คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จันทร์ ระรวยทรง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินก่อนล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้จำนองและบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นเงิน 50,000 บาท ต่อมาเพิ่มเงินอีก 20,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยจำนองกับ น. เป็นเงิน 50,000 บาท แล้วมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองทั้งหมดโดยไม่มีการชำระหนี้จำนอง ต่อมาจำเลยขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนจำนองกับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นเงิน 180,000 บาท แม้ได้ทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายแต่เฉพาะสัญญาจำนองจำนวน 120,000 บาท สืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมโดยยังมิได้มีการชำระหนี้จำนองกัน การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยแม้จะไม่มีการไถ่ถอนจำนอง ผู้รับโอนก็ต้องรับภาระหนี้จำนองมาด้วยอยู่แล้ว จึงจะถือว่าการจำนองรายนี้ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้ กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 115 หาได้ไม่
ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 2 ยอมเพิ่มเงินจำนองให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงกระทำการโดยสุจริต แม้ต่อมาศาลจะสั่งเพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 คำสั่งศาลดังกล่าวก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 116 สัญญาจำนองจึงมีผลใช้บังคับได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล, อายุความฟ้องแพ่งใช้อายุความอาญาเมื่อไม่มีการฟ้องคดีอาญา
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาแทนเด็กจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)(เดิม) เมื่อบิดาโจทก์ทำสัญญาแทนโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรก บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับ หากการกระทำของจำเลยเป็นความผิดก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่-แจ้งความเท็จ โครงการพัฒนาท้องถิ่น: เจตนาและประโยชน์ที่มิควรได้
กำนันถูกแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้านเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457เบิกเงินมาเพื่อจ่ายแก่ผู้รับเหมาทำถนนในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้ มิฉะนั้นจะต้องส่งเงินคืนคลังกำนันจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้วดังนี้ ขาดเจตนาแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 เป็นเหตุในลักษณะคดีใช้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213, 225 แต่เมื่อรับเงินมาแล้วกำนันละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทุจริตให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่, แจ้งความเท็จ, และการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่
จำเลยเป็นกำนัน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโครงการสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ฯ การที่จำเลยเบิกเงินต่อผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านนายอำเภอ เพื่อจ่ายแก่ผู้รับเหมาทำถนนในขณะที่ถนนยังไม่เสร็จ แต่เบิกมาเพื่อจะจ่ายให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปได้และจำเลยจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาไปแล้วนั้น แม้ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าทำตามคำแนะนำของนายอำเภอและไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ แต่ก็แสดงว่าจำเลยกระทำไปโดยขาดเจตนาที่จะแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องถึงจำเลยคนอื่นซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วได้
เมื่อจำเลยรับเงินมาจ่ายให้ผู้รับเหมาแล้วได้ละเว้นไม่ดำเนินการให้ผู้รับเหมาทำงานต่อไปให้เสร็จตามสัญญา เป็นการทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้รับเหมาได้รับเงินมากกว่าที่ควรจะได้ จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีป่าไม้: การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้เป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากป่า ศาลย่อมยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา185
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้แปรรูปเป็นสาระสำคัญในการฟ้องผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากในป่า คดีความไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำ โดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในอาวุธปืนยังเป็นของเจ้าของ แม้ถูกยึดจากการกระทำผิด จนกว่าศาลจะมีคำสั่งริบ
อาวุธปืนกระบอกพิพาทเป็นของส.ผู้ตาย แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไว้โดยอ้างว่าเป็นอาวุธปืนที่ ส.ใช้ในการกระทำความผิดอาญา ก็ยังคงเป็นทรัพย์ของ ส. อยู่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดินก็ต่อเมื่อศาลมีคำสั่งให้ริบ เมื่อปรากฏว่าศาลไม่ได้พิพากษาให้ริบ อาวุธปืนกระบอกนี้จึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ตลอดมาเมื่อส.ตายก็ตกเป็นมรดกแก่ทายาทของ ส. จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆที่จะยึดปืนกระบอกนี้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายโดยตรงจากการละเว้นการจับกุมและการแจ้งความเท็จ ผู้เสียหายต้องมีความเสียหายโดยตรงจากการกระทำ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ตามที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใด การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการจับกุมผู้บุกรุกที่สาธารณะ จึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการจับกุมผู้บุกรุกและการแจ้งความเท็จ ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหายโดยตรง
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ตามที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ประการใด การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการจับกุมผู้บุกรุกที่สาธารณะ จึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย/ถอนทนาย และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าตัวโจทก์ป่วยและทนายโจทก์มีความคิดเห็นในการดำเนินคดีขัดแย้งกับตัวโจทก์ หากดำเนินคดีให้แก่ตัวโจทก์ต่อไปจะเกิดความเสียหายได้ ทนายโจทก์จึงขอถอนตัวจากคดี คำร้องดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความขอเลื่อนคดี ก็เท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัว ศาลชั้นต้น สั่งให้ทนายโจทก์ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ทราบก่อน แล้วศาล จะได้สั่งคำร้องในภายหลัง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่ จะดำเนิน กระบวนพิจารณาในเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 เสียก่อน ทั้งใน วันนั้นทนายจำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก เพราะ ความเจ็บป่วย ซึ่งศาลควรจะต้องสั่งเลื่อนคดีตาม มาตรา 40 อยู่แล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ คดีก็ไม่ ต้องห้าม อุทธรณ์ฎีกา และเป็นกรณีแตกต่างกับการที่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจ สั่งให้เลื่อนหรือไม่ให้เลื่อนคดี ซึ่งคู่ความที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ระหว่างพิจารณาดังกล่าวจะต้องโต้แย้งคำสั่งศาลไว้จึงจะมีสิทธิ อุทธรณ์ฎีกา
of 71