พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ โดยการนำค่ารายปีที่ไม่ยุติมาเป็นหลัก และการคำนวณค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป เมื่อปรากฏว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่าค่ารายปีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งยังมิได้ยุติมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปีที่พิพาทได้ การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529 เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจหน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีภาษีอากรอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ไม่ใช่ศาลแพ่ง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยจำเลยเห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย โจทก์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(2) ประกอบด้วยมาตรา 3 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาล คดีโจทก์มิใช่เป็นคดีแพ่งลักษณะละเมิดศาลแพ่งจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ ตามมาตรา 10วรรคแรก การที่ศาลแพ่งสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะสิทธิของโจทก์ถูกกำจัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลจึงเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวย่อมมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 21(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนหรือระหว่างดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้วไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีให้ครบก่อนยื่นฟ้อง แม้กำหนดชำระยังไม่ถึง
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้ว ไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา 39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้รับประเมินต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์มิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนยื่นฟ้องโต้แย้งการประเมินของจำเลย แม้กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษียังไม่สิ้นสุดในขณะยื่นฟ้องก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล โจทก์จึงต้องชำระค่าภาษีก่อนยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์เพิ่งชำระภายหลังจากยื่นฟ้องแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะเสียสิทธิในการโต้แย้ง
จำเลยไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ให้เสียภาษีก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และหากจำเลยยังไม่พอใจการชี้ขาดการประเมิน ก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคหนึ่งทั้งนี้ จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้น ซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 39วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้น ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งภาษีโรงเรือน: ต้องยื่นคัดค้านหรือฟ้องภายในกำหนด และชำระภาษีไว้ก่อน จึงจะมีสิทธิโต้แย้งได้
จำเลยไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ให้เสียภาษี ก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และหากจำเลยยังไม่พอใจการชี้ขาดการประเมิน ก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นภาษีโรงเรือน เจ้าของอยู่เอง แม้ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็มีสิทธิ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 10แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ว่าโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง เจ้าของจะต้องมีชื่อในทะเบียนด้วยจึงจะได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โรงเรือนพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์อยู่เอง แม้โจทก์จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โจทก์ก็ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1แกล้งชี้ขาดและรับชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์.
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1แกล้งชี้ขาดและรับชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นภาษีโรงเรือน เจ้าของอยู่อาศัยเอง แม้ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ว่าโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง เจ้าของจะต้องมีชื่อในทะเบียนด้วยจึงจะได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โรงเรือนพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์อยู่เอง แม้โจทก์จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โจทก์ก็ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1แกล้งชี้ขาดและรับชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1แกล้งชี้ขาดและรับชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นภาษีโรงเรือน เจ้าของไม่ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้รับสิทธิได้
พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ ว่าโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง เจ้าของจะต้องมีชื่อในทะเบียนด้วยจึงจะได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โรงเรือนพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์อยู่เองแม้โจทก์จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โจทก์ก็ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แกล้งชี้ขาดและรับ ชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์