คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ ไวกาสี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในเหตุป้องกัน: การยิงป้องกันภัยที่เกินกว่าเหตุ และความรับผิดทางอาญา
จำเลยเป็นผู้ที่นายสนองเจ้าของร้านสนองพานิชได้ว่าจ้างให้มาคุ้มครองรักษาความปลอดภัยอยู่ที่ร้านสนองพานิช วันเกิดเหตุ ผู้ตาย ผู้เสียหายได้เอาอาวุธปืนใส่ถุงกระดาษมาส่งคืนให้แก่ชายจีนที่ทางเท้าหน้าร้านสนองพานิช ก่อนจะส่งถุงปืนให้ ผู้เสียดึงอาวุธปืนให้โผล่ออกจากถุงเล็กน้อยให้ชายจีนเห็น แล้วชวนกันไปพูดที่ประตูหน้าร้านสนองพานิช จำเลยแลเห็นเหตุการณ์โดยตลอด จำเลยสำคัญผิดว่าบุคคลทั้งสามเป็นคนร้ายจะเข้าไปยิงประทุษร้ายนายสนอง จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงไป 3 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย โดยผู้เสียหายหาได้ชักอาวุธปืนออกมาในอาการที่เห็นว่าจะจ้องยิงประทุษร้ายจำเลยหรือบุคคลในร้านสนองพานิชไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 การกระทำของจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากความตกใจหรือความกลัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในเหตุป้องกัน: การกระทำเกินกว่ากรณีจำต้องป้องกันตนเอง และการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยเป็นผู้ที่นายสนองเจ้าของร้านสนองพานิชได้ว่าจ้างให้มาคุ้มครองรักษาความปลอดภัยอยู่ที่ร้านสนองพานิช วันเกิดเหตุผู้ตาย ผู้เสียหายได้เอาอาวุธปืนใส่ถุงกระดาษมาส่งคืนให้แก่ชายจีนที่ทางเท้าหน้าร้านสนองพานิช ก่อนจะส่งถุงปืนให้ ผู้เสียหายดึงอาวุธปืนให้โผล่ออกจากถุงเล็กน้อยให้ชายจีนเห็น แล้วชวนกันไปพูดที่ประตูหน้าร้านสนองพานิช จำเลยแลเห็นเหตุการณ์โดยตลอด จำเลยสำคัญผิดว่าบุคคลทั้งสามเป็นคนร้ายจะเข้าไปยิงประทุษร้ายนายสนอง จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงไป 3 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย โดยผู้เสียหายหาได้ชักอาวุธปืนออกมาในอาการที่เห็นว่าจะจ้องยิงประทุษร้ายจำเลยหรือบุคคลในร้านสนองพานิชไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 การกระทำของจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากความตกใจหรือความกลัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 327 ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด
การที่จำเลยมีใบเสร็จการชำระค่าเช่าในระยะหลังนั้น มิได้หมายความ ว่าค่าเช่าก่อน ๆ นั้นจำเลยมิได้ค้างชำระประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า 'ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้ อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อ ระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆ นั้นด้วยแล้ว' นั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานซึ่งเป็น คุณแก่จำเลยผู้มีใบเสร็จที่จะไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าไม่ได้ค้างชำระ ค่าเช่าในระยะก่อนเท่านั้น คือตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบหักล้าง หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่าการที่ จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานการชำระค่าเช่าตามมาตรา 327 มิใช่เด็ดขาด การอุทธรณ์เรื่องค่าเช่าค้างชำระถือเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
การที่จำเลยมีใบเสร็จการชำระค่าเช่าในระยะหลังนั้น มิได้หมายความว่าค่าเช่าก่อน ๆ นั้นจำเลยมิได้ค้างชำระ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนท่านให้สันนิษฐานซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยผู้มีใบเสร็จที่จะไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าไม่ได้ค้างชำระค่าเช่าในระยะก่อนเท่านั้น คือตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบหักล้าง หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่า การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนโอนที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม แม้มีการบังคับคดี
ผู้ร้องซื้อที่ดินและตึกแถวจากโจทก์ชำระราคาและเข้าครอบครองแล้ว อยู่ระหว่างแบ่งแยกโฉนดเพื่อโอนแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องฟ้องโจทก์ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์โอนที่ดินแก่ผู้ร้องโฉนดอยู่ที่จำเลยโดยโจทก์ให้จำเลยยึดไว้ต่างหนี้ จำเลยทำยอมความกับโจทก์โจทก์ยอมใช้เงินแก่จำเลย 300,000 บาท จำเลยจะคืนโฉนดเมื่อโจทก์ชำระเงินโจทก์ผิดนัด จำเลยนำยึดที่ดินตามยอมในการบังคับคดี ดังนี้ ผู้ร้องอยู่ในฐานะให้จดทะเบียนสิทธิได้โดยผลของคำพิพากษาตามยอมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1300 การบังคับคดีของจำเลยภายหลังไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ศาลให้ถอนการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครัวเป็นส่วนควบของเรือน เรือนติดต่อกันถือเป็นเรือนเดียวกัน
ครัวเป็นส่วนควบของเรือน เรือน 2 หลัง ปลูกติดต่อชายคาชนกันฝาภายนอกเชื่อมต่อกันชานบ้านและระแนงลูกกรงเป็นบริเวณเดียวกันแสดงว่าเป็นบ้านเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาก่อนวันสืบพยานได้ตามมาตรา 87
เอกสารที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ศาลย่อมมีอำนาจอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมรับฟังเอกสารนั้นได้ เพราะมาตรา 87 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจศาลไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และข้อยกเว้นการห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ 37,500 บาท ส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ 30,000 บาท คำขออื่นตามฟ้องแย้งเป็นคำขอไม่มีทุนทรัพย์ต่อเนื่องจากคำขอมีทุนทรัพย์ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินห้าหมื่นบาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มาตรา 6
การที่จำเลยนำสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้นั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์ และการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าเป็นนิติกรรมอำพราง
ฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ 37,500 บาท ส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ 30,000 บาท คำขออื่นตามฟ้องแย้งเป็นคำขอไม่มีทุนทรัพย์ต่อเนื่องจากคำขอมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6
การที่จำเลยนำสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้นั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของนายจ้างต่อการกระทำโดยประมาทของลูกจ้าง
ศาลพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยที่ 2 ประมาททำให้เป็นอันตรายแก่กายข้อเท็จจริงนี้ไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 นายจ้างซึ่งไม่ได้ถูกฟ้องในคดีอาญาด้วย
of 54