คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ทรัพยวณิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 856 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องผิดพลาดเรื่องปริมาณยาเสพติดและสถานที่เกิดเหตุ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าฝิ่นที่จำเลยมีไว้ในความครอบครองราคา64,500 บาท ฝิ่นราคากรัมละ 10 บาท ที่ว่าฝิ่นหนัก 6.450 กรัมจึงเป็นเพราะพิมพ์ผิดที่ถูกน่าจะเป็น 6,450 กรัม หรือ 6.450 กิโลกรัมจึงจะลงตัวกับราคาข้างต้นดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ในทางพิจารณาต่างกับฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องระบุสถานที่เกิดเหตุไว้หลายท้องที่ แม้จะฟังว่าของกลางที่ยึดได้จากบ้านจำเลยไม่ใช่ฝิ่นจึงไม่มีความผิดเกิดขึ้นที่แขวงสามเสนนอกตามที่ระบุไว้ก็ตาม แต่สถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ก็ไม่แตกต่างกับที่ได้ความในทางพิจารณาเพราะซอยคลังมนตรีที่ตำรวจจับจำเลยได้พร้อมฝิ่นและเฮโรอีนของกลาง ก็อยู่ในแขวงลาดยาว ตามฟ้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โทษจำคุกเป็นกักขัง และข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจำคุกคนละ 20 วันและปรับคนละ 500 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้กักขังจำเลยคนละ 20 วัน แทนโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษและไม่ปรับดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนด 1 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.219 กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขัง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจำคุกคนละ 20 วันและปรับคนละ 500 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้กักขังจำเลยคนละ 20 วัน แทนโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษและไม่ปรับดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนด 1 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คห้ามเปลี่ยนมือ: ผู้รับเช็คไม่มีสิทธิอ้างเป็นผู้ทรงหากเช็คระบุให้เข้าบัญชีผู้รับโดยเฉพาะ
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 2และขีดฆ่าคำว่า 'หรือผู้ถือ' ออกแล้วขีดคร่อมและเขียนข้อความว่า "PAYEE ONLY" ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกับ "เปลี่ยนมือไม่ได้" หรือ "ห้ามเปลี่ยนมือ" เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่จะต้องนำเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 เท่านั้น จะเปลี่ยนมือไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้รับเงินจะอ้างว่าเป็นผู้ทรงโดยการรับเช็คดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คห้ามเปลี่ยนมือ: ผู้รับเช็คไม่มีสิทธิอ้างเป็นผู้ทรงเมื่อเช็คถูกสลักหลังให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 และขีดฆ่าคำว่า 'หรือผู้ถือ' ออกแล้วขีดคร่อมและเขียนข้อความว่า 'PAYEEONLY' ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกับ 'เปลี่ยนมือไม่ได้' หรือ'ห้ามเปลี่ยนมือ' เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่จะต้องนำเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 เท่านั้น จะเปลี่ยนมือไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้รับเงินจะอ้างว่าเป็นผู้ทรงโดยการรับเช็คดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคล สัญญาโมฆะ ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ปกปิดความจริงโดยแอบอ้างแสดงว่ากระทำในฐานะผู้แทนของบริษัท จำเลยหลงเชื่อได้เข้าทำสัญญาด้วย จึงเป็นการแสดงเจตนาด้วยความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม โดยมิได้เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 การที่จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: พิจารณาความมุ่งหมายลูกหนี้ ไม่สุจริต/ค่าตอบแทน
การที่ลูกหนี้โอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังที่ลูกหนี้ถูกฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว 15 วัน และให้ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงไปแต่ผู้เดียว โดยที่ยังมีเจ้าหนี้อีกประมาณ 190 ราย ทั้งจำนวนหนี้สินก็มีมากกว่าทรัพย์สินเป็นอันมาก ย่อมเป็นที่เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าลูกหนี้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา115 มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมุ่งคุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตลอดจนประชาชนเป็นส่วนรวม มาตรา 115 เป็นกรณีหนึ่งที่มุ่งถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายดังนั้น การเพิกถอนการโอนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: พิจารณาเจตนาลูกหนี้ให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบ
การที่ลูกหนี้โอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังที่ลูกหนี้ถูกฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว 15 วัน และให้ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงไปแต่ผู้เดียว โดยที่ยังมีเจ้าหนี้อีกประมาณ 190 ราย ทั้งจำนวนหนี้สินก็มีมากกว่าทรัพย์สินเป็นอันมาก ย่อมเป็นที่เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าลูกหนี้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมุ่งคุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตลอดจนประชาชนเป็นส่วนรวมมาตรา 115 เป็นกรณีหนึ่งที่มุ่งถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายดังนั้นการเพิกถอนการโอนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้สามัญในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองหลังเจ้าหนี้จำนองได้รับชำระแล้ว
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลย ในคดีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองยึดไว้ เพื่อขายทอดตลาดนั้น มิใช่เป็นกรณีเฉลี่ยทรัพย์โดยตรงกับโจทก์ เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนอง แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระจากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่โจทก์แล้ว ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องเข้ามาก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันขายทอดตลาด. ศาลจึงอนุญาตให้ผู้ร้องรับเงินตามสิทธิได้
มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถเอาชำระหนี้ได้ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกัน จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะยกขึ้นโต้แย้งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้สามัญในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกยึดหลังเจ้าหนี้จำนองได้รับชำระ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลย ในคดีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองยึดไว้ เพื่อขายทอดตลาดนั้นมิใช่เป็นกรณีเฉลี่ยทรัพย์โดยตรงกับโจทก์ เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนอง แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระจากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่โจทก์แล้ว ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องเข้ามาก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันขายทอดตลาด ศาลจึงอนุญาตให้ผู้ร้องรับเงินตามสิทธิได้
มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถเอาชำระหนี้ได้ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกัน จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะยกขึ้นโต้แย้งหาได้ไม่
of 86