คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีค้างชำระก่อนฟ้อง
การฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 8บัญญัติว่าจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นแล้ว คดีของโจทก์เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิในฐานะผู้รับประเมินตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งมีมาตรา 39 บัญญัติว่า 'ห้ามมิให้ศาลประทับฟ้อง...เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น...' ดังนั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่จำเลยชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดมาด้วย ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ดังกล่าวเสียก่อนไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผลของการไม่โต้แย้งการประเมินและการสิ้นสิทธิในการอ้างเหตุผลความไม่ถูกต้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ตามที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 25 กำหนดไว้ และมิได้ชำระค่าภาษีให้โจทก์ตามที่กฎหมายกำหนด จึงเท่ากับว่าผลของการประเมินของโจทก์เป็นยุติแล้ว โดยห้ามมิให้จำเลยนำคดีมาสู่ศาล ซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งว่า การประเมินไม่ถูกต้องด้วย ดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีดังกล่าว จำเลยจะต่อสู้คดีว่าการประเมินไม่ถูกต้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเป็นยุติ หากไม่โต้แย้งหรือชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แม้การประเมินไม่ถูกต้องก็ไม่มีสิทธิโต้เถียงได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนให้จำเลยทราบ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาใหม่ และมิได้ชำระค่าภาษีให้โจทก์ตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 25,31 และ39 กำหนดไว้ จึงเท่ากับว่าผลของการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นยุติแล้ว โดยห้ามมิให้จำเลยนำคดีมาสู่ศาล ซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยไม่มีสิทธิโต้เถียง ว่าการประเมินไม่ถูกต้องด้วย ดังนั้นจำเลยจะต่อสู้คดีว่าการประเมินไม่ถูกต้องหาได้ไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยถึงเนื้อหาของการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องบางประการก็ตาม ก็ไม่ทำให้กลายเป็นว่าจำเลยมีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ถูกต้องไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนที่ถูกต้อง: การพิจารณาโรงเรือนประเภทอุตสาหกรรม, ส่วนควบ, และการคืนเงินภาษีเกิน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงานโรงเรือนของบริษัทท.เป็นโรงเรือนธรรมดาสภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกันพนักงานของจำเลยที่1นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัทท.ซึ่งให้บริษทข.เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและที่โรงเรือนของบริษัทท.ให้เช่าได้เดือนละ100,000บาทก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่วๆไปทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกันการที่พนักงานของจำเลยที่1แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมายและอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอนดังนี้เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสมควรให้ประเมินเพิ่มขึ้นปีละ20เปอร์เซนต์ตามทภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้านภายในโรงงานมีแท่นสายพาน3แท่นยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพานมีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพานมีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลังใกล้ๆเครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน3เครื่องและมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพานโรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ย่อมได้รับลดอย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่ โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไรสำนักกานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475ที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475มาตรา39วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืนจำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด3เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย(ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด3เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ การลดหย่อนภาษีโรงเรือนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และการงดเว้นภาษีสำหรับสำนักงาน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงานโรงเรือนของบริษัทท.เป็นโรงเรือนธรรมดาสภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกันพนักงานของจำเลยที่1นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัทท. ซึ่งให้บริษัทข. เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและที่โรงเรือนของบริษัทท. ให้เช่าได้เดือนละ101,000บาทก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่วๆไปทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกันการที่พนักงานของจำเลยที่1แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมายและอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอนดังนี้เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสมควรให้ประเมินเงินเพิ่มขึ้นปีละ20เปอร์เซนต์ตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โรงพ่นสีของโจทก์ใช้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้านภายในโรงงานมีแท่นสายพาน 3แท่นยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้มสายพานมีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพาน มีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลังใกล้ๆเครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน2เครื่องและมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพานโรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ย่อมได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่ โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไรสำนักงานนายช่างก็คือสถานที่กำเนิดงานของโจทก์ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่โจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายของมาตรา11แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475ที่แก้ไขแล้ว พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475มาตรา39วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำระเกินไปและศาลพิพากษาให้คืนจำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด3เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย(ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด3เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การลดหย่อนภาษีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงาน โรงเรือนของบริษัท ท.เป็นโรงเรือนธรรมดา สภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกัน พนักงานของจำเลยที่ 1 นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัท ท. ซึ่งให้บริษัท ข. เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วย จึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และที่โรงเรือนของบริษัท ท.ให้เช่าได้เดือนละ 100,000 บาท ก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่ว ๆ ไป ทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกัน การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมาย และอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอน ดังนี้ เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สมควรให้ประเมินเพิ่มขึ้นปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ตามทภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้าน ภายในโรงงานมีแท่นสายพาน 3 แท่น ยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพาน มีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพาน มีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลัง ใกล้ ๆ เครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน 2 เครื่อง และมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพาน โรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ ย่อมได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตาม มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไร สำนักงานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมาย ของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475ที่แก้ไขแล้ว
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 39 วรรคสอง มีความหมายว่า ในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืน จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย (ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด 3 เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง หากไม่ชำระ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีและการฟ้องคัดค้านการประเมิน: การชำระภาษีหลังได้รับคำชี้ขาดไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ที่บัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีแก่กรมการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินนั้น เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระได้ที่ไหนเมื่อใดเท่านั้นหาใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าจะต้องชำระค่าภาษีตามการประเมินเบื้องต้นเสมอไป เพราะตามมาตรา 25 และมาตรา 26 บัญญัติให้โอกาสแก่ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจการประเมินเบื้องต้นร้องขอไปยังผู้มีอำนาจชี้ขาดการประเมินได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินเพื่อให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ ทั้งค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 นั้น ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นเงินค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 และอาจถูกบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยพนักงานเก็บภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 ต่อไปด้วย การไม่ชำระภาษีตามมาตรา 38 กฎหมายมิได้ถือเป็นการตัดสิทธิผู้รับประเมินในการฟ้องร้องคดีเพื่อโต้แย้งการประเมินภาษีแต่ประการใด
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีต้องชำระค่าภาษีก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมินตามมาตรา 39
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้ถึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่าเพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษีในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูก จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อนศาลย่อมจะรับฟังไว้พิจารณามิได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512)
of 5