คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน มิอาจอ้างอิงจากมูลค่าทรัพย์สินหรือกำไร
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรียนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา8บัญญัติว่าค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆแต่อาคารของโจทก์โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกันและทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วยค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่1นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทจึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆมิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเพิ่มค่ารายปีและเหตุผลอันสมควร
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีของอาคารโจทก์ในส่วนที่เป็นลานจอดรถ และอาคารชั้นที่ 5 โดยได้ประเมินเท่ากับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซี่งในส่วนที่เป็นลานจอดรถนั้น จำเลยที่ 1 เคยกำหนดค่ารายปีให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาคาร แม้ค่าเช่าลานจอดรถจะรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยก็ตาม เมื่อโจทก์ยอมรับว่าลานจอดรถสามารถคิดค่าเช่าได้เป็นส่วนหนึ่ง เพียงแต่โจทก์คิดรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมจะประเมินจำนวนเงินที่สมควรจะให้เช่าลานจอดรถได้ เมื่อโจทก์ยอมชำระภาษีไปแล้วโดยมิได้ร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ เท่ากับโจทก์เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 1 ได้ประเมินราคาค่าเช่าอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมิอาจยกมาโต้เถียงได้อีก
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเพิ่มค่ารายปีต้องมีเหตุผลสมควร และการพิจารณาค่าเช่าลานจอดรถ
กรุงเทพมหานครจำเลยที่1ประเมินค่ารายปีของอาคารโจทก์ในส่วนที่เป็นลานจอดรถและอาคารชั้นที่5โดยได้ประเมินเท่ากับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งในส่วนที่เป็นลาดจอดรถนั้นจำเลยที่1เคยกำหนดค่ารายปีให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาคารแม้ค่าเช่าลานจอดรถจะรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยก็ตามเมื่อโจทก์ยอมรับว่าลานจอดรถสามารถคิดค่าเช่าได้เป็นส่วนหนึ่งเพียงแต่โจทก์คิดรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยเท่านั้นดังนั้นจำเลยที่1ย่อมจะประเมินจำนวนเงินที่สมควรจะให้เช่าลานจอดรถได้เมื่อโจทก์ยอมชำระภาษีไปแล้วโดยมิได้ร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เท่ากับโจทก์เห็นด้วยว่าจำเลยที่1ได้ประเมินราคาค่าเช่าอันสมควรแล้วโจทก์จึงมิอาจยกมาโต้เถียงได้อีก จำเลยที่1ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่7ถึงที่10โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้นซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมาแม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากันแต่จำเลยที่1ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเมื่อปรากฏว่าอาคารต่างๆหลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์จำเลยที่1ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้วดังนั้นการที่จำเลยที่1นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้นจึงไม่มีเหตุผลอันสมควรการประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินเมื่อค่าเช่าไม่สมเหตุสมผล
ในการคำนวณหาค่ารายปี แม้ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะกำหนดให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน และในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปีก็ตาม แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจำนวนค่าเช่ารายปีมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีสำหรับอาคารหรือโรงเรือน และที่ดินใหม่ได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ และตามหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน ซึ่งกำหนดไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ใช่สัญญาซื้อขาย ค่าเช่าใช้คำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินได้
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า ส่วนที่มีการตกลงให้ชำระค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี ก็เป็นเพียงวิธีตกลงกันให้ชำระค่าเช่าอย่างหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในการทำสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวตามปกติธรรมดาทั่วไป ไม่มีลักษณะเป็นการตกลงซื้อและไม่มีความเกี่ยวพันกับราคาซื้อทรัพย์ที่เช่าแต่อย่างใด ส่วนที่มีข้อตกลงจะขายทรัพย์ที่เช่าให้ผู้เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ดังนั้น สัญญาเช่าฉบับนี้จึงเป็นสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 537 จำเลยทั้งสองจึงนำค่าเช่าตามสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 ได้
ที่ดินที่โจทก์ให้เช่าตามฟ้องตั้งอยู่คนละเขตกับที่ดินอีก 4 แปลงที่โจท์นำค่ารายปีมาเปรียบเทียบ และนอกจากจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันแล้วที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินใช้ประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการคนละประเภทกับของโจทก์ ทั้งที่ดินของโจทก์ตามฟ้องเป็นที่ดินที่ให้เช่าโดยกำหนดค่าเช่าไว้ในสัญญาเช่าเป็นการแน่นอน ในเมื่อไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่กำหนดไว้มิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีโดยถือค่าเช่าเป็นหลักในการคำนวณ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มาตรา 8 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์สิน: การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยใช้ค่าเช่าเป็นหลัก และการพิจารณาความแตกต่างของที่ดิน
ในสัญญาเช่าไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า ส่วนที่มีการตกลงให้ชำระค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี ก็เป็นเพียงวิธีตกลงกันให้ชำระค่าเช่าอย่างหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในการทำสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวตามปกติธรรมดาทั่วไป ไม่มีลักษณะเป็นการตกลงซื้อและไม่มีความเกี่ยวพันกับราคาซื้อทรัพย์ที่เช่าแต่อย่างใด ส่วนที่มีข้อตกลงจะขายทรัพย์ที่เช่าให้ผู้เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้นดังนั้น สัญญาเช่าฉบับนี้จึงเป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 จำเลยทั้งสองจึงนำค่าเช่าตามสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 ได้ ที่ดินที่โจทก์ให้เช่าตามฟ้องตั้งอยู่คนละเขตกับที่ดินอีก 4 แปลง ที่โจทก์นำค่ารายปีมาเปรียบเทียบ และนอกจากจะเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันแล้วที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินใช้ประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการคนละประเภทกับของโจทก์ ทั้งที่ดินของโจทก์ตามฟ้องเป็นที่ดินให้เช่าโดยกำหนดค่าเช่าไว้ในสัญญาเช่าเป็นการแน่นอน ในเมื่อไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่กำหนดไว้มิใช่จำนวนเงินอันสมควรจะให้เช่าได้ การที่จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีโดยถือค่าเช่าเป็นหลักในการคำนวณ จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปีและเครื่องจักรในโรงงาน
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป. มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ.และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ. ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปี, การลดหย่อนเครื่องจักร, และความชอบด้วยกฎหมาย
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป.มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้นเมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ.ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่ แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่ เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่ จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็น ค่ารายปีที่สมควรกว่า แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็น ชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือน และที่ดินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขประเมินภาษีที่ผิดพลาด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีซ้ำหลังพบข้อผิดพลาดเป็นไปตามกฎหมาย
ค่ารายปีของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์เช่ามาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมประจำปีภาษี 2531 ที่ถูกต้องจำนวน 18,195,941.60 บาท ต้องถือเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปี 2532 การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532สำหรับโรงงานดังกล่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดค่ารายปีเพียง 3,360,000 บาท ค่าภาษีที่จะต้องเสียจำนวน420,000 บาท โดยโรงงานนั้นไม่ได้ถูกรื้อถอนหรือถูกทำลายให้ลดลงจากเดิม ย่อมเป็นการประเมินที่ผิดพลาด ดังนั้นหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงจำนวนค่ารายปีที่ถูกต้องแท้จริงประจำปีภาษี 2531 จากคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางแล้วได้มีหนังสือแจ้งรายการประเมินให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 มาชำระเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นเพียงการแก้ไขการประเมินครั้งแรกที่ผิดพลาดนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 24 ประกอบมาตรา 8 และมาตรา 18 บัญญัติไว้นั่นเองไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดเสียใหม่ให้ถูกต้อง และมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินซ้ำซ้อนกันหรือเรียกเก็บปีละ 2 ครั้ง ฉะนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินค่าภาษีเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีโรงเรือนและที่ดินหลังการประเมินใหม่ และการคำนวณค่ารายปีที่เหมาะสม
โจทก์เป็นผู้เช่าโรงเรือนพิพาท สัญญาเช่า กำหนดให้โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีแก่จำเลยที่ 1 เกินไปตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอคืนเงินภาษีส่วนที่เกินได้ แม้สัญญาเช่าจะกำหนดอัตราค่าเช่าไว้ แต่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวโจทก์ต้องให้ผลประโยชน์แก่ผู้ให้เช่าเพื่อตอบแทนการให้เช่าอีกหลายประการ มีเหตุทำให้เห็นว่า อัตราค่าเช่าตามสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าอันครบถ้วนแท้จริง ถือไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเงินอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้
of 10