พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีของผู้รับภาระค่าภาษีแทนเจ้าของทรัพย์สิน แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน แต่มีสิทธิเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
การรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องผู้ที่ตบชำระหนี้แทน แต่กรณีโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเอง ย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) โจทก์เช่าโรงเรือนและที่ดินจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาเช่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินหากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าวเกินไป โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนั้นคืนได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ยื่นคำขอให้จำเลยที่ 2พิจารณาประเมินใหม่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนต้องเป็นไปตามกฎหมายและใช้ราคาเช่าที่สมเหตุสมผล ศาลสั่งคืนเงินส่วนเกิน
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรค่ารายปี เท่ากับ ค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 15 ส่วน 100ซึ่งโจทก์มิได้ยอมรับว่าถูกต้อง จะถือว่าเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก็ไม่ปรากฏว่าจำนวนค่าเช่าปีที่ล่วงมาแล้วและปีที่พิพาทกันที่จะให้เช่าได้นั้นมีราคาแตกต่างกัน จึงต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกำหนดเป็นค่ารายปีปีที่พิพาท การคืนเงินค่าภาษีส่วนที่ชำระเกินจะต้องคืนภายในกำหนดสามเดือน มิฉะนั้นย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกคืนภาษีเกินชำระ แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน & การประเมินภาษีโรงเรือนเทียบกับค่าเช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไปก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า มูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินไป แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน กรณีสัญญาเช่ากำหนดให้ผู้เช่าชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องใช้ค่าเช่าที่สมควรเป็นหลัก ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีคืน
โจทก์เช่าโรงงานสุราจากจำเลยที่ 1 โดยจดทะเบียนการเช่าอัตราค่าเช่าปีละ 979,200 บาท ดังนี้ต้องถือจำนวนค่าเช่าดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปี เจ้าพนักงานจะอาศัยเทียบเคียงกับการประเมินภาษีโรงเรือนของบริษัทอื่นซึ่งตั้งอยู่ต่างเขตกัน ลักษณะของโรงเรือนและวัตถุประสงค์ในการใช้สอยแตกต่างกัน มาแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่หาได้ไม่ แม้โจทก์มิใช่ผู้รับประเมิน แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 ตามข้อผูกพันในสัญญาเช่าที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าภาษีที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเกินไปซึ่งจำเลยที่ 1อุทธรณ์การประเมินไว้แล้วคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้ชำระภาษีแทนผู้อื่นมีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีที่สูงเกินไปได้ โดยอ้างอิงค่าเช่าที่เป็นหลัก
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนและในนามกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ดังกล่าวทั้งกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระหนี้จากโจทก์แล้วหากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีสูงเกินไป จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1เรียกเก็บภาษีจากโจทก์สูงเกินไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่โจทก์เสียเกินไปนั้นได้พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน และค่ารายปีให้หมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้ค่าเช่าได้ในปีหนึ่งเท่าใด ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ถ้ามีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้ ปรากฏว่าโจทก์เช่าที่ดินและโรงเรือนพิพาทจากกระทรวงการคลังโดยเสียค่าเช่าปีละ 237,400 บาท ในเบื้องต้นต้องถือว่า ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่ารายปีสำหรับคิดภาษีจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจแก้ไข หรือกำหนดค่ารายปีใหม่ได้ต่อเมื่อมีเหตุชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าดังกล่าวไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรเท่านั้นและต้องมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นด้วย แต่หากค่าเช่านั้นไม่น้อยจนเกินสมควร หรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าโจทก์กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นคู่สัญญาสมยอมกันแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องประเมินค่ารายปีเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์ชำระให้แก่กระทรวงการคลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้การประเมินภาษีโรงเรือนสูงเกินควร และการคืนเงินภาษีที่ประเมินเกินจริง รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5ป บัญญัติไว้การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การลดหย่อนภาษีจากโรงเรือนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์, โรงเรือนที่รื้อถอน, และการประเมินค่าโรงเรือนประเภทอุตสาหกรรม
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5) บัญญัติไว้ การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การ กำหนดค่ารายปี ตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้ว ให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมิน จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนโรงแรม: สูตรคำนวณค่ารายปี, การพิจารณาอัตราค่าเช่าและจำนวนห้องที่สมเหตุสมผล, และการคืนเงินที่ชำระเกิน
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตร ที่จำเลยนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการประเมิน คือ ค่ารายปีเท่ากับค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 219 คูณ 15 ส่วน 100 นั้น หากมีการตกลงกำหนดจำนวนค่าเช่าห้องและจำนวนห้องที่เหมาะสมแล้ว หลักเกณฑ์หรือสูตรที่จำเลยคิดขึ้นก็จะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและเป็นธรรมและค่ารายปีที่คำนวณได้ตามสูตรนี้เป็นจำนวนเงินซึ่งอาคารโรงแรมสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ต้องตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 8 แล้ว ในกรณีที่คู่ความยังมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราค่าเช่าห้องและจำนวนห้องตามหลักเกณฑ์หรือสูตรดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดตามข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของคู่ความเป็นราย ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนโรงแรม: สูตรคำนวณค่ารายปีที่ถูกต้อง & การพิจารณาข้อเท็จจริงจากทางนำสืบ
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตรที่จำเลยนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการประเมิน คือ ค่ารายปี =ค่าเช่าห้อง X จำนวนห้อง X219X15/100 นั้น หากมีการตกลงกำหนดจำนวนค่าเช่าห้องและจำนวนห้องที่เหมาะสมแล้ว หลักเกณฑ์หรือสูตรที่จำเลยคิดขึ้นก็จะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและเป็นธรรมและค่ารายปีที่คำนวณได้ตามสูตรนี้เป็นจำนวนเงินซึ่งอาคารโรงแรมสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ต้องตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 8 แล้ว
ในกรณีที่คู่ความยังมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราค่าเช่าห้องและจำนวนห้องตามหลักเกณฑ์หรือสูตรดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดตามข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของคู่ความเป็นราย ๆไป.
ในกรณีที่คู่ความยังมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราค่าเช่าห้องและจำนวนห้องตามหลักเกณฑ์หรือสูตรดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดตามข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของคู่ความเป็นราย ๆไป.