คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ ไวกาสี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดชอบเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
กรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อร่วม รถชนรับผิดกึ่งหนึ่ง
จำเลยประมาทเลินเล่อ และเกิดเหตุรถชนกันขึ้นโดยคนขับรถของโจทก์ประมาทเลินเล่อด้วย ศาลให้จำเลยรับผิดกึ่งหนึ่งตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำให้เสียทรัพย์สำคัญกว่าการกระทำ หากไม่มีเจตนาทำให้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358นั้นผู้กระทำจะต้องมีเจตนากระทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายจึงจะเป็นผิด จำเลยตัดต้นไผ่ของผู้เสียหายส่วนที่งอกรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะออก เพื่อให้โค กระบือเดินผ่าน จำเลยมิได้มีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 705/2507 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สินเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้ตัดต้นไม้แต่หากมีเหตุผลสมควรและไม่มีเจตนาทำลายทรัพย์สินก็ไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนากระทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายจึงจะเป็นผิด จำเลยตัดต้นไผ่ของผู้เสียหายส่วนที่งอกรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะออก เพื่อให้โค กระบือเดินผ่าน จำเลยมิได้มีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 705/2507 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินของกลางแก่ผู้เสียหายที่ถูกเรียกรับเงินโดยมิชอบ แม้จะมอบเงินให้ตามแผนตำรวจเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้เรียกเงินจากโจทก์ร่วมสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อช่วยเหลือมิให้ห้างที่โจทก์ร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น การที่โจทก์ร่วมนำเงินของกลางไปให้จำเลยตามแผนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อจะได้จับกุมจำเลยนั้น จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อผูกมัดตัวจำเลยผู้กระทำผิด โจทก์ร่วมหาได้สมัครใจให้เงินจำเลยไม่ จะถือว่าเป็นการร่วมมือ ส่งเสริมสนับสนุนหรือจูงใจให้จำเลยกระทำผิดไม่ได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมร้ายแรงของสามี: ทำร้ายร่างกาย, ด่าทอ, คบชู้ และผลกระทบต่อบุตร
สามีตีภริยาบาดเจ็บ ด่าว่าโคตรพ่อโคตรแม่ เป็นการด่าภริยากับบุพการี มีสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่นเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง ศาลพิพากษาให้หย่าตามคำฟ้องของภริยา บุตรหญิงอายุ 15 ปีควรอยู่ในปกครองมารดา ทั้งบิดาและมารดามีหน้าที่อุปการะบุตรด้วยกัน ศาลกำหนดให้สามีจ่ายเดือนละ 250 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการอายัดเงินเดือน โดยคำนึงถึงฐานะครอบครัวของลูกหนี้
จำเลยผู้แพ้คดีเป็นลูกจ้างการไฟฟ้านครหลวง ศาลสั่งอายัดเงินเดือนโดยพิเคราะห์ฐานะทางครอบครัว แล้วกำหนดเงินที่อายัดตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618-1621/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า: ประเด็นการแจ้งบอกเลิกและการปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่า ดังนี้ ไม่มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกการเช่าไม่ถูกตามระยะเวลาที่บังคับไว้ให้ต้องบอกล่วงหน้าตาม มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ศุลกากร: การขนถ่ายสินค้าออกจากเรือและการนำเข้าผ่านแดน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 11,12เป็นเรื่องขนของออกจากเรือ และยื่นใบขอเปิดตรวจสินค้าไม่ใช่กรณีนำของผ่านแดนเข้ามาทางบก ซึ่งต้องมีบัญชีสินค้ายื่นต่อพนักงานด่านพรมแดนและด่านศุลกากรพร้อมกับของเพื่อเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2480 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
of 54