โจทก์ขายไปแล้ว ต่อมายางชำรุดเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความบกพร่องในการผลิต โจทก์จึงรับคืนยางที่ชำรุดบกพร่องและเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้ลูกค้าในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ โจทก์คิดคำนวณค่ายางชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพดังกล่าวออกมาเป็นตัวเงินเพื่อชดเชยให้แก่ลูกค้า แล้วนำเงินค่าชดเชยนี้ไปหักออกจากราคาปกติของยางเส้นใหม่โดยให้ลูกค้าชำระเงินเป็นราคายางเส้นใหม่ในราคาคงเหลือจากที่หักค่าชดเชยแล้ว โจทก์จะถือราคายางเส้นใหม่เท่ากับยอดเงินราคายางที่หักค่าชำรุดเสียหายออกเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าไม่ได้ เพราะโจทก์ขายยางเส้นใหม่เสร็จเด็ดขาดเต็มราคา
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ประกาศลดราคายางลง หลังโจทก์ตรวจจำนวนยางที่ยังเหลืออยู่ที่ลูกค้าที่ยังไม่ได้ขายออกไปว่ามีจำนวนเท่าใด แล้วโจทก์ออกใบลดหนี้เท่าจำนวนราคายางที่ต้องลดให้ลูกค้า ในการเสียภาษีการค้าโจทก์จะนำจำนวนเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวไปหักออกจากรายรับในเดือนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ แล้วเสียภาษีการค้าในจำนวนเงินรายรับที่เหลือนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้ออกจากรายรับ เพราะส่วนลดดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและไม่มีกฎหมายบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้า
โจทก์ขายยางให้ลูกค้าไปจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงกับลูกค้าว่า หากลูกค้าซื้อยางจากโจทก์ตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์จะคิดราคายางต่ำลงมาจากราคาปกติกล่าวคือในตอนแรกคิดราคาตามปกติ เมื่อซื้อครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จึงจะลดราคายางให้ เมื่อลูกค้าซื้อยางตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนดแล้วโจทก์จะลดราคาให้แล้วโจทก์ออกแบบลดหนี้ให้ลูกค้าตามจำนวนที่ลดลง ราคายางที่โจทก์ลดให้ดังกล่าวเป็นการให้ค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ โจทก์จะนำเงินตามใบลดหนี้ประเภทนี้มาหักออกจากรายรับก่อนเสียภาษีการค้าไม่ได้เช่นกัน
โจทก์ออกใบกำกับสินค้าโดยลงรายการจำนวนเงินผิดพลาดและลงบัญชีผิดพลาดตามไปด้วย โจทก์จึงออกใบลดหนี้เพื่อยกเลิกใบกำกับสินค้าที่ผิดพลาดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องนั้น ถือได้ว่าไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับสินค้านั้นและไม่มีรายรับเนื่องจากการขายสินค้า เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบรับนี้มาคำนวณเป็นรายรับเป็นการไม่ถูกต้อง
ในกิจการค้าของโจทก์ โจทก์ตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายยางแต่ละเดือนไว้ว่าเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนหากยังขายยางไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวแทนของโจทก์จะเสนอขายยางให้แก่ลูกค้าในราคาต่ำกว่าปกติเป็นกรณีพิเศษ แต่ฝ่ายบัญชีของโจทก์ไม่ทราบ จึงออกใบกำกับสินค้าไปตามราคาปกติ เมื่อลูกค้าทักท้วงมา ฝ่ายบัญชีจึงออกใบลดหนี้เพื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีให้ตรงตามราคายางที่ขายไปจริง ใบลดหนี้ประเภทนี้ออกมาเพื่อให้ราคาที่ขายถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมิใช่รายรับ เจ้าพนักงานประเมินนำเงินตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายรับย่อมไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์รับคืนยางที่ชำรุดหลังจ่ายยางเส้นใหม่ให้หรือลดราคายางที่ค้างสต๊อกของลูกค้าที่ซื้อไปด้วยเงินเชื่อ หรือลดราคายางให้แก่ลูกค้าที่ซื้อยางจำนวนมากก็ดี ไม่เกี่ยวกับรายรับของเดือนภาษีต่อมา ฉะนั้นที่โจทก์ทำใบลดหนี้ในกรณีดังกล่าวแล้วนำมาหักจากรายรับของเดือนภาษีต่อมา จึงเป็นการส่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ลดเบี้ยปรับให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าจากค่าจ้างล่วงหน้า: ประเมินถูกต้องเมื่อยังไม่ได้คืนเงิน แต่ไม่มีผลบังคับเมื่อคืนเงินแล้ว
โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าจากกรมทางหลวงในการรับเหมาสร้างทาง และโจทก์มีรายได้อย่างอื่นอีก แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงวินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับลงบางส่วน ปรากฏว่า หลังจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ตกลงคืนเงินค้าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงไป ดังนี้ ขณะที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้านั้น โจทก์กับกรมทางหลวงยังไม่ได้เลิกสัญญากัน และโจทก์ยังไม่ตกลงคืนค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวง เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวยังเป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงเป็นการประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ แต่ต่อมาเมื่อโจทก์และกรมทางหลวงตกลงเลิกสัญญาจ้างเหมาสร้างทางกัน และโจทก์ตกลงคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าจึงไม่มีผลบังคับให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าต่อไปอีก ศาลย่อมพิพากษาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่ม และดอกเบี้ยปรับ ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าจากเงินค่าจ้างล่วงหน้า: ประเมินชอบธรรมเมื่อยังไม่เลิกสัญญา แต่ไม่มีผลบังคับหลังคืนเงินแล้ว
โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าจากกรมทางหลวงในการรับเหมาก่อสร้างทางและโจทก์มีรายได้อย่างอื่นอีก แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงวินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับลงบางส่วนปรากฏว่าหลังจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ตกลงคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงไป ดังนี้ ขณะที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้านั้น โจทก์กับกรมทางหลวงยังไม่ได้เลิกสัญญากัน และโจทก์ยังไม่ได้ตกลงคืนค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวง เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวยังเป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีการค้าจึงเป็นการประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ แต่ต่อมาเมื่อโจทก์และกรมทางหลวงตกลงเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างทางกัน และโจทก์ตกลงคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้กรมทางหลวงแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้าจึงไม่มีผลบังคับให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าต่อไปอีก ศาลย่อมพิพากษาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีการค้าในเงินค่าจ้างล่วงหน้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสี ต้องแสดงได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจริง
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ.2509 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าในสัญญาจ้างทำของ
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหมโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมาเมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก็เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: ผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีตามประเภทการค้าที่จดทะเบียน แม้เป็นสินค้ามือสองก็ไม่เข้าข่ายอัตราภาษีพิเศษหากไม่ได้รับอนุญาต
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 มาตรา 3 นั้น หมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่นายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดตนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: การพิจารณาประเภทการค้าและผู้ประกอบการ
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 มาตรา 3 นั้นหมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: การพิจารณาประเภทการค้าและคุณสมบัติผู้ประกอบการ
คำว่า 'ของเก่า' ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 มาตรา 3 นั้นหมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป.
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ. จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน. จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่.
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก). มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ.แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
of 9