คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ ไวกาสี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม, บัญชีเดินสะพัด, อายุความ 10 ปี, ศาลพิพากษาตามจำนวนหนี้จริง
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงการที่จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการบรรทุกมันสำปะหลังส่งถึงโรงงานจำเลย โดยกำหนดราคาให้ตามน้ำหนักของมันและระยะทางที่นำส่ง ได้มีการหักค่าบรรทุกไว้ตอนที่จะขายมัน เมื่อคิดบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ขอให้ใช้ เช่นนี้ เป็นการบรรยายถึงสภาพของข้อตกลงที่จะให้จำเลยรับผิดพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยมีบัญชีต่อกัน และมีการตัดทอนบัญชีอันเกิดแก่กิจการระหว่างกัน ถือได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัด อายุความย่อมมีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามบัญชีหนี้สินที่จะลงบัญชีกันไว้ตามเอกสารที่อ้างอิงเป็นเงิน 33,494 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจหลักฐานแล้ว เห็นว่ามีจำนวนที่เป็นหนี้กันอยู่จริงเพียง 29,030 บาท ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับตามจำนวนที่แท้จริงได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะสัญญา: สัญญาจ้างแรงงาน vs. สัญญาฝากทรัพย์ และอายุความการฟ้องเรียกค่าปรับ
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ระบุชื่อว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อกำหนดว่าผู้ว่าจ้าง (โจทก์) ตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้าง(จำเลย) เฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาเป็นเงิน 4,500 บาท จนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางสูญหายหรือเป็นอันตราย ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตร ระหว่างนั้นผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือบางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ และทำใบรับไม้ของกลางไว้ ทั้งตามบัญชีรายการไม้ของกลางต่อท้ายสัญญา ก็ระบุว่าไม้ของกลางอยู่ที่ป่าใดด้วย ทำสัญญาแล้วก็ไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างได้ชักลากไม้ของกลางจากป่านั้นไปเก็บรักษาไว้ในความอารักขาของตนเแต่อย่างใด ไม้ยังคงอยู่ที่เดิม พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าอำนาจครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังไม่ให้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512)
การฟ้องให้ผู้รับจ้างใช้เบี้ยปรับ เพราะไม้ของกลางดังกล่าวสูญหายไปมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อนับตั้งแต่วันที่ไม้ของกลางหายไปจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี จึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: ลักษณะสัญญาและอายุความค่าปรับ
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยระบุชื่อว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อกำหนดว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นเงิน 3,200 บาทจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางสูญหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตร ระหว่างนั้นผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือบางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ของกลางไว้ ดังนี้การครอบครองไม้ของกลางยังคงอยู่แก่ผู้จ้าง ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ไม้ของกลางเป็นอันตรายเท่านั้น เป็นสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่สัญญาฝากทรัพย์ไม่ สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงานมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้มูลนิธิที่ยังมิได้จดทะเบียน: ศาลยืนตามเจตนาเดิมของผู้บริจาค
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรมมูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงรับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค.เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผลเพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์ให้มูลนิธิยังไม่จดทะเบียน: พินัยกรรมไม่ไร้ผล ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการให้มูลนิธิจดทะเบียน
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรม มูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงได้รับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค. เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผล เพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานลงรายการบัญชีเท็จต้องมีประกาศรัฐมนตรีฯ กำหนดประเภทธุรกิจที่ต้องจัดทำบัญชี มิเช่นนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
ข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ระบุโยงไปให้ใช้พระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช 2482 บังคับในกรณีที่ยังไม่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดธุรกิจที่ต้องจัดทำบัญชี ออกอตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติการบัญชีฯ มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 3 ก็บัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า กิจการประเภทใด ในท้องที่ใด ที่จะต้องทำบัญชีขึ้น หาใช่ว่าบุคคลผู้ประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดทำบัญชีไม่ เหตุนี้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีสำหรับการประกอบกิจการในประเภทที่โจทก์ฟ้องให้เป็นการถูกต้องตามข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติการบัญชีฯ ดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานลงรายการเท็จในบัญชี ต้องพิสูจน์การออกประกาศรัฐมนตรี กำหนดประเภทธุรกิจที่ต้องทำบัญชีตามกฎหมาย
ข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายนพ.ศ. 2515 ระบุโยงไปให้ใช้พระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช 2482 บังคับในกรณีที่ยังไม่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดธุรกิจที่ต้องขัดทำบัญชี ออกตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติการบัญชีฯมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496มาตรา 3 ก็บัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า กิจการประเภทใดในท้องที่ ใดที่จะต้องทำบัญชีขึ้น หาใช่ว่าบุคคลผู้ประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดทำบัญชีไม่ เหตุนี้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีสำหรับการประกอบกิจการในประเภทที่โจทก์ฟ้องให้เป็นการถูกต้องตามข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติการบัญชีฯดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลรถยนต์ที่เคยชนก่อนทำประกันภัย ไม่ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ หากผู้รับประกันภัยยังยินดีรับประกันในจำนวนเงินเดิม
เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยผู้รับประกันภัยถือว่าข้อความจริงที่ว่ารถเคยถูกชนมาก่อน ซึ่งโจทก์ผู้เอาประกันมิได้เปิดเผยให้จำเลยทราบนั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลเป็นการจูงใจจำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าที่เรียกไว้หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย เพียงแต่มีผลให้จำเลยไม่ยอมรับประกันภัยในจำนวนเงินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้ เท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 อันจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลการชนก่อนทำประกันภัย ไม่ใช่สาระสำคัญทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ หากไม่ส่งผลต่อเบี้ยหรือการรับประกัน
เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยผู้รับประกันภัยถือว่าข้อความจริงที่ว่ารถเคยถูกชนมาก่อน ซึ่งโจทก์ผู้เอาประกันมิได้เปิดเผยให้จำเลยทราบนั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลเป็นการจูงใจจำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าที่เรียกไว้ หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย เพียงแต่มีผลให้จำเลยไม่ยอมรับประกันภัยในจำนวนเงินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้เท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 อันจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้ราคาขายส่งเป็นฐานคำนวณ กรณีผู้ผูกขาดจำหน่ายและมีข้อตกลงราคาจากผู้ผลิต
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทเรื่องนี้ ไม่มีบทนิยามคำว่า "ราคาตลาด" ของรถยนต์ให้มีความหมายโดยเฉพาะดั่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ขึ้นใหม่ โดยให้ถือตามราคาขายปลีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่า ราคาตลาดของรถยนต์หมายถึงราคาของรถยนต์ชนิด ขนาด สภาพ คุณภาพ เหมือนกับที่ซื้อขายกันเป็นปกติในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจมีทั้งราคาขายส่งและราคาขายปลีก
โจทก์เป็นผู้ผูกขาดในการสั่งรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งเข้ามาและในการประกอบรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทย โดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้ในต่างประเทศกำหนดให้โจทก์ต้องขายรถยนต์แก่บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ก่อนแต่ผู้เดียว จะขายส่งหรือขายปลีกแก่ผู้อื่นไม่ได้ และโจทก์ต้องคิดราคารถที่ขายแก่บริษัท ก. ตามราคาที่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศกำหนดมา ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงต้องขายส่งรถยนต์ให้แก่บริษัท ก. ในราคาเกือบเท่าต้นทุน และราคาที่โจทก์ขายส่งแก่บริษัท ก. มาเป็นรายรับคำนวณเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้จึงชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะถือเอาราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกมาเป็นราคาตลาดแล้วกำหนดราคาขายและรายรับของโจทก์ขึ้นใหม่ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากโจทก์หาได้ไม่
of 54