พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลมีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ถอนอุทธรณ์
โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเคยเป็นของ ต.บิดาจากจำเลยทั้ง 7 ซึ่งเป็นทายาทและผู้รับโอนสิทธิจากทายาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ 1 ใน 4 จำเลยอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อนุญาต คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยุติ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วฟังว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ต.ถึงแก่กรรม คดีของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการบังคับใช้คำพิพากษาต่อจำเลยที่ถอนอุทธรณ์ คดีชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเคยเป็นของต.บิดาจากจำเลยทั้ง 7 ซึ่งเป็นทายาทและผู้รับโอนสิทธิจากทายาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ 1 ใน 4 จำเลยอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อนุญาต คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยุติ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วฟังว่า โจทก์ไม่ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ต.ถึงแก่กรรม คดีของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ทายาทผู้ให้ยินยอมยังไม่เป็นเจ้าของ
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยครอบครองมา 40 ปี ตามที่ทายาทของเจ้ามรดกยินยอมยกให้ แต่จำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดกยังไม่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด จึงบังคับให้จำเลยจัดการโอนที่พิพาทแก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยสำคัญผิดในตัววัตถุ และอำนาจทนายความของมูลนิธิ
จำเลยรับโอนโฉนดที่ดินที่ 5399 โดยต่างสำคัญผิดว่าเป็นที่ดินโฉนดที่ 5415 ที่ครอบครองอยู่ จำเลยอ้างเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 5399 ไม่ได้
มูลนิธิเป็นโจทก์ โดยผู้จัดการมูลนิธิลงลายมือชื่อตั้งทนายความผู้จัดการตาย ทนายความว่าความต่อไปได้เพราะเป็นทนายความของมูลนิธิ ไม่ใช่ของผู้จัดการมูลนิธิที่ตาย
มูลนิธิเป็นโจทก์ โดยผู้จัดการมูลนิธิลงลายมือชื่อตั้งทนายความผู้จัดการตาย ทนายความว่าความต่อไปได้เพราะเป็นทนายความของมูลนิธิ ไม่ใช่ของผู้จัดการมูลนิธิที่ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ขนาดทางที่เปิดต้องพอควรต่อความจำเป็นและก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินรอบข้างน้อยที่สุด
ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เปิดทางกว้าง 5 เมตร เหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ให้เปิดทางกว้าง 8 เมตร มาอ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว คำเสนอใหม่ไม่ผูกพัน สิทธิเรียกร้องระงับ
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและจำเลยได้มีหนังสือตอบรับการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา โจทก์จำเลยก็กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น การกระทำใด ๆ ของโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสัญญานี้ในเวลาต่อมา จึงเป็นเพียงคำเสนอขึ้นใหม่ เมื่อไม่มีการสนองตอบ ย่อไม่ก่อให้เกิดผลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการเสนอสัญญาใหม่: สิทธิและผลผูกพัน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและจำเลยได้มีหนังสือตอบรับการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา โจทก์จำเลยก็กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น การกระทำใด ๆ ของโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสัญญานี้ในเวลาต่อมา จึงเป็นเพียงคำเสนอขึ้นใหม่ เมื่อไม่มีการสนองตอบ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรียกค่าไถ่แล้วถูกจับกุมก่อนชำระเงิน ลดหย่อนโทษตามกฎหมาย
จำเลยกับพวกจับเด็กไปเรียกค่าไถ่ ก่อนถึงกำหนดชำระค่าไถ่จำเลยถูกจับ คนร้ายปล่อยตัวผู้ถูกจับ จำเลยได้รับโทษน้อยลง ตามมาตรา 316
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278-1279/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยไม่มีเจตนาให้ใช้เงิน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่ผู้เสียหายแยกเป็นรายฉบับรวม 17 ฉบับ ลงวันที่ในเช็คต่างกันไปฉบับละ 1 เดือน โดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเมื่อเช็คเหล่านี้ถึงกำหนดชำระเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นนี้ จำเลยมีเจตนาที่จะให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2520)