พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้เอาประกันภัยไม่มีความรับผิดในความเสียหายจากการละเมิด
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องรับผิดในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบสำหรับวินาศภัยที่เกิดขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการละเมิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิด
ปัญหาอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ได้
ปัญหาอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของจำเลยในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผลตามสัญญา
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอโจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอโจทก์ 4 เลขหมายที่ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใดซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาหาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของผู้ให้ยินยอมในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผล
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอ โจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอของโจทก์ 4 เลขหมายที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด ซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทประกันภัยเมื่อเจ้าของรถยินยอมให้ผู้อื่นขับแล้วเกิดอุบัติเหตุ
บ. เจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ ได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับบริษัทจำเลยร่วม บ. ยินยอมให้จำเลยนำรถคันดังกล่าวไปใช้จำเลยขับไปชนรถยนต์ของผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายดังนี้ แม้ว่าโจทก์จะมิได้ฟ้อง บ. ผู้เอาประกันภัยให้รับผิด แต่เมื่อบริษัทจำเลยร่วมยอมรับว่า หากผู้เอาประกันภัยยินยอมให้ผู้ใดขับรถคันที่เอาประกันไว้แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น บริษัทจำเลยร่วมจะต้องรับผิดชอบด้วย บริษัทจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่: การคิดค่าเช่าตามเนื้อที่ใช้จริง และดอกเบี้ยนับจากวันผิดนัด
พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ. 2461 ที่ใช้ในขณะทำสัญญามิได้ห้ามการให้เช่าช่วงเหมืองแร่ต่อมา พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 ห้ามรับช่วงทำเหมือง แต่มิได้ห้ามเด็ดขาด อาจรับอนุญาตจากรัฐมนตรีได้ จึงอาจบังคับตามสัญญาได้ ไม่ตกเป็นโมฆะและพ้นวิสัย
ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ทำสัญญาให้เช่าช่วงทำเหมืองฟ้องคู่สัญญาได้ไม่ต้องรับอนุญาตจากหุ้นส่วนอื่น
สัญญาซึ่งผู้ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่จ้างจำเลยรับเหมาให้จำเลยผลิตแร่ได้โดยจำเลยผู้รับจ้างจะชำระผลประโยชน์แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างเป็นรายเดือน ดังนี้ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่
ผู้ให้เช่าทำเหมืองเนื้อที่ 71 ไร่ แต่ส่งมอบเหมืองจริงเพียง 37 ไร่ ผู้ให้เช่าเรียกค่าเช่าได้เพียงเท่าเนื้อที่ที่ให้เช่าผลิตแร่ได้จริงเท่านั้น ศาลลดค่าเช่าลงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ตกลงกัน
กำหนดชำระค่าเช่าเหมืองแร่ไว้ แต่เมื่อล่วงเลยไปแล้วผู้ให้เช่า ก็ไม่ทักท้วง แต่ให้ผู้เช่าผ่อนเวลาชำระค่าเช่า
ผู้ให้เช่าคิดดอกเบี้ยในค่าเช่าที่ค้างฐานผิดนัดแต่ละเดือนไม่ได้ ศาลคิดให้ตั้งแต่วันบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าภายหลัง
ทำสัญญาเช่าไว้แล้ว จำเลยนำสืบลดค่าเช่าเป็นข้อตกลงกันใหม่แก้ไขข้อสัญญาเดิม จำเลยนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ทำสัญญาให้เช่าช่วงทำเหมืองฟ้องคู่สัญญาได้ไม่ต้องรับอนุญาตจากหุ้นส่วนอื่น
สัญญาซึ่งผู้ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่จ้างจำเลยรับเหมาให้จำเลยผลิตแร่ได้โดยจำเลยผู้รับจ้างจะชำระผลประโยชน์แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างเป็นรายเดือน ดังนี้ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่
ผู้ให้เช่าทำเหมืองเนื้อที่ 71 ไร่ แต่ส่งมอบเหมืองจริงเพียง 37 ไร่ ผู้ให้เช่าเรียกค่าเช่าได้เพียงเท่าเนื้อที่ที่ให้เช่าผลิตแร่ได้จริงเท่านั้น ศาลลดค่าเช่าลงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ตกลงกัน
กำหนดชำระค่าเช่าเหมืองแร่ไว้ แต่เมื่อล่วงเลยไปแล้วผู้ให้เช่า ก็ไม่ทักท้วง แต่ให้ผู้เช่าผ่อนเวลาชำระค่าเช่า
ผู้ให้เช่าคิดดอกเบี้ยในค่าเช่าที่ค้างฐานผิดนัดแต่ละเดือนไม่ได้ ศาลคิดให้ตั้งแต่วันบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าภายหลัง
ทำสัญญาเช่าไว้แล้ว จำเลยนำสืบลดค่าเช่าเป็นข้อตกลงกันใหม่แก้ไขข้อสัญญาเดิม จำเลยนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปลอมเอกสาร กรณีแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินค่าปรับ
ตำรวจได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เสมียนเปรียบเทียบ และได้ทำงานในหน้าที่นั้น แม้ไม่ได้เซ็นทราบคำสั่งถือว่าได้ทราบการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่แล้วการแก้หรือลงจำนวนเงินในสำเนาใบเสร็จให้น้อยลงกว่าต้นฉบับ แล้วส่งเงินต่ำกว่าจำนวนที่ได้รับจริง เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกตาม มาตรา147 ฐานปลอมเอกสารในหน้าที่ของตนตาม มาตรา161,266 ต่างกระทงแต่ละรายที่ได้กระทำ ไม่ใช่ มาตรา162 ซึ่งเป็นการทำเอกสารเท็จ การกระทำก่อนใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 ให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่กระทำหลังจากนั้นต้องลงโทษทุกกรรมในกระทงความผิด ตามมาตรา161,266 ลงโทษตาม มาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนัก
จำเลยฎีกาว่า ระเบียบของกรมตำรวจให้นายตำรวจผู้ปกครองสถานีตำรวจรับผิดชอบในเงินค่าเปรียบเทียบปรับ ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเสมียนเปรียบเทียบข้อนี้จำเลยไม่ได้อ้างในศาลชั้นต้น จำเลยปฏิเสธว่าไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินค่าปรับ จึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า ระเบียบของกรมตำรวจให้นายตำรวจผู้ปกครองสถานีตำรวจรับผิดชอบในเงินค่าเปรียบเทียบปรับ ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเสมียนเปรียบเทียบข้อนี้จำเลยไม่ได้อ้างในศาลชั้นต้น จำเลยปฏิเสธว่าไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินค่าปรับ จึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อตกลงแบ่งกันเองไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขาดทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้วและเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาท แก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือการประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว และเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาดการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การแก้ไขคำเสนอ, การรับรองความเสี่ยง, และการปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำสนองรับประกันภัยที่แก้ไขคำเสนอ คนของผู้รับประกันภัยนำไปตกลงกับผู้ขอเอาประกันภัย เป็นคำเสนอต่อหน้าขึ้นใหม่เกิดสัญญาเมื่อตกลงกันทันที บันทึกล่วงหน้าของผู้รับประกันภัยเป็นเอกสารตาม มาตรา 867 ได้ ไม่ต้องส่งมอบกรมธรรม์ เงื่อนไขในใบสมัครที่ว่าต้องได้ออกและส่งมอบกรมธรรม์ก่อน ไม่มีผลบังคับ
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น