คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ ไวกาสี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินและการใช้ประโยชน์จากคูน้ำร่วมกัน การป้องกันทรัพย์สินไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยขุดคูเพื่อชักน้ำจากคลองใช้ทำสวน โจทก์ทำสวนในที่ดินแม่ยายและได้ขุดคูชักน้ำใช้ทำสวนต่อจากคูที่จำเลยขุดไว้ แล้วโจทก์ถือวิสาสะใช้เรือยนต์บรรทุกอุปกรณ์ในการทำสวนมีเครื่องสูบน้ำเป็นต้นผ่านคูที่จำเลยขุดเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ทำสวนโดยไม่ขออนุญาตจากจำเลย ในหน้าน้ำจำเลยปักไม้ไผ่ขวางคูนั้นเพื่อป้องกันคนร้ายนำเรือยนต์ผ่านคูที่จำเลยขุดมาขโมยผลไม้ในสวนของจำเลย โจทก์นำเรือยนต์บรรทุกเครื่องยนต์เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมในสวนของโจทก์ไม่ได้ ทำให้สวนของโจทก์ถูกน้ำท่วมเสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้ง จึงไม่เป็นการละเมิด และไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตในอสังหาริมทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สิน - การใช้คูน้ำร่วมกัน - ไม่เป็นละเมิด - ป้องกันทรัพย์สิน
จำเลยขุดคูเพื่อชักน้ำจากคลองใช้ทำสวน โจทก์ทำสวนในที่ดินแม่ยายและได้ขุดคูชักน้ำใช้ทำสวนต่อจากคูที่จำเลยขุดไว้ แล้วโจทก์ถือวิสาสะใช้เรือยนต์บรรทุกอุปกรณ์ในการทำสวนมีเครื่องสูบน้ำเป็นต้นผ่านคูที่จำเลยขุดเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ทำสวนโดยไม่ขออนุญาตจากจำเลย ในหน้าน้ำจำเลยปักไม้ไผ่ขวางคูนั้นเป็นป้องกันคนร้ายนำเรือยนต์ผ่านคูที่จำเลยขุดมาขโมยผลไม้ในสวนของ จำเลย โจทก์นำเรือยนต์บรรทุกเครื่องยนต์เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมในสวนของโจทก์ไม่ได้ ทำให้สวนของโจทก์ถูกน้ำท่วมเสียหายการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้มีเจตนา กลั่นแกล้งจึงไม่เป็นการละเมิด และไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตในอสังหาริมทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายข้อความในหนังสือสัญญาให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงาน แม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะของทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่ลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตาม มาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทกืไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย ข้อความในหนังสือสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการ ใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงานแม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเงินได้ลูกจ้าง ไม่เป็นการประเมินซ้ำซ้อน
นายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ส่งภายใน 7 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50,52 ซึ่งตาม มาตรา 60 ให้ถือภาษีที่ได้หักและนำส่งเป็นเงินได้ที่ได้รับ จึงต้องรวมกับเงินได้ของลูกจ้างในปีนั้น ไม่เป็นการประเมินภาษีซ้ำซ้อน
ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยผู้เดียวในคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีเงินได้ ไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานเหล่านั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า-กิจการไฟฟ้าสาธารณูปโภค-ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องอายุความและรายละเอียดฟ้อง
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลยใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มาตรา 6, 8, 41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องค่าไฟฟ้าไม่เคลือบคลุม อายุความ 10 ปี เหตุเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า
ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่ค้างชำระ แม้ไม่บรรยายว่าจำเลย ใช้ไฟฟ้าจากเลขวัดหน่วยที่เท่าใดถึงหน่วยที่เท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภคซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503 มาตรา 6,8,41 หาใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรตามปกติไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) สิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลากรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความห้าปีตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนดสิบปีตามมาตรา 164มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่าในคดีปล้นทรัพย์ การพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยที่ 1 กับพวกใช้มีดปลายแหลมของกลางเล่มเดียวซึ่งมีความยาวทั้งด้ามและตัวมีดประมาณ 1 ฟุต แทงประทุษร้ายผู้เสียหายในการปล้นทรัพย์ จนผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์และช่วยกันลากผู้เสียหายเข้าป่าข้างทาง แล้วเอาปืนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพาหนีไป ฝ่ายคนร้ายมีถึง 3 คนมีกำลังเหนือกว่าผู้เสียหายมาก หากมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้วย่อมมีโอกาสทำได้ แต่จำเลยที่ 1 กับพวกก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ บาดแผลของผู้เสียหายรวม 8 แผล แพทย์มีความเห็นว่ารักษา 10 วันหาย แสดงว่าเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ทำให้ผู้เสียหายถึงตายเพราะไม่ถูกที่สำคัญ เช่นนี้จำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เพียงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้นจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่าในคดีปล้นทรัพย์ ศาลพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยที่ 1 กับพวกใช้มีดปลายแหลมของกลางเล่มเดียวซึ่งมีความยาวทั้งด้ามและตัวมีดประมาณ 1 ฟุตแทงประทุษร้ายผู้เสียหายในการปล้นทรัพย์ จนผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์และช่วยกันลากผู้เสียหายเข้าป่าข้างทาง แล้วเอาปืนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพาหนีไป ฝ่ายคนร้ายมีถึง 3 คนมีกำลังเหนือกว่าผู้เสียหายมากหากมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้วย่อมมีโอกาสทำได้ แต่จำเลยที่ 1 กับพวกก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ บาดแผลของผู้เสียหายรวม 8 แผล แพทย์มีความเห็นว่ารักษา 10 วันหาย แสดงว่าเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ทำให้ผู้เสียหายถึงตาย เพราะไม่ถูกที่สำคัญ เช่นนี้จำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เพียงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดสำคัญ ทำให้จำเลยต่อสู้คดีไม่ได้ ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2514 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2517 อันเป็นเวลาติดต่อกัน 2 ปีเศษ จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้เบิกเงินจากธนาคารรวมยอดเงิน 1,542,661 บาท 99 สตางค์ โดยไม่ลงรายการจ่ายในบัญชี หรือเมื่อฝากเงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่ลงหลักฐานการฝากเงิน และเมื่อจำเลยรับเงินค่าหุ้นก็ไม่นำลงในบัญชี โจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดให้ปรากฏเลยว่า ในการเบิกเงินหรือฝากเงินก็ดีจำเลยไม่ลงบัญชีรายการใด เมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด และในการรับเงินค่าหุ้นก็ดีจำเลยรับจากใคร เมื่อใด ทั้ง ๆ ที่โจทก์อาจกล่าวถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ จึงเป็นการยากที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับความผิดฐานทำหลักฐานเท็จและจดข้อความเท็จ ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ.2499 มาตรา 42 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แต่มาตรา 354 เป็นบทบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 352, 353 รับโทษหนักขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 352, 353 ข้อกฎหมายตามฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
of 54