พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินมรดกและการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาไม่แก้ไขหน้าที่นำสืบหากไม่กระทบผลการวินิจฉัย
คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบจะเป็นการถูกต้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อโจทก์จำเลยได้สืบพยานเสร็จสิ้นบริบูรณ์แล้ว และไม่มีผลทำให้การวินิจฉัยคำพยานเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกที่แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา
จำเลยที่ 1(ผู้ให้เช่าซื้อ) และจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) ได้ทำสัญญาตกลงกันเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เช่าซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แต่เดิม ให้มีโอกาสได้ที่ดินโดยแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นที่ดินที่เช่าซื้อเดิมและจำเลยที่ 1 โอนชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว หรือที่ดินที่จำเลยที่ 1 จะจัดหาให้ใหม่แห่งใดแห่งหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อ โจทก์แสดงความประสงค์ว่าจะได้ที่ดินที่เช่าซื้อเดิม จำเลยที่ 2 ก็รับว่าเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ โจทก์จึงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 เรื่อยมาจนครบ เห็นได้ว่าสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าว เป็นสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผูกพันต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ กรณีหาใช่เป็นการจัดสรรที่ดินขายอันจะถือว่าเป็นกิจการนอกวัตถุประสงค์ของธนาคารจำเลยที่ 2 ไม่ แต่จำเลยที่ 2มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้เบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตกลงชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับจำนอง
จำเลยที่ 1 (ผู้ให้เช่าซื้อ) และจำเลยที่ 2 (ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) ได้ทำสัญญาตกลงกันเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เช่าซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แต่เดิม ให้มีโอกาสได้ที่ดินโดยแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นที่ดินที่เช่าซื้อเดิมและจำเลยที่ 1 โอนชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว หรือที่ดินที่จำเลยที่ 1 จะจัดหาให้ใหม่แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อ โจทก์แสดงความประสงค์ว่าจะได้ที่ดินที่เช่าซื้อเดิม จำเลยที่ 2 ก็รับว่าเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ โจทก์จึงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 เรื่อยมาจนครบ เห็นได้ว่าสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าว เป็นสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผูกพันต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ กรณีหาใช่เป็นการจัดสรรที่ดินขายอันจะถือว่าเป็นกิจการนอกวัตถุประสงค์ของธนาคารจำเลยที่ 2 ไม่ แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้เบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายเฮโรอีน - ความผิดหลายกระทง
จำเลยมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่าย 31 ห่อกับ 1 หลอดและขายเฮโรอีนนั้นบางส่วนไป 1 ห่อ ในวันเวลาเดียวกัน แต่ต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นความผิด 2 กระทงฐานมีเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย กับฐานจำหน่ายเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้ศาลเจ้าต้องจดทะเบียนโอน มิเช่นนั้นศาลเจ้าไม่อยู่ในบังคับกฎหมาย และผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการ
กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ใช้แต่เฉพาะกับศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้น ผู้ใดจะอุทิศที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้เป็นสมบัติของศาลเจ้าโดยสิทธิ์ขาดต้องยื่นเรื่องราวเป็น ลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งหน้าโฉนด อ. ทำหนังสือยกที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้แก่กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนโฉนดให้แก่กัน การอุทิศที่ดินของ อ. จึงยังไม่มีผลให้ตกเป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิ์ขาด และที่ดินของ อ. ยังไม่ตกมาอยู่ในความปกครองรักษาของรัฐบาล ศาลเจ้านี้จึงไม่อยู่ใสบังคับแห่งกฎเสนาบดีดังกล่าว ดังนั้นการตั้งและถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องที่บัญญัติไว้จึงนำมาใช้บังคับในเรื่องนี้ไม่ได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการปกครอง และไม่มีอำนาจตั้ง อ. เป็นผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 310/2483)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการศาลเจ้าและการอุทิศที่ดิน: ศาลเจ้าไม่อยู่ในบังคับกฎเสนาบดีหากที่ดินยังไม่ได้ตกเป็นของรัฐ
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ใช้แต่เฉพาะกับศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้น ผู้ใดจะอุทิศที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้เป็นสมบัติของศาลเจ้าโดนสิทธิ์ขาดต้องยื่นเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งหน้าโฉนดอ. ทำหนังสือยกที่ดินของตนที่มีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วให้แก่กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนโฉนดให้แก่กัน การอุทิศที่ดินของ อ. จึงยังไม่มีผลให้ตกเป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิ์ขาด และที่ดินของ อ. ยังไม่ตกมาอยู่ในความปกครองรักษาของรัฐบาลศาลเจ้านี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งกฏเสนาบดีดังกล่าวดังนั้นการตั้งและถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องที่บัญญัติไว้จึงนำมาใช้บังคับในเรื่องนี้ไม่ได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการปกครองและไม่มีอำนาจตั้ง อ. เป็นผู้ตรวจสอดส่องศาลเจ้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 310/2483)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการติดต่อขอใบอนุญาตลงทุน: จำเลยต้องคืนเงินเมื่อไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาได้
จำเลยทำสัญญารับจะติดต่อทางการให้ออกใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนให้โจทก์จนเป็นผลสำเร็จ โดยโจทก์จะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลย 300,000 บาท โจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้จำเลยไปแล้ว 100,000 บาท จำเลยได้ออกเช็คพิพาทจำนวนเงิน 100,000 บาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยทำการไม่สำเร็จจะคืนเช็คดังกล่าวให้จำเลย และจำเลยจะต้องคืนเงิน 100,000 บาท ให้โจทก์ ปรากฏว่าขณะโจทก์ยื่นขอรับทุนนั้น ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนโจทก์จะต้องทำสัญญาและนำเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลไปวางเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท ต่อเมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอแล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ และแจ้งตามเงื่อนไขใหม่นี้ให้โจทก์นำเงินหรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นมูลค่า 9,000,000 บาท ภายในวันที่กำหนดก่อนได้รับอนุมัติคำขอ ดังนี้จำนวนเงินที่โจทก์ต้องวางสูงกว่าเดิมมาก และภายในเวลาจำกัด ทั้งไม่แน่นอนว่าจะได้รับอนุมัติหรือไม่ การที่โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ของคณะกรรมการที่แจ้งมาดังกล่าว ไม่ใช่ความผิดโดยตรงของโจทก์ ถือว่าจำเลยไม่สามารถติดต่อให้โจทก์ได้มาซึ่งใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนตามสัญญาจำเลยต้องคืนเงิน 100,000 บาท ให้โจทก์ เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยจึงต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามชั่วคราวชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์กระทำซ้ำการผิดสัญญาภารจำยอม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลยที่ฟ้องแย้งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างใดๆ ในทางภารจำยอม ให้โจทก์เปิดทางที่กั้นทั้งหมดรวมทั้งรื้อถอนเสาในถนนด้านทิศใต้ออก ให้โจทก์ขนสัมภาระที่กีดขวางทางภารจำยอมออกไปให้หมด เพราะโจทก์กำลังทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญาตามที่จำเลยกล่าวอ้างในคำขอ โจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยอ้างลอยๆ เพียงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญา ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์กระทำซ้ำตามที่ศาลสั่งห้ามนั้นโจทก์รับแล้วว่าขณะนั้นโจทก์กำลังกระทำอยู่จริง โจทก์ไม่ได้โต้เถียงว่าคำสั่งศาลชั้นต้นสั่งโดยไม่มีเหตุเพียงพอหรือไม่มีเหตุสมควรตามกฎหมายหรือมีเหตุอื่นที่จะเพิกถอนคำสั่งห้ามของศาลชั้นต้น กรณีไม่มีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ทำการไต่สวนนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามชั่วคราวชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์กระทำซ้ำการผิดสัญญาตามฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลยที่ฟ้องแย้งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างใด ๆ ในทางภาระจำยอม ให้โจทก์เปิดทางที่กั้นทั้งหมดรวมทั้งรื้อถอนเสาในถนนด้านทิศใต้ออก ให้โจทก์ขนสัมภาระที่กีดขวางทางภาระจำยอมออกไปให้หมด เพราะโจทก์กำลังทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญาตามที่จำเลยกล่าวอ้างในคำขอ โจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยอ้างลอย ๆ เพียงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญา ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์กระทำซ้ำตามที่ศาลสั่งห้ามนั้นโจทก์รับแล้วว่าขณะนั้นโจทก์กำลังกระทำอยู่จริง โจทก์ไม่ได้โต้เถียงว่าคำสั่งศาลชั้นต้นสั่งโดยไม่มีเหตุเพียงพอหรือไม่มีเหตุสมควรตามกฎหมายหรือมีเหตุอื่นที่จะเพิกถอนคำสั่งห้ามของศาลชั้นต้น กรณีไม่มีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวนที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ทำการไต่สวนนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างของผู้รับเหมา ไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจอายัด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดสิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจำนวน 8ล้านบาท ที่ผู้ร้องมีต่อการเคหะแห่งชาติ เพราะได้สอบสวนแล้วเห็นว่าผู้ล้มละลายเป็นเจ้าหนี้ผู้ร้องโดยเป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้างอาคารที่ผู้ร้องเป็นผู้รับจ้างจากการเคหะแห่งชาติ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องแล้วด้วย ดังนี้ สิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจากการเคหะแห่งชาตินี้เป็นของผู้ร้อง หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันจอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะอายัดโดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 19 และ 22
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างจากการเคหะแห่งชาติให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ผู้ร้องจะมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดได้หรือไม่นั้น ปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างจากการเคหะแห่งชาติให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ผู้ร้องจะมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดได้หรือไม่นั้น ปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้