พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้รู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
บริษัทลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้ชำระบัญชีจึงตกลงประนอมหนี้กับเจ้าหนี้บางรายที่เป็นผู้ทรงเช็คโดยขอชำระหนี้ 21.2% เพื่อให้คดีอาญาที่เจ้าหนี้ตามเช็คบางรายฟ้องกรรมการบริษัทลูกหนี้เป็นอันระงับไป ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คดังกล่าวรับชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นโดยรู้ถึงภาระหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้รับชำระหนี้โดยสุจริตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114
มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 10ระบุชัดแจ้งว่ามิได้ห้ามเฉพาะการโอนทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำใดๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วยดังนั้น การชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้คืนเงินที่รับไปและให้เสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินดังกล่าวนับแต่วันศาลสั่งเพิกถอนไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เจ้าหนี้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้กล่าวว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด ดังนี้ เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ไขเพิ่มความให้ครบได้
มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 10ระบุชัดแจ้งว่ามิได้ห้ามเฉพาะการโอนทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำใดๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วยดังนั้น การชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้คืนเงินที่รับไปและให้เสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินดังกล่าวนับแต่วันศาลสั่งเพิกถอนไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เจ้าหนี้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้กล่าวว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด ดังนี้ เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ไขเพิ่มความให้ครบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เจ้าหนี้อ้างสุจริต หากรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
บริษัทลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้ชำระบัญชีจึงตกลงประนอมหนี้กับเจ้าหนี้บางรายที่เป็นผู้ทรงเช็คโดยขอชำระหนี้ 21.2% เพื่อให้คดีอาญาที่เจ้าหนี้ตามเช็คบางรายฟ้อง กรรมการบริษัทลูกหนี้เป็นอันระงับไป ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คดังกล่าวรับชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้น โดยรู้ถึงภาระหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้รับชำระหนี้โดยสุจริตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114
มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ระบุชัดแจ้งว่ามิได้ห้ามเฉพาะการโอนทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำใดๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น การชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามความหมายแห่งมาตราดังกล่าว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้คืนเงินที่รับไปและให้เสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินดังกล่าวนับแต่วันศาลสั่งเพิกถอนไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เจ้าหนี้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้กล่าวว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด ดังนี้ เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ไขเพิ่มความให้ครบได้
มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ระบุชัดแจ้งว่ามิได้ห้ามเฉพาะการโอนทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำใดๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น การชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามความหมายแห่งมาตราดังกล่าว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้คืนเงินที่รับไปและให้เสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินดังกล่าวนับแต่วันศาลสั่งเพิกถอนไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เจ้าหนี้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้กล่าวว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด ดังนี้ เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ไขเพิ่มความให้ครบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิของผู้รับโอนจากการเช่า และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
ที่พิพาทเป็นของโจทก์ ม. เป็นเพียงผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ ม. ทำกับโจทก์จำเลยรับโอนที่นาพิพาทจาก ม. ย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ ม. มีอยู่ คือมีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจาก ม. เท่านั้นจะถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองจากโจทก์ไม่ได้ จนกว่าจำเลยจะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีทางที่จะอ้างว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดิน: การรับโอนสิทธิจากผู้เช่าและการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
ที่พิพาทเป็นของโจทก์ ม.เป็นเพียงผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ ม.ทำกับโจทก์ จำเลยรับโอนที่นาพิพาทจาก ม. ย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ ม.มีอยู่ คือมีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจาก ม. เท่านั้น จะถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองจากโจทก์ไม่ได้ จนกว่าจำเลยจะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีทางที่จะอ้างว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยต่างประเทศในคดีหนี้เหนือบุคคล ต้องมีภูมิลำเนาในไทยหรือเข้ามาในไทยชั่วคราว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องหนี้เหนือบุคคลระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เข้ามาในประเทศไทยเลย แม้จะตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนในประเทศไทยในการฟ้องหรือต่อสู้คดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องจำเลยต่างประเทศ: จำเลยต้องเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้ฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องหนี้เหนือบุคคลระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3)โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เข้ามาในประเทศไทยเลย แม้จะตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนในประเทศไทยในการฟ้องหรือต่อสู้คดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่บุกรุกที่ดินและข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งได้บุกรุกเข้าปลูกอาคารในที่ดินของโจทก์ เทียบเคียงกับที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่โจทก์ให้จำเลยเช่า พอฟังได้ว่าที่ดินพิพาทให้เช่าได้เดือนละ 16 บาทเศษ จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลย คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่บุกรุกที่ดินเช่า: ข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์และการตีความสัญญาเป็นข้อเท็จจริงที่ฎีกาไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งได้บุกรุกเข้าปลูกอาคารในที่ดินของโจทก์ เทียบเคียงกับที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่โจทก์ให้จำเลยเช่า พอฟังได้ว่าที่ดินพิพาทให้เช่าได้เดือนละ 16 บาทเศษ จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลย คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันจากการไม่เก็บอากรมหรสพ ศาลอุทธรณ์ลงโทษทุกกรรมได้ชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสามบังอาจร่วมกันอนุญาตให้ผู้ดูซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรมหรสพเข้าดูภาพยนตร์โดยไม่เสียอากรมหรสพในชั้นราคา 8 บาท จำนวน 204 คน ๆ ละ 1 ครั้งกับในชั้นราคา 10 บาท จำนวน 21 คน คนละ 1 ครั้ง รวม 225 คน225 ครั้ง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517 ระหว่างเวลา 10 นาฬิกา ถึง21 นาฬิกา ดังนี้ เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนแล้วว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยทั้งสามรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงต้องลงโทษจำเลยเป็น 225 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีอากร โดยจำเลยรับสารภาพ ศาลอุทธรณ์ลงโทษทุกกรรมได้ชอบ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสามบังอาจร่วมกันอนุญาตให้ผู้ดูซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรมหรสพเข้าดูภาพยนตร์ โดยไม่เสียอากรมหรสพในชั้นราคา 8 บาท จำนวน 204 คนๆละ 1 ครั้ง กับในชั้นราคา 10 บาท จำนวน 21 คน คนละ 1 ครั้ง รวม 225 คน 225 ครั้ง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2517 ระหว่างเวลา 10 นาฬิกา ถึง 21 นาฬิกา ดังนี้ เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนแล้วว่าจำเลยทั้งสามกระทำความหลายกรรมต่างกัน จำเลยทั้งสามรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงต้องลงโทษจำเลยเป็น 225 กระทง